ข้ามไปเนื้อหา

ป้ายทะเบียนรถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ป้ายทะเบียนรถ (อังกฤษ: vehicle registration plate) เป็นแผ่นป้ายทำจากโลหะหรือพลาสติก มีทะเบียนรถ เพื่อใช้ในการระบุรถยนต์หรือยานพาหนะทางบกประเภทอื่น ๆ

ป้ายทะเบียนรถในแต่ละประเทศ

[แก้]

สหรัฐอเมริกา

[แก้]

ป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำจากอะลูมิเนียม มีขนาด 12 x 6 นิ้ว ในสหรัฐอเมริกาแต่ละรัฐจะกำหนดสีและเลขทะเบียนโดยหน่วยงานของแต่ละรัฐ 30รัฐจากทั้งหมด 50รัฐ บังคับให้รถทุกคันมีป้ายทะเบียนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถยนต์ จำนวนตัว6-7ตัวอักษร ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ทุกตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละรัฐเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งทวีปอเมริกาเหนือ ยกเว้นแซงปีแยร์และมีเกอลงซึ่งเป็นดินแดนของประเทศฝรั่งเศส [1]

สหราชอาณาจักร

[แก้]

ป้ายทะเบียนรถสหราชอณาจักร

ป้ายทะเบียนรถยนต์ (เรียกกันทั่วไปว่า "ป้ายทะเบียน" ในภาษาอังกฤษแบบบริติช) คือป้ายทะเบียนตัวอักษรและตัวเลขที่ใช้แสดงเครื่องหมายจดทะเบียนของยานพาหนะ และมีอยู่ในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 ยานยนต์ที่ใช้บนถนนสาธารณะต้องแสดงป้ายทะเบียนรถยนต์ยกเว้นยานพาหนะของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ทรงครองราชย์ซึ่งใช้ในภารกิจราชการ[ 1 ]พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2446ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2447 กำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องลงทะเบียนในทะเบียนรถ อย่างเป็นทางการ และต้องมีป้ายทะเบียนแบบตัวอักษรและตัวเลข พระราชบัญญัตินี้ได้รับการตราขึ้นเพื่อให้สามารถติดตามยานพาหนะได้ง่ายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือเหตุการณ์อื่นใด ป้ายทะเบียนแบบตัวอักษรและตัวเลขของรถยนต์ในสหราชอาณาจักรมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีขนาดที่ได้รับอนุญาตที่แน่นอนของป้ายทะเบียนและตัวอักษรระบุไว้ในกฎหมาย ป้ายหน้าเป็นสีขาว ส่วนป้ายหลังเป็นสีเหลือง

ภายในสหราชอาณาจักรเองมีสองระบบ: หนึ่งสำหรับบริเตนใหญ่ซึ่งรูปแบบปัจจุบันมีขึ้นในปี 2001 และอีกระบบหนึ่งสำหรับไอร์แลนด์เหนือซึ่งคล้ายกับระบบดั้งเดิมในปี 1904 ทั้งสองระบบได้รับการบริหารจัดการโดยหน่วยงานออกใบอนุญาตขับขี่และยานพาหนะ (DVLA) ในสวอนซีจนถึงเดือนกรกฎาคม 2014 ระบบของไอร์แลนด์เหนือได้รับการบริหารจัดการโดยหน่วยงานออกใบอนุญาตขับขี่และยานพาหนะ (DVA) ในโคลเรนซึ่งมีสถานะเดียวกับ DVLA แผนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักรยังมีการระบุไว้ด้านล่าง รหัสการจดทะเบียนรถยนต์ระหว่างประเทศสำหรับสหราชอาณาจักรคือUK [ 2 ] ก่อนวันที่ 28 กันยายน 2021 คือGB [ 3 ] ข้อกำหนดของแผ่นป้ายทะเบียน ที่มีรหัสของสหราชอาณาจักรถูกสร้างขึ้นโดยสมาคมผู้ผลิตแผ่นป้ายทะเบียนอังกฤษ และถือเป็นการออกแบบเริ่มต้นโดยกระทรวงคมนาคม[ 4 ]

ประเทศจีน

[แก้]

แผ่นดินใหญ่

[แก้]
ป้ายทะเบียนตามมาตรฐานปี พ.ศ. 2535

ป้ายทะเบียนรถยนต์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกโดยสำนักงานจัดการยานพาหนะ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ

ระบบป้ายทะเบียนรถยนต์ของจีนที่ใช้ในปัจจุบัน อิงตามมาตรฐาน GA36-2007 (พ.ศ. 2550) ซึ่งมีลักษณะดังนี้

