นมปั่น
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
นมปั่นสตรอว์เบอร์รี | |
ชื่ออื่น | ทิกเชก, แฟรปเป |
---|---|
ประเภท | เครื่องดื่ม |
แหล่งกำเนิด | สหรัฐ |
ส่วนผสมหลัก | นม, ไอศกรีม, สารเพิ่มความหวานหรือปรุงรส |
นมปั่น (อังกฤษ: milkshake) จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีรสหวานและมีความเย็น โดยทั่วไปทำจากนมหรือไอศกรีม และปรุงรสหรือเพิ่มความหวาน เช่น บัตเตอร์สกอตช์, ซอสคาราเมล, ซอสช็อกโกแลต หรือน้ำเชื่อมผลไม้
นอกสหรัฐอเมริกา บางครั้ง มักจะเรียกชื่ออื่น เช่น ทิกเชก (thick shake) หรือ ทิกมิลก์เชก (thick milkshake) หรือในภูมิภาคนิวอิงแลนด์ จะเรียกว่า แฟรปเป (frappe) ซึ่งแตกต่างจากอันอื่นในเรื่องของความหนืดของนมแต่งรสที่น้อยลง
ร้านอาหารปกติมักจะเตรียมไอศกรีมและนม ซึ่งเขย่าด้วยมือเพื่อปั่นหรือผสมเครื่องดื่มโดยใช้ถ้วยเหล็กกล้าไร้สนิม ร้านอาหารจานด่วนจะไม่มีบริการปั่นไอศกรีมด้วยการเขย่ามือ แต่จะแทนที่ด้วยการปั่นนมผ่านเครื่องปั่นแล้วแช่แข็ง และบริการเครื่องดื่มปั่นสำเร็จ ที่มีส่วนประกอบของนม, สารแต่งกลิ่นหวาน และสารเพิ่มความเข้มข้นไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม บางร้านอาหารจานด่วนยังคงใช้วิธีดั้งเดิมอยู่ และบางบริการยังมีเครื่องดื่มนมปั่นไว้บริการโดยการปั่นแบบไอศกรีมเนื้อนุ่มในไอศกรีมหรือนมเย็น ด้วยการเพิ่มรสชาติหรือใส่น้ำเชื่อม นมปั่นยังทำมาจากการเพิ่มแป้งเข้าไปในนมสด และคนแป้งให้เข้ากับนม นมปั่นสามารถเพิ่มความหลากหลายให้กับรสชาติด้วยการใส่ช็อกโกแลต, คาราเมล, สตรอว์เบอร์รี และกล้วย
รูปแบบการปั่น
[แก้]ปั่นด้วยมือ
[แก้]การปั่นนมด้วยมือ หรือ เขย่า ทำมาจากการใส่ไอศกรีมรสชาติที่ชื่นชอบ และเติมด้วยสิ่งอื่นที่ต้องการ เช่น น้ำเชื่อมช็อกโกแลต และ/หรือ น้ำเชื่อมมอลต์ หรือแป้งมอลต์ซึ่งสามารถใส่เข้าไปก่อนที่จะเขย่าผสมกัน และสามารถเพิ่มความหลากหลายด้วยการเขย่าด้วยเครื่อง
นมปั่น คล้ายกับสูตรที่ใช้โยเกิร์ต, น้ำแข็งบด, ผลไม้สด ซึ่งปั่นรวมกันโดยไม่ใส่ไอศกรีม โดยทั่วไปมักเรียกว่าสมูทที เมื่อเพิ่มครื่องดื่มผสมนมและไอศรีมเข้าไป นมปั่นนั้นจะถูกเรียกว่า มอลทิดมิลก์เชก, มอลทิดเชก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มอลต์ นมปั่นบางครั้งเรียกว่า ทิกมิลก์เชก (thick milkshakes) ในสหราชอาณาจักร, แฟรปเป (ออกเสียงว่า "แฟรป") ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิวอิงแลนด์และแคนาดา ในรัฐโรดไอแลนด์ และทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐแมสซาชูเซสต์, น้ำเชื่อมกาแฟ หรือไอศกรีมกลิ่นกาแฟมักจะใช้เรียกว่า "คอฟฟีแฟรปเป" ปั่นสำหรับคนท้องถิ่น นมปั่นใส่ผลไม้จะเรียกว่า บาติโด เป็นที่นิยมมากในลาตินอเมริกาและในชุมชมชาวคิวบาในไมแอมี ในนิการากัว นมปั่นถูกเรียกว่า ไอซ์เชอร์ มอลต์ทีด้า.
ร้านอาหารบางแห่งในสหรัฐอเมริกา มีบริการนมปั่นด้วยคุกกี้ชิ้น, ลูกกวาดแท่ง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยกตัวอย่าง เครื่องดื่มนมค็อกเทล มีคุกกี้ช็อกโกแลตชิ้น, เหล้าหวานครีม เดอ เมนเต้ และไอศกรีมช็อกโกแลตมินต์ ซึ่งทำให้รสชาตออกมาลงตัวอย่างเห็นได้ชัด
เครื่องปั่นนม
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ร้านอาหารที่มีคนเข้าร้านมาก เช่น แมคโดนัลด์ บ่อยครั้งจะมีการทำส่วนผสมนมปั่นเตรียมไว้ก่อนที่จะเข้าเครื่องปั่นอัตโนมัติ เครื่องจะมีลักษณะเป็นถังเหล็กแล้วใช้เครื่องตีด้วยความเย็นเพื่อคอยซ์เย็นแช่แข็งส่วนผสมนมปั่นเตรียมลงในเครื่องดื่ม จำนวนรสชาติที่แตกต่างตามร้านอาหารด้วยเครื่องปั่นอัตโนมัติ ถุกจำกัดด้วยจำนวนถังที่ใช้ปั่นเท่าที่ร้านมี และร้านอาหารจานด่วนมักเพิ่มรสชาติให้นมปั่นน้อย
เครื่องปั่นนมสดอัตโนมัติขนาดเล็กที่สุด โดยติดตั้งเคาน์เตอร์ซึ่งใส่ได้รสชาติเดียวโดยใช้ถังสแตนเลส 5 ลิตร ร้านอาหารขนาดใหญ่หวังที่จะเพิ่มหลายรสชาติทั้งใช้เครื่องผสมหลายกลิ่นด้วยถังสแตนเลส 5 ลิตร หรือใช้เครื่องคาร์บอนไดออกไซด์ผสมรสชาติระหว่างปรุงแต่ง ร้านอาหารจานด่วนบางร้านใช้ เครื่อง "ทิค มิลเชค" เครื่องปั่นถังใหญ่ใส่รสชาติเดียวด้วยเครื่องปั่นสแตนเลส 12 ลิตร
ไอศกรีมเนื้อนุ่มผสมด้วยน้ำเชื่อม
[แก้]ร้านอาหารจานด่วนบางร้าน เช่น แดรี่ควีน ให้บริการนมปั่นด้วยการเตรียมปั่นไอศกรีมเนื้อนุ่ม(หรือ นมเย็น) ด้วยสารแต่งกลิ่นหวาน, น้ำเชื่อม เช่น น้ำเชื่อมช็อกโกแลต และน้ำเชื่อมผลไม้ และนม
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 580 กิโลจูล (140 กิโลแคลอรี) |
18–27 g | |
น้ำตาล | 18–27 g |
3–9 g | |
อิ่มตัว | 2–5 g |
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว | 1–3 g |
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | 0–1 g |
3.5 g | |
วิตามิน | |
(10%) 0.5 มก. | |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (13%) 130 มก. |
100 g corresponds to 95 ml. | |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
การเตรียมส่วนผสม
[แก้]การเตรียมส่วนผสมสำหรับนมปั่น มีขายในร้านขายของชำในตอนเหนือของอเมริกา และในอังกฤษ เครื่องดื่มเหล่านี้ทำจากส่วนผสมนมด้วยแป้งให้ความหวาน, น้ำเชื่อมเทียม หรือสารเข้มข้นที่มักจะเรียกว่า "รสชาตินม" เข้มข้นด้วยคาราจีแนน หรือผลิตภัณฑ์นมปั่นแบบขวด ซึ่งขนาดที่ขายทั่วไป คือ 330 มิลลิลิตร, 500 มิลลิลิตร หรือ 1 ขวดลิตร
