ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่น ๆ ที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร"[1]

นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละตินimperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร

เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่น จักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวม ๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน พ.ศ. โดยการรุกรานและผนวกนิวเบียและรัฐอิสระโบราณชื่อเลแวนต์ (Levant) จักรวรรดิแอคคาเดียนแห่งซาร์กอนแห่งแอคแคดมีตัวตนอยู่ในฐานะเป็นรูปแบบแรกสุดของจักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ที่ห่างไกล จักรวรรดิมีความแตกต่างโดยชัดเจนจากการเป็นสหพันธรัฐซึ่งมีความผูกพันทางการปกครองแต่มีอำนาจที่เป็นอัตตาณัติ (autonomy) ที่มากพอควรที่รัฐบาลกลางล่วงละเมิดมิได้ ในอีกแง่มุมหนึ่งอาจกล่าวเปรียบเทียบจักรวรรดิทางกายภาพได้ว่าเป็นการครอบงำด้วยอิทธิพลที่มิใช่การทหารโดยตรง แต่เป็นการตกอยู่ในเขตอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมที่เป็นไปในทางเดียวกัน มองที่อีกด้านของเหรียญเดียวกันนี้ก็อาจเห็นได้อีกมุมมองหนึ่งได้ว่าเป็นการใช้ยุทธวิธีแบ่งแยกแล้วปกครอง โดยกลุ่มชนที่ต่างเชื้อชาติและวัฒนธรรม (“ศัตรูของศัตรูของเราก็คือเพื่อนของเรา”) โดยเข้าไปแทรกแซงระหว่างกลางเพื่อประโยชน์สูงสุดของจักรวรรดิ

การเปรียบเทียบอีกแบบหนึ่งได้แก่แนวคิด “มหาอำนาจ” และ “อภิมหาอำนาจ” ซึ่งได้ปรากฏตัวอย่างที่เป็นที่ประจักษ์มาแล้วคือจักรวรรดิบริติชที่นับเป็นอภิมหาอำนาจได้ ในช่วงที่รุ่งเรืองจักรวรรดิอังกฤษใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกโดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่มากกว่าหนึ่งในสี่ของพื้นที่ที่เป็นแผ่นดินของโลก มีอำนาจครอบงำทางการเมือง เศรษฐกิจ การเงินและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงเวลานั้นไปเกือบทั้งโลก

รายชื่อจักรวรรดิ

[แก้]

จักรวรรดิโบราณ

[แก้]
จักรวรรดิยุคแรก
สมัยคลาสสิก

คริสตสหัสวรรษที่ 1

[แก้]

คริสต์ศตวรรษที่ 11-15

[แก้]
สมัยหลังคลาสสิก

คริสต์ศตวรรษที่ 16-ปฏิวัติอุตสาหกรรม

[แก้]

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม-ปัจจุบัน

[แก้]
สมัยใหม่

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Webster's Encyclopedic Unabridged Dictionary of the English Language, Portland House, New York, 1989, p. 468.