ดนตรีนิวเอจ
นิวเอจ | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ดนตรีคลาสสิก ดนตรีอีเลกโทรนิก Musique concrète โพรเกรสซีฟร็อก ไซเคเดลิกร็อก เวิลด์มิวสิก เคราต์ร็อก ดนตรีอาวองต์-การ์ด ดนตรีโฟล์กพื้นบ้าน ดนตรีแอมเบียนต์ มินิมอลิสม์ |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ปลายทศวรรษ 1960 ใน ยุโรป |
เครื่องบรรเลงสามัญ | เปียโน, เครื่องสังเคราะห์เสียง, แซมเพลอ, sequencer, คอมพิวเตอร์, เครื่องดนตรีสาย, เสียงจากธรรมชาติ (เช่น เสียงนก ปลาวาฬ น้ำตก เป็นต้น), เครื่องดนตรีโฟล์ก, อคูสติกกีตาร์, ฟลูต, พิณ, ซิตาร์, แทมบูรา, tabla, ออร์แกน, เสียงเอฟเฟกต์ |
รูปแบบอนุพันธุ์ | โพสต์-ร็อก |
แนวประสาน | |
เคลติกฟิวชัน, tone poem, biomusic, โพสต์-ร็อก |
ดนตรีนิวเอจ (อังกฤษ: New Age) หากแปลตามตัวก็หมายถึง ดนตรียุคใหม่ เป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งมีจุดเริ่มต้นจากงานความหลากหลายของนักดนตรียุโรปและอเมริกันในทศวรรษที่ 60 ที่ทำเพลงอีเลกโทรนิกและอคูสติก โดยทั่วไปมีลักษณะการใช้เครื่องดนตรีพื้นฐานและความซ้ำของเมโลดี้ในธรรมชาติ การบันทึกเสียงจากธรรมชาติก็มีการนำมาใช้ในเพลง ดนตรีนิวเอจมีดนตรีที่ให้ความผ่อนคลาย แรงบันดาลใจ และมักใช้กับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น โยคะ การนวด การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ และการบริหารความเครียด[1] ที่จะสร้างบรรยากาศไม่ว่าจะที่บ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ
ลักษณะของดนตรีนิวเอจมักผสมระหว่างเสียงเอฟเฟกหรือเสียงจากธรรมชาติ รวมกับเพลงอีเลกโทรนิกและเครื่องดนตรี อาศัยโครงของดนตรีหนุนไว้ อย่างเช่น ฟลุต เปียโน อคูสติกกีตาร์ และอาจรวมถึงเครื่องดนตรีตะวันออก ซึ่งในบางเพลงอาจมีการร้องลำนำในภาษาสันสกฤต ทิเบต หรือการสวดของคนพื้นถิ่นในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น หรือในบางครั้งก็มีการเขียนเนื้อร้องที่อิงมาจากเทพนิยายอย่างตำนานเคลติก เป็นต้น สำหรับเพลงที่มีความยาวมากกว่า 20 นาทีในเพลงประเภทนี้ไม่ใช่สิ่งที่แปลกอะไร และในบางครั้งลักษณะของเพลงแบบนี้ก็มีการเปรียบได้ว่าดนตรีแอมเบียนต์ (ambient music) เพื่อใช้เปิดในสถานที่สาธารณะ
ในช่วงทศวรรษที่ 80 ดนตรีนิวเอจได้รับความนิยมทางสถานีวิทยุทั่วไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lehrer, Paul M.; David H. (FRW) Barlow, Robert L. Woolfolk, Wesley E. Sime (2007). Principles and Practice of Stress Management, Third Edition, p46-47. ISBN 1-59385-000-X.