ประเทศจิบูตี
สาธารณรัฐจิบูตี
| |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | จิบูตี 11°36′N 43°10′E / 11.600°N 43.167°E |
ภาษาราชการ | |
ภาษาประจำชาติ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ | |
ศาสนา | 94% อิสลาม (ทางการ) 6% คริสต์ |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี ภายใต้ระบอบเผด็จการสืบตระกูล[2][3] |
อิสมาอีล อูมาร์ เกลเล | |
อับดุลกอดิร กะมีล มุฮัมมัด | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
สถาปนา | |
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1883 | |
5 กรกฎาคม 1967 | |
• เอกราชจากฝรั่งเศส | 27 มิถุนายน 1977 |
20 กันยายน ค.ศ. 1977 | |
4 กันยายน 1992 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 23,200[1] ตารางกิโลเมตร (8,958 ตารางไมล์)[1] (อันดับที่ 146) |
0.09 (20 ตร.กม./ 7.7 ตร. ไมล์) | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2023 ประมาณ | 976,143[4] (อันดับที่ 162) |
37.2 ต่อตารางกิโลเมตร (96.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 168) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 6.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 167) |
• ต่อหัว | 6,514 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 137) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 172) |
• ต่อหัว | 3,666 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 126) |
จีนี (ค.ศ. 2017) | 41.6[6] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021) | 0.509[7] ต่ำ · อันดับที่ 171 |
สกุลเงิน | ฟรังก์จิบูตี (DJF) |
เขตเวลา | UTC+3 (EAT) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +253 |
โดเมนบนสุด | .dj |
จิบูตี (ฝรั่งเศส: Djibouti; อาหรับ: جيبوتي; โซมาลี: Jabuuti; อาฟาร์: Yibuuti) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจิบูตี (ฝรั่งเศส: République de Djibouti; อาหรับ: جمهورية جيبوتي; โซมาลี: Jamhuuriyadda Jabuuti; อาฟาร์: Gabuutih Ummuuno) เป็นประเทศในจะงอยแอฟริกาที่มีชายแดนทางใต้ติดกับประเทศโซมาเลีย[a] ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศเอธิโอเปีย ทางเหนือติดกับประเทศเอริเทรีย และทางตะวันออกติดกับทะเลแดงและอ่าวเอเดน ประเทศนี้มีพื้นที่ 23,200 ตารางกิโลเมตร (8,958 ตารางไมล์)[1]
ในสมัยโบราณ ดินแดนนี้กับเอธิโอเปีย เอริเทรีย และโซมาลีแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนพุนต์ ส่วนบริเวณใกล้กับซัยลาอ์ (ปัจจุบันอยู่ในโซมาลีแลนด์) เคยเป็นศูนย์กลางของรัฐสุลต่านอาดัลและรัฐสุลต่านอีฟัต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการจัดตั้งอาณานิคมเฟรนช์โซมาลีแลนด์หลังสุลต่านเผ่าพงศ์ดีร์แห่งชาวโซมาลีลงนามสนธิสัญญากับฝรั่งเศส[10][11][12] และรางรถไฟไปยังดีเรดาวา (และอาดดิสอาบาบาในเวลาต่อมา) ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นเมืองท่าสำหรับเอธิโอเปียตอนใต้และโอกาเดนแทนที่ซัยลาอ์อย่างรวดเร็ว[13] จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นดินแดนอาฟาร์และอีเซของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1967 ทศวรรษต่อมา ชาวจิบูตีลงคะแนนเสียงให้เป็นเอกราช นั่นเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ สาธารณรัฐจิบูตี ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อเมืองหลวง รัฐใหม่นี้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปีแรกที่ได้รับเอกราช[14][15] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ความตึงเครียดในการเป็นตัวแทนของรัฐบาลนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่สิ้นสุดด้วยข้อตกลงแบ่งอำนาจใน ค.ศ. 2000 ระหว่างพรรครัฐบาลกับฝ่ายค้าน[1]
ชื่อและศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อประเทศตั้งชื่อตามนครจิบูตี เมืองหลวงของประเทศ ศัพทมูลวิทยาของชื่อ จิบูตี ยังเป็นที่ขัดแย้ง โดยมีทฤษฎีและตำนานเกี่ยวกับที่มาของชื่อแตกต่างไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ ทฤษฎีหนึ่งระบุว่ามาจากคำในภาษาอาฟาร์ว่า gabouti หมายถึง "แผ่น" น่าจะสื่อถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่[16] ส่วนอีกทฤษฎีเชื่อมโยงกับคำว่า gabood แปลว่า "ที่สูง/ที่ราบสูง"[17] จิบูตี ยังอาจหมายถึง "ดินแดนของเจฮูตี" หรือ "ดินแดนของโทต" (อียิปต์: Djehuti/ Djehuty) เทพแห่งดวงจันทร์ของศาสนาอียิปต์โบราณ[18][19]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เดิมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในช่วง พ.ศ. 2405-2443 ทั้งโซมาเลียและเอธิโอเปียต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือจิบูตี การสู้รบของกลุ่มชนเชื้อสายเอธิโอเปียกับโซมาเลียมีมาอย่างต่อเนื่องจนจิบูตีได้รับเอกราชเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ปัจจุบันยังมีกองทหารฝรั่งเศสอยู่ในจิบูตี
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% p.a. |
---|---|---|
1950 | 62,001 | — |
1955 | 69,589 | +2.34% |
1960 | 83,636 | +3.75% |
1965 | 114,963 | +6.57% |
1970 | 159,659 | +6.79% |