  • พื้นหลังสีฟ้า
  • อักษรย่อภาษาจีนของมณฑล 1 ตัว เช่น 京 (京 = ปักกิ่ง)
  • อักษรละติน 1 ตัว แทนเขตการปกครองในมณฑลนั้น
  • ตัวเลขหรืออักษรละติน 5 ตัว ออกโดยสำนักงานจัดการยานพาหนะพื้นที่ โดยหมายเลขเหล่านี้จะถูกสุ่มเลือกด้วยระบบคอมพิวเตอร์

อนึ่ง ระบบป้ายทะเบียนรุ่นก่อนหน้าซึ่งมีพื้นหลังสีเขียวและใช้ชื่อเต็มของมณฑล เคยใช้ลำดับหมายเลขแบบเรียง แต่เนื่องจากปัญหาการทุจริต จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบบปัจจุบัน

ป้ายทะเบียนสีเหลือง จะออกให้กับรถจักรยานยนต์และรถขนาดใหญ่ เช่น รถโค้ชและรถโดยสาร ส่วนป้ายทะเบียนสีดำ จะออกให้กับรถทางการทูตและรถของชาวต่างชาติ (รวมถึงฮ่องกงและมาเก๊า) รถยนต์ที่จดทะเบียนในฮ่องกงหรือมาเก๊า และได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในจีน จะต้องมีป้ายทะเบียนสีดำพิเศษที่ออกโดยจีน เนื่องจากฮ่องกงและมาเก๊ามีระบบการจดทะเบียนรถของตัวเอง ป้ายทะเบียนจีนสำหรับรถยนต์เหล่านี้ จะใช้รูปแบบตัวอักษรย่อประจำมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งย่อเป็น "粤" (yuè) ตามด้วยอักษรละติน "Z" ต่อด้วยตัวเลขและ/หรือตัวอักษรละติน 4 ตัว และลงท้ายด้วยอักษรย่อของเขตปกครองพิเศษ เช่น "港" (gǎng) สำหรับฮ่องกง และ "澳" (ào) สำหรับมาเก๊า ตัวอย่างเช่น สำหรับรถยนต์มาเก๊า

สำหรับรถจักรยานยนต์ ป้ายทะเบียนด้านหน้าจะมีเพียงตัวเลข 5 ตัวเท่านั้น ส่วนป้ายด้านหลังจะแสดงข้อมูลทั้งหมด ตัวอย่างเช่น รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในนครเซี่ยงไฮ้ ได้ป้ายทะเบียน 沪C•12345 ป้ายด้านหน้าจะมีเพียงแค่ "12345" ส่วนป้ายด้านหลังจะเป็นป้ายมาตรฐานที่แสดงหมายเลขทะเบียนทั้งหมด

ฮ่องกง

[แก้]
ป้ายทะเบียนรถของฮ่องกง

ป้ายทะเบียนรถของฮ่องกงใช้สีตามระบบของอังกฤษ โดยป้ายด้านหน้าเป็นสีขาว ส่วนด้านหลังเป็นสีเหลือง ตัวเลขประกอบด้วยตัวอักษรสองตัวและตัวเลขสูงสุดสี่ตัว เช่น AB1234 ป้ายทะเบียนที่ขึ้นต้นด้วย "AM" ถูกกำหนดไว้สำหรับรถของรัฐบาล พื้นหลังสีขาวด้านหน้าและสีเหลืองด้านหลัง มีลักษณะสะท้อนแสงเพื่อให้ตรงตามมาตรฐาน BS AU145a

นอกจากระบบป้ายทะเบียนตัวเลขแบบปกติแล้ว ฮ่องกงยังได้เริ่มโครงการป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลแบบใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยผู้ขอป้ายทะเบียนสามารถเลือกตัวอักษรหรือตัวเลขเองได้สูงสุดถึง 8 ตัว

มาเก๊า

[แก้]
ป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลของมาเก๊า

ระบบป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลของเขตปกครองพิเศษมาเก๊า ใช้วิธีการจัดเรียงและสีตามระบบของโปรตุเกสที่ใช้ก่อนปี พ.ศ. 2535 ดังนี้ พื้นหลังสีดำ ตัวอักษรสีขาว ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร "M" เสมอ ตามด้วยตัวอักษรอีก 1 ตัว (MA, MB, MC, เป็นต้น) ต่อด้วยหมายเลข 4 หลัก ทั้งหมดถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย "-" สำหรับป้ายทะเบียนที่ออกมาก่อนหน้านี้ จะมีเพียงตัวอักษร "M" นำหน้าเท่านั้น

