ข้ามไปเนื้อหา

ปางลีลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระศรีศากยะทศพลญาณปางลีลา ประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล

ปางลีลา เป็นพระพุทธรูปมีลักษณะกำลังก้าวพระบาท (ก้าวเดิน) พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน

ยอร์ช เซเดส์ กล่าวว่า สมัยสุโขทัยก็มีการหล่อพระพุทธรูปเป็นแบบซึ่งแตกต่างไปจากพระพุทธรูปขอม มอญ และพม่า และมักแสดงเป็นรูปปางลีลา ซึ่งเป็นปางที่ไม่รู้จักกันเลยในประเทศกัมพูชา มอญหรือพม่า[1]

ประวัติ

[แก้]

เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยเหล่าเทวดาและพรหมที่ตามมาส่งเสด็จนั้น ขบวนตามเสด็จมาหยุด ณ ประตูสังกัสสนคร เมืองที่พระสารีบุตรจำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธลีลาและพระสิริงดงามยิ่ง ครอบงำรัศมีของเหล่าเทวดาและพรหมทั้งหลาย เป็นภาพที่งดงามเหนือคำบรรยาย เป็นที่ชื่นชมโสมนัสแก่พุทธบริษัทที่เฝ้ารับเสด็จ

ลักษณะพระพุทธรูป

[แก้]

ความเชื่อและคตินิยม

[แก้]
  • เป็นพระประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคารด้วยอีกปางหนึ่ง
  • เป็นพระประจำเดือนสิบเอ็ด

อ้างอิง

[แก้]
  1. ชาตรี ประกิตนนทการ. "งานเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะยุคต้นสงครามเย็น".
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล