ข้ามไปเนื้อหา

ทิงลิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การใช้ภาษาอังกฤษแบบทิงลิชบนป้ายประกาศของทางการ

ทิงลิช ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (อังกฤษ: Tinglish, Thenglish หรือ Thainglish) หรือ ไทยกลิช ในภาษาอังกฤษแบบบริติช (อังกฤษ: Thaiglish) หรือเรียก ไทยลิช (อังกฤษ: Thailish) ก็มี[1] เป็นชื่อรูปแบบภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในหมู่คนไทย มีลักษณะไม่สมบูรณ์เพราะเอารูปแบบภาษาแม่ของตนมาปนกับภาษาอังกฤษ ความไม่สมบูรณ์เช่นนั้นเป็นต้นว่าเรื่องการออกเสียง เรียงคำ ไวยากรณ์ และประดิดประดอยคำใหม่ให้

ตัวอย่างทิงลิช

[แก้]
ความหมายในภาษาไทย ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ทิงลิช
เปิด/ปิด (เครื่องใช้ไฟฟ้า) to turn on/off the (electricity) to open/close the (electricity)
ล้างรูป to develop the film to wash the film
ฉันสนใจฟุตบอล I am interested in football I am interesting in football
ฉันชอบคุณมาก I really like you I very like you
ฉันเคยไปภูเก็ต I have been to Phuket I used to go to Phuket
I go to Phuket already

คำศัพท์

[แก้]
  • ทำตัวสบาย ๆ - chill หรือ chill out' ใช้เป็น chill chill (ชิลชิล หรือ ชิวชิว)
  • เหมือนเดิม/เหมือน ๆ - same ใช้เป็น same same
  • เรียกเก็บเงิน (ภายหลังกินอาหารเสร็จ) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "เช็ก" (check) หรือ "บิล" (bill) คำใดคำหนึ่ง ในไทยจะใช้ทั้งสองคำรวมกันเป็น "เช็กบิล" (check bill)
  • คำผิดหน้าที่ เช่น This sucks. ใช้เป็น This is suck.

การเพิ่มส่วนของคำ

[แก้]

เพิ่มในส่วนหน้าของคำ

  • คำว่า คุณ (ใช้ khun แทนคำว่า mister (Mr.), miss (Ms.) หรือ Mrs.) เช่น Khun Somchai will have a meeting on Friday.

เพิ่มในส่วนท้ายของประโยค

  • คำว่า ครับ และ ค่ะ เพื่อเพิ่มความสุภาพให้ประโยค ตัวอย่างเช่น Hello kha.
  • ภาษาพูด คำว่า ละ นะ จ้ะ สำหรับการแนะนำ และลดความเป็นทางการ เช่นคำว่า Why don't you ask her la? หรือ I'm going to have dinner now, how about you la? หรือ Hello ja.

การออกเสียง

[แก้]

เนื่องจากเสียงในภาษาอังกฤษส่วนหนึ่ง ไม่มีเสียงในภาษาไทยที่ตรงกัน ทำให้มีการที่ผู้ใช้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ปรับเปลี่ยนเสียงภาษาอังกฤษเป็นเสียงที่ใกล้เคียง

  • การเน้นเสียง (stress) ยกเลิกการเน้นเสียงทั้งหมดและใช้เสียงสามัญ แล้วเน้นเสียงที่คำสุดท้ายของประโยค
  • เพิ่มเสียงโท (ไม้เอกสำหรับอักษรต่ำและไม้โทสำหรับอักษรกลาง อักษรสูง) ท้ายคำ สำหรับคำภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าเสียงต้นฉบับจะมีหรือไม่มีก็ตาม เช่น Manchester - แมนเชสเต้อร์ หรือ Arsenal - อาร์เซน่อล
  • เปลี่ยนเสียง r เป็นเสียง เรือ และเสียง l เป็นเสียง ลิง
  • เสียงพยัญชนะเสียงสุดท้ายถูกละตามแม่สะกดของภาษาไทย เช่น เสียง l และ r กลายเป็น แม่กน เช่น บอล อ่านเป็น บอน และเสียง s กลายเป็น แม่กด เช่น is เป็น อี๊ด
  • เสียง sh และ ch รวมมาเป็นเสียงเดียวกับเสียง ช้าง
  • เสียง g และ z ถูกเปลี่ยนเสียงเช่น dog -> dock, zoo -> sue
  • เสียง th เปลี่ยนเป็น ท ทหาร ต เต่า และ ด เด็ก เช่น thin -> tin, through -> true, then -> den
  • เสียง h อ่านเป็น เฮช แทนที่เสียงที่ถูกต้อง เอช ตามเสียงของพยัญชนะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lambert, James (2018). "A multitude of 'lishes': The nomenclature of hybridity". English World-wide. 39 (1): 31–32. doi:10.1075/eww.38.3.04lam.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]