ประวัติ
[แก้]ปี 1880–1930
[แก้]เมื่อคำว่า "ปั่น" ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1885, นมปั่นเคยเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วิสกี้ ซึ่งได้รับการกล่าวถึงว่า "นุ่มแน่น, เครื่องดื่มที่มีไข่เป็นส่วนผสมดีต่อสุขภาพทั้งไข่ และวิสกี้ และอื่น ๆ และเป็นยาบำรุงเหมาะแก่การรักษา อย่างไรก็ตามในปี 1900, มีการอ้างถึง "เครื่องดื่มสุขภาพ" ที่ทำมาจากช็อกโกแลต, สตรอว์เบอร์รี หรือน้ำเชื่อมวานิลลา" ในช่วงต้นศตวรรษ 1900 ผู้คนส่วนใหญ่มักถามถึงการรักษาด้วยไอศกรีมซึ่งเป็นการรักษาแบบใหม่ ต่อมาในปี 1930 นมปั่นเป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมที่ร้านมอลต์หลายร้าน ที่เป็นต้นแบบของน้ำพุโซดาในช่วงเวลานั้น และมักใช้เป็นสถานที่พบปะของนักเรียน หรือเป็นที่นัดเจอเพื่อน ๆ ยามว่าง
ประวัติที่มาของเครื่องปั่นไฟฟ้า, เครื่องดื่มนมมอลต์ และนมปั่น มีความเชื่อมต่อกัน ก่อนที่เครื่องปั่นไฟฟ้าจะขยายวงกว้าง เครื่องดื่นนมปั่นจะคล้ายเครื่องดื่มที่ผสมด้วยไข่ หรือ เครื่องดื่มที่นำส่วนผสมของน้ำแข็งบด, นม, น้ำตาล และสารให้ความหวานมาเขย่ารวมกันด้วยมือ ส่วนผสมเครื่องดื่ม ฮามิลตัน บีท เริ่มจากการใช้ที่โซดาน้ำพุ ในปี 1911 และเครื่องปั่นไฟฟ้า หรือเครื่องผสมถูกผลิตโดย สตีเว่น โพพราวสกี ในปี 1922 การประดิษฐ์เครื่องปั่น, นมปั่น เริ่มต้นด้วยการใช้วิปครีม, น้ำอัดลม และสิ่งที่มีลักษณะเป็นฟอง เครื่องดื่มนมมอลต์ผลิตจากแป้งนมมอลต์ ซึ่งมีส่วนผสมของนมแห้ง, บาร์เล่ย์มอลต์, และแป้งสาลี แป้งนมมอลต์ ถูกสร้างขึ้นในปี 1897 โดยวิลเลี่ยม ฮอล์ลิค เพื่อช่วยในการย่อยในการย่อยอาหารและฟื้นฟูสุขภาพเหมาะสำหรับคนพิการและเด็ก และเป็นอาหารสำหรับเด็กแรกเกิด
การใช้แป้งนมมอลต์ในนมปั่นเป็นที่นิยมมากในสหรัฐอเมริกาโดยผ่านบริษัทวอล์กรีนร้ายขายยาในชิคาโก ในปี 1922 พนักงานของวอล์กรีน ไอวา "ป๊อป" คอสัน ผลิดตนมปั่นโดยการเพิ่มไอศกรีมวนิลลา 2 สคูปเข้าไปในสูตร (นม, น้ำเชื่อมช็อกโกแลต และแป้งมอลต์) เครื่องดื่มนมมอลต์มาตราฐาน สินค้าชิ้นนี้ อยู่ภายใต้ชื่อ "นมมอลต์ ฮอร์ลิค" ซึ่งเป็นที่โด่งดังของร้ายขายยาวอล์กรีน ราวกับว่าร้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของนมปั่นช็อกโกแลต ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อของ "มอลต์" หรือ "มอล" และกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มน้ำพุโซดาที่เป็นที่นิยมที่สุด
