จริตนิยม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จริตนิยม[1] (อังกฤษ: Mannerism) คือยุคของศิลปะของจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และการตกแต่ง ที่เริ่มตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยทึ่รุ่งเรืองที่สุดราวปี ค.ศ. 1520 จนกระทั่งจดสมัยบาโรก ราวปี ค.ศ. 1600
ลักษณะของจริตนิยมขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลซึ่งมีอิทธิพลจากหรือมีปฏิกิริยาต่อความกลมกลืนทางอุดมคติที่เกี่ยวข้องกับงานของเลโอนาร์โด ดา วินชี ราฟาเอล และงานสมัยแรก ๆ ของมีเกลันเจโล จริตนิยมเป็นทั้งศิลปะทางความคิดและความสร้างสรรค์แทนที่จะเป็นธรรมชาติ คำว่าจริตนิยมใช้สำหรับจิตรกรกอธิคสมัยหลังที่ทำงานทางตอนเหนือของยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1500 ถึงปี ค.ศ. 1530 โดยเฉพาะในบริเวณแอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน และงานวรรณกรรมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเฉพาะโคลงกลอน
ที่มา
[แก้]“แมนเนอริสม์” มาจากภาษาอิตาลี “maniera” หรือ “style” ซึ่งตรงกับความหมายที่ว่าเป็นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของศิลปินที่ทำให้ทราบได้ว่าเป็นของใคร แมนเนอริสม์เป็นศิลปะของการ “ทำขึ้น” ซึ่งตรงกันข้ามกับศิลปะเรอเนซองส์ หรือ บาโรคที่เป็นศิลปะที่เลียนแบบธรรมชาติ การบรรยายลักษณะแมนเนอริสม์เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก คำนี้ใช้ครั้งแรกโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวเยอรมันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อจัดกลุ่มศิลปะที่จัดไม่ได้มาก่อนของศิลปะอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ขาดความกลมกลืนและการวาดอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เรารู้จักกันในศิลปะเรอเนซองส์ และเป็นคำที่ใช้จะแตกต่างกันไปตามแต่จะเป็นศิลปินผู้ใดและเป็นลักษณะศิลปะชนิดใด
สมุดภาพ
[แก้]-
“แม่พระและพระกุมารและยอห์นแบปติสต์” โดยจาโกโป ปอนตอร์โม (Jacopo Pontormo) พิพิธภัณฑ์เฮอร์มืทาจ, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
-
“ชะลอร่างจากกางเขน” โดยรอสโซ ฟีโอเรนตีโน (Fiorentino) ที่โวลเทอรา ประเทศอิตาลี
-
“แม่พระและพระกุมาร” โดยจูลีโอ โรมาโน (Giulio Romano) โรม
-
“ภาพเหมือนของลูเกรเซีย ปันชีอาตีกี” (Lucrezia Panciatichi) โดยอันเจโล บรอนซีโน (Angelo Bronzino) ค.ศ. 1540 พิพิธภัณฑ์อุฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี
-
ตึกเทศบาลเมือง Zamość ในประเทศโปแลนด์ โดยแบร์นาร์โด โมรันโด (Bernardo Morando)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์ศิลปะ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-01-17.