นางาซากิ
นางาซากิ 長崎市 | |
---|---|
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: อาสนวิหารโออูระ, แม่น้ำนากาชิมะ, สวนโกลเวอร์, นางาซากิคุนจิ, ไชนาทาวน์นางาซากิชินจิ, สวนสันติภาพนางาซากิ | |
สมญา: | |
ที่ตั้งของเมืองนางาซากิ (สีชมพู) ในจังหวัดนางาซากิ | |
พิกัด: 32°44′41″N 129°52′25″E / 32.74472°N 129.87361°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คีวชู |
จังหวัด | นางาซากิ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | โทมิฮิซะ ทาอูเอะ (2007–) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 405.86 ตร.กม. (156.70 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 240.71 ตร.กม. (92.94 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 165.15 ตร.กม. (63.76 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 มิถุนายน ค.ศ. 2020) | |
• ทั้งหมด | 407,624[1] คน |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | Chinese tallow tree |
• ดอกไม้ | ไฮเดรนเจีย |
หมายเลขโทรศัพท์ | 095-825-5151 |
ที่อยู่ | 2–22 Sakura-machi, Nagasaki-shi, Nagasaki-ken 850-8685 |
เว็บไซต์ | www |
นางาซากิ | |||||
นางาซากิ ในอักษรคันจิ | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
---|---|---|---|---|---|
คันจิ | 長崎 | ||||
ฮิรางานะ | ながさき | ||||
คาตากานะ | ナガサキ | ||||
|
นางาซากิ (ญี่ปุ่น: 長崎市; โรมาจิ: Nagasaki-shi) ( ) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ เพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว"
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 นางาซากิเป็นเมืองที่สองถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ และเป็นเมืองสุดท้ายของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์จนถึงปัจจุบัน (ณ เวลา 11:02 นาฬิกาของวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 'เวลามาตรฐานญี่ปุ่น (UTC+9)')[2]
ข้อมูลเมื่อ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2020[update] นครนี้มีประชากรประมาณ 407,624 คน[1] และมีความหนาแน่นประชากรที่ 1,004 คนต่อตารางกิโลเมตร นครนี้มีพื้นที่รวม 405.86 ตารางกิโลเมตร (156.70 ตารางไมล์)[3]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคกลางและยุคใหม่
[แก้]นางาซากิ เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็ก และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อย จนกระทั่งได้เริ่มติดต่อกับนักสำรวจชาวโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1543 ซึ่งผู้นำของคณะสำรวจแรกนั้น คือ เฟอร์เนา เมนเดส ปินโต ที่เดินทางมาด้วยเรือโดยเทียบท่าใกล้ ๆ กับทาเนงาชิมะ เกาะในหมู่เกาะโอซูมิ
โปรตุเกสนั้นได้ออกสำรวจโลกและค้าขายกับชาติต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ จีน ซึ่งก่อนหน้าที่โปรตุเกสจะเข้ามา ญี่ปุ่นได้หยุดการค้าขายกับจีนอันเนื่องมาจากการปล้นชิงทรัพย์ที่บ่อยครั้งของโจรสลัด วอโก้ว ในทะเลจีนใต้ การเข้ามาของโปรตุเกสทำให้โปรตุเกสสามารถเป็นตัวกลางด้านการค้าขายให้กับทั้งสองชาติได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ด้วยระยะเวลาที่ไม่นานนัก โปรตุเกสก็ได้รับความไว้วางใจจากเหล่าชาติตะวันออก อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนท่าเรือที่มีประสิทธิภาพในคีวชู ได้เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับโปรตุเกสตลอดจนบรรดาเจ้าเมืองในคีวชู ที่คาดหวังผลประโยชน์จากปริมาณการค้าขายที่มากขึ้น
ขณะเดียวกัน เหล่ามิชชันนารีคณะเยสุอิตจากราชอาณาจักรนาวาร์ นำโดยบาทหลวงฟรันซิสโก คาเบียร์ ก็ได้เดินทางมาถึงคาโงชิมะ หมู่บ้านทางตอนใต้ของคีวชู ในปี 1549 และเริ่มการเผยแผ่คำสอนของพระคริสตเจ้าไปทั่วเกาะญี่ปุ่น ผู้ติดตามของบาทหลวงคาเบียร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการที่ไดเมียวจำนวนมากเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ หนึ่งในนั้นคือไดเมียวโอมูระ ซูมิตากะซึ่งได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากส่วนแบ่งทางการค้า จากการที่เขานับถือศาสนาคริสต์อย่างลับ ๆ โดยในปี 1569 โอมูระได้รับอนุญาตจากเบื้องบนให้จัดตั้งท่าเรือสำหรับเรือโปรตุเกสในนางาซากิ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 1571 โดยท่าเรืออยู่ภายใต้การกำกับของคณะเยสุอิต กัสปาร์ วีเลลาร์ และเรือตรีทริสเตา วาซ เดอ เวกา ผู้ว่าการแห่งมาเก๊า โดยการช่วยเหลือส่วนตัวจากโอมูระ[4]
ภูมิประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของนางาซากิ (ปกติ ค.ศ. 1991−2020, สูงสุด ค.ศ. 1878−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 21.3 (70.3) |
