นรสิงห์
นรสิงห์ | |
---|---|
เทพแห่งการป้องกัน, การทำลายล้าง, โยคะ และกาล (เวลา); ผู้ทำลายความชั่วร้าย | |
ส่วนหนึ่งของ ทศาวตาร | |
รูปปั้นนรสิงห์ที่เวงกเฏศวรมนเทียร | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | नरसिंह |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Narasimha |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทพหัวสิงโต, กาล-มหากาล, Manyu, อวตารที่สี่ของพระวิษณุ[1] |
ที่ประทับ | เกษียรสมุทร |
อาวุธ | จักร, คทา, เล็บ |
เทศกาล | นรสิงห์ชยันตี, โฮลี |
คู่ครอง | พระลักษมี |
นรสิงห์ (สันสกฤต: नरसिंह, แปลตรงตัว 'มนุษย์-สิงโต', Narasiṃha) เป็นอวตารของพระวิษณุ โดยมีร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต ลงมาทำลายความชั่วร้ายและยุติการกดขี่ข่มเหงทางศาสนาและความหายนะบนโลก ฟื้นฟูธรรม[1][2] นอกจากนี้ นรสิงห์ยังได้รับการกล่าวถึงเป็นเทพแห่งโยคะ ในรูปแบบโยคะ-นรสิงห์[3][4]
นรสิงห์เป็นหนึ่งในเทพหลักในลัทธิไวษณพ และตำนานของเขาได้รับการยกย่องในVaikhanasas, Sri Vaishnavism, Sadh Vaishnavism[5] และในธรรมเนียมอื่น ๆ ของลัทธิไวษณพ
เรื่องราว
[แก้]หิรัณยกศิปุบำเพ็ญตบะเป็นเวลานาน จนได้รับพรจากพระพรหม ให้เป็นผู้ที่ฆ่าไม่ตายจากมนุษย์, สัตว์, เทวดา ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ให้ฆ่าไม่ตายทั้งจากอาวุธและมือ ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเรือนและนอกเรือน
หิรัณยกศิปุ ได้อาละวาดสร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามภพ พระอินทร์จึงทูลเชิญพระนารายณ์อวตารเกิดมาเป็น นรสิงห์ คือ มนุษย์ครึ่งสิงห์[6] นรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุด้วยกรงเล็บด้วยการฉีกอก ที่กึ่งกลางบานประตู ในเวลาโพล้เพล้ ก่อนตาย นรสิงห์ได้ถามหิรัณยกศิปุว่า สิ่งที่ฆ่าเจ้าเป็นมนุษย์หรือสัตว์หรือเทวดาหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ สิ่งที่สังหารเป็นมือหรืออาวุธหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ ในเรือนหรือนอกเรือนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ และเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ นรสิงห์จึงประกาศว่า บัดนี้ พรที่ประทานจากพระพรหมได้สลายไปสิ้นแล้ว เทวดาทั้งสามภพจึงยินดี
รูปประติมากรรมหรือรูปวาดของนรสิงห์ตอนสังหารหิรัณยกศิปุ จึงมักสลักมีรูปเทวดาองค์เล็ก ๆ 2 องค์อยู่ข้างล่างแสดงกิริยายินดีด้วย[7]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ประติมากรรมนูนต่ำนรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุอสูร
-
ประติมากรรมนูนสูงนรสิงห์ประดับเทวสถาน วัดมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 George M. Williams (2008). Handbook of Hindu Mythology. Oxford University Press. p. 223. ISBN 978-0-19-533261-2.
- ↑ Gavin D. Flood (1996). An Introduction to Hinduism. Cambridge University Press. p. 111. ISBN 978-0-521-43878-0.
- ↑ Soifer 1991, p. 102.
- ↑ Soifer 1991, p. 92.
- ↑ Farley P. Richmond; Darius L. Swann; Phillip B. Zarrilli (1993). Indian Theatre: Traditions of Performance. Motilal Banarsidass. pp. 127 with footnote 1. ISBN 978-81-208-0981-9.
- ↑ นรสิงห์เก็บถาวร 2012-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ เทปสนทนา เรื่อง คุยเฟื่องเรื่องเขมร: วีระ ธีรภัทร - ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
บรรณานุกรม
[แก้]- Soifer, Deborah A. (1991). The Myths of Narasimha and Vamana: Two Avatars in Cosmological Perspective. SUNY Press. ISBN 9780791407998.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Iconography and Symbolism of Pañcamukha Narasimha, R. Kalidos (1987)
- The story of Lord Narasimha