1977 | 277,750 | +8.23% |
1980 | 358,960 | +8.93% |
1985 | 425,613 | +3.47% |
1990 | 590,398 | +6.76% |
1995 | 630,388 | +1.32% |
2000 | 717,584 | +2.62% |
2005 | 784,256 | +1.79% |
2010 | 850,146 | +1.63% |
2015 | 869,099 | +0.44% |
2018 | 884,017 | +0.57% |
ข้อมูล: World Bank[20] |
จิบูตีมีประชากรประมาณ 921,804 คน.[21] โดยเป็นประเทศที่มีหลายชาติพันธุ์ ประชากรพื้นเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากประมาณ 69,589 คนใน ค.ศ. 1955 ไปเป็นประมาณ 869,099 คนใน ค.ศ. 2015 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุด 2 กลุ่มในจิบูตีคือชาวโซมาลี (60%) และชาวอาฟาร์ (35%)[1] ส่วนอีก 5% โดยหลักประกอบด้วยชาวอาหรับเยเมน ชาวเอธิโอเปีย และชาวยุโรป (ชาวฝรั่งเศสและอิตาลี) พลเมืองประมาณ 76% อาศัยอยู่ในเมือง ส่วนที่เหลือเป็นชนร่อนเร่[1]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ชายแดนจิบูตี–โซมาเลียในทางนิตินัยควบคุมโดยสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลียที่นานาชาติให้การรับรอง แต่ในทางพฤตินัยอยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ที่ไม่ได้รับการรับรอง[8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Djibouti". The World Factbook. CIA. 5 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ "Democracy Index 2020". Economist Intelligence Unit (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
- ↑ "The world's enduring dictators". CBS News. May 16, 2011.
- ↑ "Djibouti". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 22 June 2023.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, October 2022". IMF.org. International Monetary Fund. October 2022. สืบค้นเมื่อ October 11, 2022.
- ↑ "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. September 8, 2022. สืบค้นเมื่อ September 8, 2022.
- ↑ Mylonas, Harris. "De Facto States Unbound – PONARS Eurasia". PONARS Eurasia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
- ↑ Ker-Lindsay, James (2012). The foreign policy of counter secession: preventing the recognition of contested states (1st ed.). Oxford University Press. pp. 58–59. ISBN 978-0-19-161197-1. OCLC 811620848.
- ↑ Raph Uwechue, Africa year book and who's who, (Africa Journal Ltd.: 1977), p. 209 ISBN 0903274051.
- ↑ Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 25 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 383.
- ↑ A Political Chronology of Africa, (Taylor & Francis: 2001), p. 132 ISBN 1857431162.
- ↑ Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 28 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 950.
- ↑ "Today in Djibouti History". Historyorb.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2011.
- ↑ "United Nations member states". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2011.
- ↑ Everett-Heath, John (22 พฤษภาคม 2014). "Djibouti". The Concise Dictionary of World Place-Names (3 ed.). Oxford Reference. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-175139-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2019.
- ↑ Boujrada, Zineb (2 มีนาคม 2018). "How Djibouti Got Its Unique Name". The Culture Trip. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2019.
- ↑ "Countries Of The World That Are Named After Legendary Figures". Worldatlas. 7 August 2018.
- ↑ N.Y.), Metropolitan Museum of Art (New York (2008). Beyond Babylon: Art, Trade, and Diplomacy in the Second Millennium B.C. (ภาษาอังกฤษ). Metropolitan Museum of Art. p. 361. ISBN 978-1-58839-295-4.
- ↑ "Djibouti Population". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2015.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
ข้อมูล
[แก้]- บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก "2016 edition"
- Ebsworth, W. A. (1953). "Jibouti and Madagascar in the 1939–45 War". Journal of the Royal United Service Institution. 98 (592): 564–68. doi:10.1080/03071845309422199.
- Imbert-Vier, Simon (2008). Frontières et limites à Djibouti durant la période coloniale (1884–1977) (PhD thesis). Université de Provence–Aix-Marseille I.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาล
- "Site Officiel de la République de Djibouti" [เว็บไซต์ทางการของสาธารณรัฐจิบูตี] (ภาษาฝรั่งเศส). Government of Djibouti.
- "Office National de Tourisme de Djibouti". National Official of Tourism of Djibouti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 February 2013.
- ข้อมูล
- Djibouti. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Djibouti profile จาก BBC News.
- ประเทศจิบูตี แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศจิบูตี ที่เว็บไซต์ Curlie
- อื่น ๆ