การพัฒนานมปั่นแบบอัตโนมัติในปี 1930 หลังจากการประดิษฐ์สารฟรีออนสำหรับทำความเย็นตู้เย็นเพื่อทำให้อาหารเก็บได้, ซึ่งการทำแบบอัตโนมัตินี้น่าเชื่อถือ และสามารถผลิตไอศกรีมได้ ในปี 1936 นักประดิษฐ์เอิร์ล ปรินซ์ ใช้หลักการพื้นฐานนี้เบื้องหลังการให้ความเย็นในรูปแบบของเครื่องผลิตไอศกรีม และพัฒนามาเป็นเครื่องผสมเครื่องดื่ม "การผสมใส่แกนแบบ 5 แกนสามารถผลิตนมปั่นได้ 5 แบบในครั้งเดียว" การผลิตอัตโนมัติแบบนี้ สามารถจ่ายไอศกรีม โดยการดึงคันโยกและเปลี่ยนถ้วยกระดาษที่รอ และนมปั่นได้ต่อกัน
ในช่วงปลายปี 1930 นักหนังสือพิมพ์หลายท่านได้เขียนบทความในเรื่องของ "เกล็ดน้ำแข็ง" มักใช้อ้างอิงถึงการทำนมปั่นด้วยไอศกรีม ในปี 1937, นิตยสารเดนตัน ในรัฐแมริแลนด์ได้กล่าวถึง "การปั่น'เกล็ดน้ำแข็ง' เพิ่มเข้าไปในไอศคีมที่คุณชื่นชอบ" ในปี 1939 หนังสือพิมพ์แมนฟิลด์ในรัฐโอไฮโอได้กล่าวถึง "เครื่องดื่มที่เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ในท้องถิ่น" ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่จะถูกเพิ่มเข้าไปไอศกรีม ตัวอย่างที่เด่นที่สุด คือ กาแฟเกล็ดน้ำแข็ง ทั้งร้อน และเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเย็นด้วยน้ำแข็งและเย็นด้วยไอศกรีม
ปี 1940–1950
[แก้]จากปี 1950 สถานที่ที่เป็นที่นิยมในการดื่มนมปั่น คือ วูลเวิร์ธ "5 & 10" มีทั้งเคาน์เตอน์อาหารกลางวัน, ร้านอาหาร, เบอร์เกอร์ จอยซ์ และร้ายขายยาน้ำพุ โซดา การทำที่แสดงเห็นได้ชัด คือ เครื่องผสมนมปั่นที่มีวัสดุโครมเงา ๆ หรือ เหล็กสแตนเลท
การสร้างน้ำปั่นในฮามิลตัน บีท หรือมีลักษณะคล้ายเครื่องดื่มผสมที่มีแกนและมีเครื่องกวนให้มีฟองอากาศในเครื่องดื่มเพื่อ "นุ่มปุย และเรียบ" และบริการในขนาด 12½- ออนซ์, ทรงแก้ว "วาย" ทีมงานโซดา น้ำพุ มีศัพท์เฉพาะของพวกเขา เช่น "เบิร์น วัน ออล เดอะ เวย์" (ช็อคโกแลตมอลต์ ด้วยไอศกรีมช็อกโกแลต), "ทวิส อิท, โช็ค อิท แอนด์ เมค อิท แคร๊กเกิล" (ช็อกโกแลตมอล์ด้วยไข่), "เชค วัน อิน เดอะ เฮย์" (สเตอเบอรี่ปั่น) และ "ไวท์ โค" (นมวานิลาปั่น) ในปี 1950 พนักงานขายเครื่องปั่นนม ชื่อว่า เรย์ คร็อก ซื้อลิขสิทธิ์ เครื่องผลิตนมปั่น รุ่น 1930 จากนักประดิษฐ์เอิร์ล ปริ้นซ์ และนำไปใช้ผลิตเป็นเครื่องผลิตนมปั่นอัตโนมัติเพื่อเร่งการผลิตให้กับร้านแมคโดนัลด์