ไต้หวัน

[แก้]

[[File:Taiwan Province License Plate

1994-2008.jpg|thumb|upright|ป้ายทะเบียนรถไต้หวัน]]

ป้ายทะเทียนรถไต้หวัน

บทความนี้เกี่ยวกับไต้หวัน สำหรับสาธารณรัฐประชาชนจีน โปรดดูป้ายทะเบียนรถของจีน ในไต้หวันรถยนต์ทุกคันต้องจดทะเบียนและแสดงป้ายทะเบียนรถป้ายทะเบียนออกและจัดการโดยกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร (MoTC)หมายเลขทะเบียนรถในไต้หวันประกอบด้วยตัวอักษรละติน (A ถึง Z) ตัวเลขอาหรับ (0 ถึง 9) และเส้นประ (–) และบางประเภทพิเศษยังมีอักขระจีนด้วยไต้หวัน

ป้ายทะเบียนมาตรฐานตามกฎหมายของไต้หวัน ประเทศ

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

รหัสประเทศ อาร์ซี[ 1 ] ซีรีย์ปัจจุบัน ขนาด 320 มม. × 150 มม. 12.6 นิ้ว × 5.9 นิ้ว สี (ด้านหน้า) สีดำบนสีขาว สี (ด้านหลัง) สีดำบนสีขาว วีทีอี เรียนรู้เพิ่มเติม บทความนี้มีปัญหาหลายประการโปรดช่วยปรับปรุงหรือพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ในหน้าพูดคุย

ตัวอย่างแผ่นที่มีจำหน่ายปี 1992

ตัวอย่างแผ่นที่มีจำหน่าย ปี 2557 ประเภทของป้ายทะเบียน ยานพาหนะขนาดเบา รถบรรทุกหนัก รถจักรยานยนต์ แผ่นป้ายใช้งานพิเศษ ห้ามใช้ตัวอักษรผสมกันบนป้ายทะเบียน อ้างอิง ลิงค์ภายนอก

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่นรัฐบาลกลางจะออกป้ายทะเบียนรถยนต์ให้กับยานยนต์ผ่านสำนักงานที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามเทศบาล ในพื้นที่ จะเป็นผู้จดทะเบียนรถยนต์บางรุ่นที่มีความจุกระบอกสูบเล็ก ไม่ใช่รัฐบาลกลาง

ตัวเลขบนบรรทัดบนสุดคือรหัสประเภทรถซึ่งเริ่มต้นด้วยเลข 0 ถึง 9 เพื่อระบุประเภทรถโดยเฉพาะ ซึ่งแสดงด้วยความยาว ความกว้าง และความสูงของรถรวมถึงความจุกระบอกสูบ โดยทั่วไปแล้ว รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีความจุกระบอกสูบเท่ากับหรือน้อยกว่า 2,000 ซีซีจะได้รับป้ายทะเบียนแบบ 5 ซีรีส์ ในขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีความจุกระบอกสูบมากกว่า 2,000 ซีซี (120 ลูกบาศก์นิ้ว) ขึ้นไปจะได้รับป้ายทะเบียนแบบ 3 ซีรีส์


ป้ายทะเบียนรถญี่ปุ่นทั่วไป

ป้ายทะเบียนทูตต่างประเทศมี外

ป้ายทะเบียนทูตต่างประเทศมีกรอบ外 รถยนต์ราชการของราชวงศ์ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดให้ติดป้ายทะเบียนดังกล่าว รถยนต์ราชการของกองกำลังป้องกันตนเองและนักการทูตต่างประเทศต้องติดป้ายทะเบียนอื่น ๆ


ภาพกลางคืนของ แผ่น จิโกชิกิ (แปลว่า "ตัวอักษรเรืองแสง" ซึ่งหมายถึงตัวอักษรเรืองแสง) ที่อาจออกในโอซากะ แผ่นป้ายทะเบียนจะติดตั้งไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถ โดยแผ่นป้ายทะเบียนด้านหลังจะยึดกับตัวรถอย่างถาวรด้วยซีลประจำจังหวัดที่ปิดสลักยึดแผ่นป้ายทะเบียนตัวใดตัวหนึ่งไว้อย่างมิดชิด แผ่นป้ายทะเบียนจะถูกถอดออกเฉพาะเมื่อรถถูกขายเป็นมือสองให้กับบุคคลจากจังหวัดอื่น หมดอายุการใช้งาน และถูกขายเป็นเศษเหล็กหรือส่งออก รถใหม่จะไม่ถูกส่งมอบให้กับผู้ซื้อจนกว่าจะติดแผ่นป้ายทะเบียนที่ตัวแทนจำหน่าย

ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 1970 เป็นต้นมา เจ้าของรถได้เสนอแผ่นป้ายทะเบียน "จิโคชิกิ" (字光式) สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลตามคำขอของเจ้าของ โดยตัวอักษรสีเขียวบนแผ่นป้ายทะเบียนประเภทนี้จะถูกแทนที่ด้วยพลาสติกสีเขียวขึ้นรูปที่สามารถเรืองแสงได้จากด้านหลังแผ่นป้าย ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 1998 เป็นต้นไป หากยังไม่มีการใช้หมายเลขดังกล่าว ก็สามารถขอหมายเลขเฉพาะได้เช่นกัน ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แผ่นป้ายทะเบียนเหล่านี้จะมีสีน้ำเงินเหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1973

รหัสจดทะเบียนรถยนต์ระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่นคือ J

ประเทศไทย

[แก้]
ป้ายทะเบียนรถยนต์ในประเทศไทย

ป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลในประเทศไทย ปัจจุบันทำจากอะลูมิเนียม มีขนาด 13.5 x 6 นิ้ว พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษรและตัวเลขจะถูกปั๊มนูนออกจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน ทำให้ด้านหลังของป้ายนั้นบุ๋มเว้าลงไปตามหมายเลขทะเบียนด้วยเช่นกัน ประเภทของป้ายทะเบียนนั้นสามารถใช้จำแนกประเภทการใช้งานรถได้ ดังนี้

  1. ป้ายขาวอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  2. ป้ายขาวอักษรฟ้า คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  3. ป้ายขาวอักษรเขียว คือ ป้ายทะเบียนรถกระบะ
  4. ป้ายขาวอักษรแดง คือ ป้ายทะเบียนรถสามล้อ
  5. ป้ายเหลืองอักษรแดง คือ ป้ายรถรับจ้างระหว่างจังหวัด
  6. ป้ายเหลืองอักษรดำ คือ ป้ายรถรับจ้าง
  7. ป้ายเหลืองอักษรฟ้า คือ ป้ายรถกระป๊อ
  8. ป้ายเหลืองอักษรเขียว คือ ป้ายรถตุ๊กตุ๊ก
  9. ป้ายเขียวอักษรขาว คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถยนต์บริการให้เช่า
  10. ป้ายแสดอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม
  11. ป้ายขาวอักษรดำ หมวดอักษร TC กรุงเทพมหานคร คือ ป้ายทะเบียนรถทดสอบก่อนผลิต เริ่มมีใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560[2][3] (ป้ายทะเบียนรถยนต์ของไทยนั้นโดยปกติตัวอักษรจะเป็นอักษรไทย)
  12. ป้ายขาวอักษรดำ หมวดอักษร QC กรุงเทพมหานคร คือ ป้ายทะเบียนรถทดสอบคุณภาพ เริ่มมีใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560[2][3]
  13. ป้ายทะเบียนที่บริเวณชื่อจังหวัดเป็นคำว่า THAILAND ตัวพิมพ์ใหญ่ ตามด้วยเลขรหัสจังหวัดสองหลัก และหมวดอักษรของทะเบียนเป็นอักษรอังกฤษ และ/หรือ ตัวเลข หมายถึงแผ่นป้ายทะเบียนรถที่กรมการขนส่งทางบกออกให้เป็นการชั่วคราวเพื่อนำรถออกไปใช้นอกราชอาณาจักร

