ข้ามไปเนื้อหา

ป่าเมฆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฟินต้นในป่าเมฆบนยอดเขากีนาบาลู, บอร์เนียว
ที่ Parque Internacional la Amistad
ป่าเมฆเขตอบอุ่นบน ลาปัลมา แคว้นกานาเรียส
ป่าเมฆของ Monteverde, ประเทศคอสตาริกา
ป่าเมฆบนเขาหลูซานทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
หนึ่งในสะพานแขวนของ Sky walk ใน Santa Elena, Costa Rica หายไปในเมฆ
มอสส์ในป่าเมฆเขตอบอุ่นที่ Budawang National Park, ประเทศออสเตรเลีย

ป่าเมฆ (อังกฤษ: cloud forest) หรือ ป่าหมอก (อังกฤษ: fog forest) คือป่าไม้เขตร้อนในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน เติบโตตามภูเขา ไม่ผลัดใบ มีโอกาสถูกปกคลุมด้วยเมฆระดับต่ำได้สูง ปกติมักอยู่ระดับยอดเขาและสันเขา ป่าเมฆจะอุดมไปด้วยมอสส์ไม่ว่าบนพื้นหรือบนต้นไม้จึงเรียกอีกอย่างว่า ป่ามอสส์ (mossy forest) ป่ามอสส์มักจะอยู่บนสันเขาที่ซึ่งได้รับความชื้นจากเมฆอย่างมีประสิทธิภาพ[1]

ลักษณะ

[แก้]

โดยทั่วไป มีแถบเล็กๆของความสูงในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เหมาะสำหรับการพัฒนาเป็นป่าเมฆ นี้เป็นลักษณะเมฆหรือหมอกคงอยู่ถาวรที่ระดับต้นไม้ทำให้ลดแสงแดดที่ส่องมาโดยตรง ดังนั้นจึงมีผลกับการคายน้ำรวมถึงการระเหย ต้นไม้ในบริเวณนี้จึงเตี้ยและมีลำต้นหนักกว่าต้นไม้ในป่าที่ระดับความสูงต่ำกว่าในบริเวณเดียวกัน และความชื้นช่วยส่งเสริมพืชอิงอาศัยจำนวนมากมาย เป็นผลให้อุดมไปด้วยมอสส์และเฟิร์นขึ้นปกคลุม และอาจพบกล้วยไม้ได้ เช่นกัน ดินมีความอุดมสมบูรณ์แต่เป็นโคลน น้ำที่ตกลงมาจะอยู่ในรูปของหมอก เมื่อหมอกเกิดการควบแน่นบนใบไม้และตกลงมาบนดินด้านล่าง

นิยามของป่าเมฆสามารถเกิดความคลุมเคลือได้ เนื่องจากหลายๆประเทศไม่ได้ใช้คำนี้ (อาจใช้ ป่า Afromontane และป่าฝนสันเขา หรือในหลายๆพื้นที่ใช้ Peruvian yungas, และ laurisilva ที่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก) และในบางครั้งป่ากึ่งเขตร้อนและเขตอบอุ่นถ้ามีสภาพทางอุตุนิยมวิทยาที่คล้ายคลึงกันจะถือว่าเป็นป่าเมฆ

การกระจายตัว

[แก้]

ป่าเมฆเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนพบได้ในประเทศ:

ป่าเมฆเขตอบอุ่น

[แก้]

แม้ว่าห่างไกลจากการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นป่าเมฆจริง ป่าหลายๆแห่งในภูมิภาคอบอุ่นมีความคล้ายคลึงกันมากกับป่าเมฆเขตร้อน คำถูกทำให้สับสนโดยบางครั้งโดยอ้างอิงป่าเมฆในบางประเทศในเขตร้อนนั้นอบอุ่นเพราะสภาพอากาศที่เย็นกว่าในป่าหมอก

การกระจายตัวของป่าเมฆเขตอบอุ่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu, p. 29.
  2. Blue and John Crow Mountains National Park - UNESCO World Heritage Centre Retrieved 2008/03/26

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]