ซาวลา
ซาวลา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กีบคู่ Artiodactyla |
วงศ์: | วงศ์วัวและควาย Bovidae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยวัวและควาย Bovinae |
เผ่า: | Bovini Bovini Dung, Giao, Chinh, Tuoc, Arctander & MacKinnon, 1993 |
สกุล: | Pseudoryx Pseudoryx Dung, Giao, Chinh, Tuoc, Arctander & MacKinnon, 1993 |
สปีชีส์: | Pseudoryx nghetinhensis |
ชื่อทวินาม | |
Pseudoryx nghetinhensis Dung, Giao, Chinh, Tuoc, Arctander & MacKinnon, 1993 | |
ขอบเขตในประเทศเวียดนามและลาว |
ซาวลา (เวียดนาม: sao la; ลาว: ເສົາຫຼາ, ເສົາຫລາ) หรือ วัวหวูกวาง (อังกฤษ: Vu Quang ox) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบใน ค.ศ. 1992 มีชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudoryx nghetinhensis รูปร่างคล้ายแพะผสมกับเลียงผา จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวัว (Bovidae)
จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudoryx[2] โดยที่ชื่อนี้ (รวมถึงชื่อวิทยาศาสตร์ทั้งหมด) มาจากภาษากรีกแปลว่า "ออริกซ์ปลอมแห่งเหงะติ๋ง" เนื่องจากมีเขาที่ดูคล้ายออริกซ์ แอนทิโลปเขาตรงที่พบในทวีปแอฟริกา[3] โดย "ซาวลา" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาเวียดนาม มาจากภาษากลุ่มไท แปลว่า "เขาบิดเกลียว"[4] อีกทั้งยังแฝงความหมายว่า "ล้ำค่าดุจเดือนและดาว" และยังได้สมญาว่าเป็น "ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย"[5]
การค้นพบ
[แก้]ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1992 โดย จอห์น แม็กกินนอน นักวิทยาศาสตร์และนักธรรมชาติวิทยาผู้ทำงานให้กับกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) แห่งสหประชาชาติ ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเวียดนามในการขยายระบบการสงวนผืนป่าและจัดตั้งเขตอนุรักษ์ โดยในระหว่างการปฏิบัติงาน แม็กกินนอนได้เข้าไปสำรวจป่าหวูกว่าง บริเวณชายแดนเวียดนามและลาว วันหนึ่งขณะที่คณะสำรวจแวะพักที่หมู่บ้านชาวพื้นเมือง แม็กกินนอนได้พบเห็นเขาของชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายสัตว์จำพวกเลียงผาหรือแอนทิโลป ทว่าเขานี้ยาวกว่าเขาของเลียงผามาก หลังกลับออกมาจากป่า แม็กกินนอนได้นำตัวอย่างที่ได้มาพิจารณา จนแน่ใจว่าสัตว์ที่พบต้องเป็นสัตว์ชนิดใหม่อย่างแน่นอน จึงได้นำคณะกลับไปยังป่าหวู่กว่างอีกครั้งและได้รวบรวมเขาของสัตว์ดังกล่าวได้เพิ่มอีก 20 คู่ อีกทั้งยังได้แผ่นหนังเพิ่มมาอีก 3 ผืน แม็กกินนอนได้นำหนังผืนหนึ่งมาสตัฟฟ์จากนั้นได้ส่งหนังและเขาที่รวบรวมมาได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำการศึกษาและตรวจสอบ ซึ่งจากการตรวจดีเอ็นเอ ก็ได้ข้อสรุปว่าสัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์ชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีใครพบมาก่อน ทั้งยังเป็นสัตว์ที่ต่างจากสัตว์อื่น ๆ ที่เคยรู้จักจนต้องตั้งสกุลใหม่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1993 จึงได้ข้อมูลมากพอและได้นำเสนอรายงานนำไปสู่การยอมรับอนุกรมวิธานในทางวิชาการ[6]โดยมีความซับซ้อนในการจัดลำดับพอสมควรเนื่องจากเป็นสัตว์สกุลใหม่ ได้รับการจำแนกว่ามีความแตกต่างจากวงศ์ย่อย Caprinae จนในที่สุดได้จัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Bovinae ในเผ่า Bovini[7] โดยถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี[4]
ลักษณะ
[แก้]จัดเป็นแอนทิโลปชนิดหนึ่ง มีขนตามลำตัวสั้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะเด่นคือ มีลายสีขาวบริเวณใบหน้า เขาโค้งยาวและแหลมคม อาจมีเขายาวมากกว่า 50 เซนติเมตรได้ ต่อมใต้ตามีขนาดใหญ่ใช้หลั่งสารเคมีที่สื่อสารกับตัวเมีย มีความยาวหาง 30 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 84 เซนติเมตร น้ำหนัก 80–100 กิโลกรัม
จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะป่าทึบชายแดนลาวกับเวียดนามเท่านั้น เช่น เทือกเขาอันนัม, อุทยานแห่งชาติหวูกว่าง เป็นสัตว์ที่หายากมากและมีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก ด้วยพบปรากฏตัวเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นในรอบนับสิบปี[5][8]
พฤติกรรม
[แก้]มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพังในช่วงเช้าตรู่ถึงตอนบ่าย แต่บางครั้งอาจพบเห็นหากินในเวลากลางคืน มักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ตั้งท้องนานประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว[8]
ในวัฒนธรรม
[แก้]ใน ค.ศ. 2000 เวียดนามได้ออกตราไปรษณียากรชุดซาวลา ภายใต้การสนับสนุนขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF), ซาวลาเป็นสัญลักษณ์นำโชคอย่างเป็นทางการของมหกรรมกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 31 ค.ศ. 2021[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Timmins, R. J.; Hedges, S. & Robichaud, W. (2016) [amended version of 2016 assessment]. "Pseudoryx nghetinhensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T18597A166485696. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ "Pseudoryx (Genus)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010.
- ↑ "Mammal Species of the World". A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). 2005. ISBN 0-8018-8221-4.
- ↑ 4.0 4.1 Cox, S.; Dao, N.T.; Johns, A.G.; Seward, K. (2004). Hardcastle, J. (บ.ก.). Proceedings of the "Rediscovering the saola – a status review and conservation planning workshop", Pu Mat National Park, Con Cuong District, Nghe An Province Vietnam, 27-28 February 2004 (PDF) (Report). Hanoi, Vietnam: WWF Indochina Programme, SFNC Project, Pu Mat National Park. pp. 1–115.
- ↑ 5.0 5.1 ""ม้ายูนิคอร์น" แห่งเวียดนามกลับมาให้เห็นอีกครั้งหลังจากหายหน้า 15 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. November 16, 2013. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Saola still a mystery 20 years after its spectacular debut". World Wildlife Fund. 21 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2016.
- ↑ Hassanin, A.; Douzery, E. J. P. (1999). "Evolutionary affinities of the enigmatic saola (Pseudoryx nghetinhensis) in the context of the molecular phylogeny of Bovidae". Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 266 (1422): 893–900. doi:10.1098/rspb.1999.0720.
- ↑ 8.0 8.1 กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. ISBN 974-87081-5-2
- ↑ "Công bố và trao giải cuộc thi sáng tác biểu trưng, biểu tượng vui SEA Games 31 và ASEAN Para Games 11 năm 2021, tại Việt Nam". Vietnam Sports Administration (ภาษาเวียดนาม). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 20 November 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Saola Foundation
- savethesaola.org, Saola Working Group Website
- Rare antelope-like mammal caught in Asia at BBC News
- Images and movies of the saola (Pseudoryx nghetinhensis) at ARKive
- Saola factsheet at Ultimate Ungulate
- Vu Quang Ox - Pseudoryx nghetinhensis from the United Nations Environment Programme World Conservation Monitoring Centre
- Saola Conservation in Central Vietnam—Center for Biodiversity and Conservation, American Museum of Natural History