ระบบการตั้งชื่อ
[แก้]ในปี 1950, นมปั่น มักจะถูกเรียกว่า "แฟรปเป", "เวลเวต", "เกล็ดน้ำแข็ง (เครื่องดื่ม)" หรือ "คาบิเนท" ในแต่ละพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา ขึ้นอยู่กับลักษณะของนมปั่นเหมือน "คอนกรีต" คือ "นมปั่นที่เนื้อแน่นเพื่อที่จะเกาะกันและไม่หยดเป็นน้ำออกมา" ในปี 1952, หนังสือพิมพ์นิวพอร์ต เดลี่ในโรดไอแลนด์ซึ่งมีเนื้อหา "ไกด์ ฟอร์ ทอป คลอลิตี้ ไอซีอี ครีม โซดา คาบิเนต มิลค์ เชค" ซึ่งแสดงตีพิมพ์ในรูปแบบ "คาบิเนท" บทความจาก 1953 ในนิตยสารซาลิสเบอรี่ ไทม์ (รัฐแมริแลนด์) แนะนำว่าการปั่นในเหยือก จะทำให้ปั่นดี บทความเขียนว่าการเติมไอศกรีม 4 ช้อนโต๊ะ เครื่องดื่มนั้นจะกลายเป็น "น้ำปั่นเกล็ดน้ำแข็ง" ปัจจุบันในเมืองนิว อิงแลนด์ และบริเวณพื้นที่เมืองบอสตัน ไอศกรีมและของว่างที่เป็นนม เป็นที่รู้จักในชื่อของ "นมปั่น" และในส่วนอื่น ๆ ของประเทศมักจะเรียกว่า "แฟรปเป" ในสถานที่เหล่านี้ "นมปั่น" จะหมายถึงเครื่องดื่มอ่อน โดยทั่วไปจะมาจากการเขย่า หรือปั่นนมตามด้วยการแต่งเสริมเข้าไป อย่างไรก็ตามคำว่า "นมปั่น" ใช้กันอย่างกว้างขวางในรัฐคอนเนคทิกัส ร้านนิวพอร์ต ครีมเมอรรี่ ร้านหลักของครอบครัวซึ่งพบว่าเกือบจะเป็นผู้ผูกขาดแต่รายเดียวบนโรดไอแลนด์ ให้บริการนมปั่นหลายรูปแบบที่ทำมาจากนมเย็นภายใต้เครื่องหมายทางการค้าว่า "อิวฟูล อิวฟูล"
ปี 2000 - ปัจจุบัน
[แก้]ในปี 2005 การปั่นนมแบบดั้งเดิม ร้านค้าแบบครอบครัวและร้านอาหารที่เปิดตลอด 24 ชม. "มีอยู่ในยุค 1950 และ 1960" ของอเมริกา เช่น ร้านเดนนีส์, ร้านบิกบอย และร้านอินเตอร์แนชนัลเฮาส์ออฟแพนเค้ก" ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งอื่น" ในเรื่องของรายได้ครั้งแรกตั้งแต่การสำรวจประชากรของสหรัฐอเมริกาเริ่มจากการวันในช่วงปี 1970 เดอะ ชิฟ หมายถึง เบอร์เกอร์, ของทอดและนมปั่นซึ่งปรากฏอยู่ในละครซิตคอม "แฮปปีเดย์" คือ การสูญเสียความอยากอาหารอเมริกันไป ผู้บริโภคชาวอเมริกันออกไปบริโภคร้านอาหารนอกบ้านแทน