22.6 (72.7) |
24.4 (75.9) |
29.0 (84.2) |
31.4 (88.5) |
36.4 (97.5) |
37.7 (99.9) |
37.7 (99.9) |
36.1 (97) |
33.7 (92.7) |
27.4 (81.3) |
23.8 (74.8) |
37.7 (99.9) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 10.7 (51.3) |
12.0 (53.6) |
15.3 (59.5) |
19.9 (67.8) |
23.9 (75) |
26.5 (79.7) |
30.3 (86.5) |
31.9 (89.4) |
28.9 (84) |
24.1 (75.4) |
18.5 (65.3) |
13.1 (55.6) |
21.2 (70.2) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 7.2 (45) |
8.1 (46.6) |
11.2 (52.2) |
15.6 (60.1) |
19.7 (67.5) |
23.0 (73.4) |
26.9 (80.4) |
28.1 (82.6) |
24.9 (76.8) |
20.0 (68) |
14.5 (58.1) |
9.4 (48.9) |
17.4 (63.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 4.0 (39.2) |
4.5 (40.1) |
7.5 (45.5) |
11.7 (53.1) |
16.1 (61) |
20.2 (68.4) |
24.5 (76.1) |
25.3 (77.5) |
21.9 (71.4) |
16.5 (61.7) |
11.0 (51.8) |
6.0 (42.8) |
14.1 (57.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -5.6 (21.9) |
-4.8 (23.4) |
-3.6 (25.5) |
0.2 (32.4) |
5.3 (41.5) |
8.9 (48) |
15.0 (59) |
16.4 (61.5) |
11.1 (52) |
4.9 (40.8) |
-0.2 (31.6) |
-3.9 (25) |
−5.6 (21.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 63.1 (2.484) |
84.0 (3.307) |
123.2 (4.85) |
153.0 (6.024) |
160.7 (6.327) |
335.9 (13.224) |
292.7 (11.524) |
217.9 (8.579) |
186.6 (7.346) |
102.1 (4.02) |
100.7 (3.965) |
74.8 (2.945) |
1,894.7 (74.594) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 3 (1.2) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
4 (1.6) |
ความชื้นร้อยละ | 66 | 65 | 65 | 67 | 72 | 80 | 80 | 76 | 73 | 67 | 68 | 67 | 71 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 10.4 | 10.2 | 11.4 | 10.3 | 10.1 | 14.3 | 11.9 | 10.7 | 9.8 | 6.7 | 9.5 | 10.2 | 125.6 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 103.7 | 122.3 | 159.5 | 178.1 | 189.6 | 125.0 | 175.3 | 207.0 | 172.2 | 178.9 | 137.2 | 114.3 | 1,863.1 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[5] |
การคมนาคม
[แก้]- รถไฟระหว่างเมือง โดย คีวชู
- สายหลักนางาซากิ (ที่สถานี: นางาซากิ และ อูรากามิ)
- รถรางในเมือง
- รถรางไฟฟ้านางาซากิ (Nagasaki Electric Tramway)
- อากาศยาน
เมืองพี่น้อง
[แก้]นครนางาซากิมีเมืองพี่น้อง ดังนี้[6]
- ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
- เซนต์หลุยส์ สหรัฐ (1972)
- เซนต์พอล สหรัฐ (1955)[6]
- ดุปนิตซา ประเทศบัลแกเรีย
- ซังตูส ประเทศบราซิล (1972)[6]
- ฝูโจว ประเทศจีน (1980)[6]
- มิดเดิลบืร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์ (1978)[6]
- โปร์ตู ประเทศโปรตุเกส (1978)[6][7]
- Vaux-sur-Aure ประเทศฝรั่งเศส (2005)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "今月のうごき(推計人口など最新の主要統計)". Nagasaki city office. June 1, 2020. สืบค้นเมื่อ June 20, 2020.
- ↑ Hakim, Joy (January 5, 1995). A History of US: Book 9: War, Peace, and All that Jazz. New York City: Oxford University Press. ISBN 978-0195095142.
- ↑ "令和2年全国都道府県市区町村別面積調 - 長崎県" (PDF). Geospatial Information Authority of Japan. January 1, 2020. สืบค้นเมื่อ June 20, 2020.
- ↑ Boxer, The Christian Century In Japan 1549-1650, p. 100-101
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 "Sister Cities of Nagasaki City". Nagasaki City Hall International Affairs Section. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2009. สืบค้นเมื่อ July 10, 2009.
- ↑ "International Relations of the City of Porto" (PDF). Municipal Directorate of the Presidency Services International Relations Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 13, 2012. สืบค้นเมื่อ July 10, 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาอังกฤษ)
- นางาซากิยังมีสารกัมมันตรังสีอีกไหม? – ไม่ พร้อมคำอธิบาย
- นางาซากิหลังระเบิดนิวเคลียร์ – interactive aerial map
- Nuclear Files.org เก็บถาวร 2007-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์และการเมืองที่แสดงถึงการทิ้งระเบิดปรมาณู
- สมาพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดนางาซากิ
- สมาคมส่งเสริมสินค้านางาซากิ
- ข้อมูลอันเป็นประโยชน์สำหรับผู้อาศัยชาวต่างชาติ ผลิตโดย Nagasaki International Association
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ นางาซากิ ที่โอเพินสตรีตแมป