สำหรับป้ายทะเบียนรถอีกประเภทหนึ่งคือ ป้ายทะเบียนกราฟิก ซึ่งมีขึ้นภายหลังป้ายทะเบียนแบบปกติ ป้ายทะเบียนนี้จะมีพื้นหลังเป็นรูปภาพ สำหรับเลขทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ (เลขสวย) เช่น ฌร 9999 ซึ่งเลขทะเบียนเหล่านี้จะถูกเปิดประมูลโดยกรมการขนส่งทางบก ป้ายทะเบียนชนิดนี้จะมีภาพพื้นหลังป้ายที่สื่อถึงจังหวัดนั้นๆ เช่น กรุงเทพมหานคร จะมีรูปวัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานพระราม 8 เป็นพื้นหลัง เป็นต้น ทะเบียนนี้คือทะเบียนประมูลในช่วงแรกมีการเปิดประมูลป้ายทะเบียนกราฟิกเฉพาะที่เป็นทะเบียนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เท่านั้น [4] แต่ต่อมาได้เปิดประมูลป้ายทะเบียนเลขสวยของรถตู้และรถกระบะเพิ่มด้วย แต่ป้ายทะเบียนประมูลของรถตู้และรถกระบะจะเป็นภาพพื้นหลังป้ายที่เหมือนกันหมดทั้งประเทศ โดยมีโทนสีเช่นเดียวกับสีและตัวอักษรของทะเบียนปกติ คือขาวฟ้าและขาวเขียวตามลำดับ ไม่ได้ใช้ภาพพื้นหลังป้ายตามแบบของจังหวัดต่างๆแต่อย่างใด ซึ่งทะเบียนรถลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ได้เริ่มมีการประมูลป้ายรถตู้ พื้นขาว อักษรฟ้า หมวด ฮล เฉพาะจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในครั้งนั้นได้เงินไปจำนวน 25,273,969.- บาท[5]

ป้ายทะเบียนรถเกิดขึ้นพร้อมกับกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ รัตนโกสินทร์ศก 128 (พ.ศ. 2452) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อต้องการควบคุมรถและทราบว่าใครเป็นเจ้าของรถ และเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี

ถึงแม้ว่าจะมีป้ายทะเบียนรถเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ตามหลักฐานได้มีการออกกฎหมายของกระทรวงครั้งแรกเริ่มมีป้ายทะเบียนรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 โดยรูปแบบเป็นแบบ กท.เรียงดิ่ง มีหมวดตัวอักษรและตัวเลขอยู่ในแผ่นป้ายขนาดมาตรฐานกว้าง 11 ซม. ยาว 39 ซม. พื้นหลังเป็นสีดำ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนจากรูปแบบ กท. เรียง ดิ่งเป็นแบบเรียงตามแนวนอน มีการเปลี่ยนขนาดแผ่นป้าย เป็นกว้าง 15 ซม. ยาว 30 ซม. และพื้นหลังเป็นสีขาว ลักษณะของป้ายทะเบียนดังกล่าว จะมีการพิมพ์หมวดทะเบียนและหมายเลข 4 ตัว เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ไว้ที่ด้านบนกึ่งกลางป้าย ด้านล่างจะเป็นชื่อจังหวัดพิมพ์เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก เช่น 1ก-9999 กรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการเปลี่ยนจาก ตราโล่ เป็นตัวย่อ ขส อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน และได้มีการเปลี่ยนงานรับผิดชอบดูแลป้ายทะเบียนรถจาก กระทรวงมหาดไทยมาเป็นกระทรวงคมนาคม ซึ่งรูปแบบทะเบียนรถยังคงเหมือนเดิมทุกประการ โดยเริ่มใช้ตัวย่อ ขส ครั้งแรกในหมวดทะเบียน 6ช-XXXX กรุงเทพมหานคร

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยมีการเพิ่มตัวอักษรเป็น 2 ตัว เช่น กก 9999 รวมทั้งเปลี่ยนขนาดแผ่นป้ายให้ยาวขึ้น จากขนาดยาว 30 ซม. เป็นยาว 34 ซม. เนื่องจากมีการเพิ่มตัวอักษรขึ้นมาอีก 1 ตัว ซึ่งรถยนต์ที่ออกใหม่และจดทะเบียนนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป เมื่อถอดป้ายแดงออกจะได้ป้ายทะเบียนเป็นรูปแบบใหม่นี้ ซึ่งป้ายทะเบียนรูปแบบใหม่หมวดแรกที่รถจดทะเบียนใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครจะได้ในขณะนั้นคือ พพ XXXX กรุงเทพมหานคร ส่วนรถที่จดทะเบียนก่อนหน้านี้ และได้ป้ายทะเบียนรถเป็นแบบเก่า สามารถจดทะเบียนเป็นตัวอักษร 2 ตัวได้โดยที่เลข 4 ตัวยังคงเหมือนเดิม ซึ่งจะได้หมวดอักษรแตกต่างกันไป เช่น ทะเบียน 3ฐ-5639 กรุงเทพมหานคร ถ้าจดทะเบียนใหม่จะได้ป้ายทะเบียนเป็น ธบ 5639 กรุงเทพมหานคร และใช้รูปแบบนี้เรื่อยมาจนถึงหมวดสุดท้ายคือหมวด ฆฮ XXXX กรุงเทพมหานคร กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยได้มีการเพิ่มตัวเลขด้านหน้าตัวอักษร 2 ตัว ตั้งแต่ 1 ถึง 9 ต่อ 1 หมวดตัวอักษรตัวหน้า เช่น เริ่มตั้งแต่ 1กก XXXX กรุงเทพมหานคร จนถึง 1กฮ XXXX กรุงเทพมหานคร และวนกลับมาเริ่มใหม่ที่ 2กก XXXX กรุงเทพมหานคร รูปแบบใหม่นี้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งหมวดแรกของป้ายทะเบียนรูปแบบใหม่คือ 1กก XXXX กรุงเทพมหานคร และยังคงใช้รูปแบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ประเทศลาว

[แก้]

ป้ายทะเบียนรถยนต์ในประเทศลาว

  1. ป้ายทะเบียนสีเหลืองอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนในนามบุคคล
  2. ป้ายทะเบียนสีเหลืองอักษรเทา คือ เป็นรถชาวต่างชาติที่มีใบพำนักถาวร
  3. ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรฟ้า คือ ป้ายรถที่จดทะเบียนในนามบริษัท หรือไฟแนนซ์ ที่ยังผ่อนชำระไม่หมด
  4. ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรดำ คือ เป็นรถชาวต่างชาติที่ไม่มีใบพำนักถาวร
  5. ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรฟ้า ไม่มีแขวงระบุ มีขีดคั่น คือ เป็นรถคนลาวยังไม่เสียภาษี
  6. ป้ายทะเบียนสีขาวอักษรฟ้า สท-และตัวเลข คือ เป็นรถของสถานทูตซึ่งได้รับสิทธิคุ้มครอง (Immunity) ตามสนธิสัญญากรุงเวียนนา
  7. ป้ายทะเบียนสีน้ำเงินอักษรขาว คือ ป้ายรถเจ้าหน้าที่พลเรือน
  8. ป้ายทะเบียนสีแดงอักษรขาว คือ ป้ายรถยนต์ของกระทรวงป้องกันความสงบ(ตำรวจ) และกระทรวงป้องกันประเทศ(ทหาร)

ประเทศเวียดนาม

[แก้]

ป้ายทะเบียนรถของเวียดนามโดยทั่วไปจะมีรูปแบบ DDL-DDD.DD สำหรับยานพาหนะ ป้ายทะเบียนมาตรฐานมีตัวอักษรสีดำบนพื้นหลังสีขาว ป้ายด้านหน้ามีขนาด 47 × 11 ซม. ป้ายด้านหลังมีขนาด 27 × 20 ซม. [ จำเป็นต้องมีการอ้างอิง ]ในปี 2020 และ 2021 ป้ายทั้งสองมีขนาด 6 x 12 ซม. แผนปัจจุบันสำหรับยานพาหนะพลเรือนละเว้นตัวอักษร I, J, O, Q และ W โดยตัวอักษร R สงวนไว้สำหรับรถพ่วง และมีตัวอักษรเวียดนาม Đ รวมอยู่ ด้วย

ประเทศพม่า

[แก้]

ป้ายทะเบียนรถยนต์ของเมียนมาร์ (พม่า) เริ่มใช้ในปี 1999 และอยู่ภายใต้การดูแลของกรมการขนส่งทางถนนป้ายทะเบียนรูปแบบล่าสุดเริ่มใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ป้ายทะเบียนปัจจุบันประกอบด้วยรหัสภูมิภาคสามตัวอักษรและตัวเลขที่แสดงถึงตำบล (เช่น YGN-38 สำหรับเขตย่างกุ้ง ตำบลดากอง) เหนือหมายเลขซีเรียลตัวอักษรผสมตัวเลขหกตัว และรุ่นของรถที่จดทะเบียนอยู่ใต้หมายเลขซีเรียล[ 1 ]

ประเทศกัมพูชา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.madehow.com/Volume-5/License-Plate.html
  2. 2.0 2.1 ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อ งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต และระยะเวลาในการใช้รถ และเครื่องหมายแสดงการใช้รถที่ใช้เพื่อการทดสอบ พ.ศ. ๒๕๖๐
  3. 3.0 3.1 ข่าวเดลินิวส์ 9 สิงหาคม 2560 - "ขนส่ง"แจงอย่าตกใจป้าย"TC" รถทดสอบ-ถูกกฎหมาย
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-25.
  5. http://www.tabienrod.com/?cat=8


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]