ข้ามไปเนื้อหา

ทากุ

พิกัด: 33°17′19″N 130°6′37″E / 33.28861°N 130.11028°E / 33.28861; 130.11028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทากุ

多久市
แอ่งทากุและตัวเมืองทากุ มองจากเขาโอนิโนฮานะ
แอ่งทากุและตัวเมืองทากุ มองจากเขาโอนิโนฮานะ
ธงของทากุ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของทากุ
ตรา
ที่ตั้งของทากุ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดซางะ
ที่ตั้งของทากุ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดซางะ
แผนที่
ทากุตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ทากุ
ทากุ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 33°17′19″N 130°6′37″E / 33.28861°N 130.11028°E / 33.28861; 130.11028
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัด ซางะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีโทชิฮิโกะ โยโกโอะ (横尾 俊彦)
พื้นที่
 • ทั้งหมด96.56 ตร.กม. (37.28 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 ตุลาคม ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด17,200 คน
 • ความหนาแน่น178 คน/ตร.กม. (460 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น41204-0
ที่อยู่ศาลาว่าการ7-1 โคซามูไร คิตาตากุโจ นครทากุ จังหวัดซางะ 846-8501
เว็บไซต์www.city.taku.lg.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้บ๊วย (Prunus mume)
ต้นไม้เมเปิล

ทากุ (ญี่ปุ่น: 多久市โรมาจิTaku-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดซางะ บนเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 96.56 ตารางกิโลเมตร (37.28 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2024 ประมาณ 17,200 คน มีความหนาแน่นของประชากร 178 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2] ทากุได้เข้าร่วมเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลกของยูเนสโกเมื่อ ค.ศ. 2017

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณตัวเมืองทากุ
นาข้าวในมินามิตากุ

นครทากุตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครซางะ ซึ่งห่างไปประมาณ 25 กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำของแม่น้ำอูชิซุ โดยมีตัวเมืองอยู่บริเวณกึ่งกลางและล้อมรอบด้วยภูเขา ทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเรียบ และมีช่องเขาที่มีความสูงไม่มากเชื่อมต่อไปยังทิศทางต่าง ๆ

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

นครทากุมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือ ฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของนครทากุอยู่ที่ 15.5 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,864 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.5 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 5.0 °C[3]

สถิติประชากร

[แก้]

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น จำนวนประชากรของนครทากุดังแสดงด้านล่าง[4]

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1940 19,882—    
1950 37,787+90.1%
1960 45,627+20.7%
1970 26,785−41.3%
1980 25,636−4.3%
1990 25,162−1.8%
2000 23,949−4.8%
2010 21,412−10.6%
2020 18,295−14.6%

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่ทากุเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นฮิเซ็ง ต่อมาในยุคเอโดะ พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาซางะ และหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านต่าง ๆ ขึ้นมา ได้แก่ คิตาตากุ ทากุ นิชิตากุ ฮิงาชิตากุ และมินามิตากุ โดยหมู่บ้านคิตาตากุได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1949 และเทศบาลเหล่านี้ก็ได้ควบรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นนครทากุเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1954

การเมืองการปกครอง

[แก้]
ศาลาว่าการนครทากุ

นครทากุมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 15 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครทากุเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดซางะจำนวน 2 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครทากุเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดซางะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

พื้นที่ทากุเคยเป็นพื้นที่ทำเหมืองถ่านหินที่มีบริษัทหลายแห่งเข้ามาดำเนินกิจการทำเหมือง อย่างไรก็ตาม เหมืองถ่านหินแห่งสุดท้ายได้ปิดตัวลงใน ค.ศ. 1972 ส่งผลให้อุตสาหกรรมถ่านหินต้องยุติลง นครทากุพยายามฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวให้กลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมโดยอาศัยทำเลที่ตั้งใกล้กับทางด่วนนางาซากิ

การศึกษา

[แก้]

นครทากุมีโรงเรียนประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้นรวม 3 แห่งซึ่งสังกัดเทศบาลนครทากุ และมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 แห่งซึ่งสังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดซางะ

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

ทางหลวง

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

สถานที่ที่น่าสนใจ

[แก้]
ทากุเซเบียว
  • ทากุเซเบียว เป็นวัดลัทธิขงจื๊อที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1708 ถือเป็นวัดขงจื๊อที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และได้รับการกำหนดให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์แห่งชาติและทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 推計人口(月報・年報) [จำนวนประชากรโดยประมาณ (รายเดือน/รายปี)]. เว็บไซต์จังหวัดซางะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2024.
  2. "สถิติทางการของนครทากุ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.
  3. ภูมิอากาศทากุ: อุณหภูมิเฉลี่ย, สภาพอากาศรายเดือน
  4. จำนวนประชากรจังหวัดซางะจำแนกตามเทศบาล

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]