ในปี 2006 สถาบันค้นคว้าและให้บริการด้านเกษตกรรม ของสหรัฐอเมริกา พัฒนาด้านการลดน้ำตาล, นมปั่นไขมันต่ำสำหรับโปรแกรมอาหารมื้อกลางวัน การปั่นที่ใส่น้ำครึ่งหนึ่งและใช้เพียง 10% ของความอ้วนตามหลักการค้าของอาหารจานด่วน โรงเรียนจำเป็นต้องใช้เครื่องปั่นนม หรือเครื่องทำไอศกรีมเนื้อนุ่มไว้สำหรับบริการนมปั่น นมปั่นยังต้องเพิ่มเส้นใยอาหารและสารอาหารอื่น ๆ และอย่างน้อยพวกเขาจะต้องมีปริมาณแลคโตส (น้ำตาลที่ได้จากนม) เพื่อให้ได้การปั่นที่เหมาะสมสำหรับคนที่แพ้นม
ยอดการขายของนมปั่นในสหรัฐอเมริกา, มอลต์ และโฟท ขึ้นมา 11% จากปี 2006, โดยอ้างอิงจากกลุ่มบริษัทเอ็นพีดี วิจัยอุตสาหกรรม นายคริสโตเฟอร์ มูลเลอร์ ผู้บริหารส่วนกลางของร้านค้าหลายแห่งที่มหาวิทยาลับออลันโดแห่งรัฐบาลกลางฟอริดา กล่าวว่า "นมปั่นย้ำเตือนให้เรานึกนึกฤดูร้อน, เยาวชน และการดื้อดึง" และ "พวกเขากำลังนึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต" โดยคำพูดของมูลเลอร์ นั่นทำให้นมปั่นเป็นรายการอาหารที่ "กำไรมหาศาล" ให้แก่ร้านค้า ตั้งแต่เครื่องดื่มฟัฟฟี่ (นุ่ม ปุย) ซึ่งส่วนใหญ่มีแต่อากาศ บริษัทวิจัยทางการตลาดเทคโนมิคส์ ร้องเรียนว่า 75% ของค่าเฉลี่ยนราคารายการปั่นในร้านอาหารอยู่ที่ 3.38 เหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2006 ทำให้มีกำไร ผู้บริหารจากบริษัทโซนิค ไดรฟ์-อิน ผู้นำด้านร้านอาหารในยุค 1950 ของสหรัฐอเมริกา เรียกการปั่นว่า "..เป็นหนึ่งในรายการที่มียอดสั่งสูงที่สุด และเครื่องดื่มที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัท"
รายงานบางส่วนของการเพิ่มยอดขายนมปั่นในปี 2006 เนื่องจากการเพิ่มคุณสมบัติของพ่อครัวในการตกแต่งนมปั่นเพิ่มเติมสำหรับร้านอาหารระดับบน ในปี 2006 หนังสือพิมพ์ลอส แองเจลลิล ไทม์ รายงานว่า พ่อครัวจาก "ฮิฟเตอร์ แฮงค์เอ้าท์ และเรทโทร แลนมาร์ค" ได้ใช้ "ตลาดเกษตรกรหมักสตอเบอรี่, ช็อคโกแลตวาโอน่า และวานิลามาดากัสการ บัวบอน" สู่การนมปั่นรสชาติใหม่
ความคิดใหม่ ๆ ได้ถูกนำเสนอในร้านอาหารย่านแอลเอ รวมถึงนมปั่นที่ทำจากพีแคนย่าง, น้ำแซฟรอน-โรส หรือไอศกรีมส้ม-บอสซั่ม, เผือก, วานิลลา อุดมด้วยคุณค่าใน รัม, ช็อคโกแลตวาโฮล่า และเกร กูซ วอคก้า
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นมปั่น