ข่าวปลอม
ข่าวปลอม[1] หรือ ข่าวลวง[1] เป็นการหนังสือพิมพ์เหลือง (yellow journalism) หรือการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งประกอบด้วยสารสนเทศผิดหรือเรื่องหลอกลวงอย่างจงใจ ไม่ว่าจะเผยแพร่ผ่านสื่อข่าวตีพิมพ์ การแพร่สัญญาณตามปกติ หรือสื่อสังคมออนไลน์[2][3] ข่าวปลอมมักถูกเขียนและพิมพ์เผยแพร่ โดยมีความประสงค์เพื่อชักนำบุคคลในทางที่ผิด เพื่อสร้างความเสียหายต่อหน่วยงาน นิติบุคคลหรือบุคคล หรือเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงินหรือเพื่อชักจูงการเมือง[4][5][6] ผู้สร้างข่าวปลอมมักใช้ข้อความพาดหัวในลักษณะเร้าอารมณ์ หลอกลวง หรือกุขึ้นทั้งหมดเพื่อเพิ่มยอดผู้อ่าน การแบ่งปันออนไลน์ และรายได้จากคลิกอินเทอร์เน็ต ซึ่งในกรณีหลัง คล้ายกับพาดหัว "คลิกเบต" ออนไลน์เร้าอารมณ์และอาศัยรายได้จากการโฆษณาจากกิจกรรมนี้ โดยไม่สนใจว่าเรื่องที่พิมพ์นั้นจะถูกต้องหรือไม่ นอกจากเหตุผลทางเศรษฐกิจแล้ว การสร้างและเผยแพร่ข่าวปลอมอาจมีการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบเพื่อหวังผลทางการเมือง และใช้เทคนิคบิดเบือนหรือการชักจูงทางจิตวิทยา เช่น การ "แกสไลต์" หรือการสร้างทฤษฎีสมคบคิด เพื่อให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความสับสน หรือตั้งคำถามกับข้อเท็จจริงหรือข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ ข่าวปลอมที่จงใจชักจูงในทางที่ผิด (manipulative) และหลอกลวงแตกต่างจากการเสียดสีหรือการล้อชัดเจน ซึ่งตั้งใจสร้างความตลกขบขันไม่ใช่ชักจูงผู้ชมให้เข้าใจผิด
ข่าวปลอมมีความใกล้ตัวมากขึ้นในการเมืองภายหลังความจริง (post-truth politics) สำหรับผู้ประกอบกิจการสื่อที่ขาดจริยธรรม ความสามารถในการดึงดูดผู้ชมเข้าเว็บไซต์ มีความจำเป็นต่อการสร้างรายได้การโฆษณาออนไลน์โดยรวม จึงมีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่จะเผยแพร่เนื้อหาหลอกลวงที่สามารถดึงดูดผู้ใช้ ปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของข่าวปลอม เช่น การผลิตเนื้อหาเพื่อเรียกบริษัทโฆษณาและเรตติง การเข้าถึงรายได้โฆษณาออนไลน์อย่างง่าย แนวโน้มที่สูงขึ้นของการแบ่งแยกทางการเมือง และความนิยมของเครือข่ายสื่อสังคม[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟีดข่าวเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ล้วนมีส่วนในการแพร่ระบาดของข่าวปลอม[4][7] ซึ่งมาแข่งขันกับเรื่องข่าวที่ถูกต้อง ตัวการรัฐบาลของศัตรูก็เข้ามาเกี่ยวข้องในการสร้างและโฆษณาข่าวปลอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการเลือกตั้ง[8] อย่างเช่น การแทรกแทรงของกลุ่มแฮ็กเกอร์สัญชาติรัสเซีย ในการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐอเมริกาในปี 2016
ข่าวปลอมยังบั่นทอนการทำข่าวของสื่อจริงจังและทำให้นักหนังสือพิมพ์เขียนข่าวสำคัญได้ยากขึ้น[9] บัซฟีดวิเคราะห์พบว่าเรื่องข่าวปลอมสูงสุด 20 อันดับเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559 ได้รับผู้ชมบนเฟซบุ๊กมากกว่าเรื่องข่าวสูงสุด 20 อันดับเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อใหญ่อีก 19 แห่ง[10] เว็บไซต์ข่าวปลอมที่บุคคลนิรนามเป็นเจ้าของซึ่งขาดผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เท่าที่ทราบถูกวิจารณ์ เพราะทำให้การดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาททำได้ยาก[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2563, หน้า 45.
- ↑ 2.0 2.1 "It's the (Democracy-Poisoning) Golden Age of Free Speech".
- ↑ Leonhardt, David; Thompson, Stuart A. (June 23, 2017). "Trump's Lies". New York Times. สืบค้นเมื่อ June 23, 2017.
- ↑ 4.0 4.1 Hunt, Elle (December 17, 2016). "What is fake news? How to spot it and what you can do to stop it". The Guardian. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.
- ↑ Schlesinger, Robert (April 14, 2017). "Fake News in Reality". U.S. News & World Report.
- ↑ "The Real Story of 'Fake News': The term seems to have emerged around the end of the 19th century". Merriam-Webster. Retrieved October 13, 2017.
- ↑ Woolf, Nicky (November 11, 2016). "How to solve Facebook's fake news problem: experts pitch their ideas". The Guardian. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.
- ↑ "Fake news busters". POLITICO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 14, 2017. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.
- ↑ Carlos Merlo (2017), "Millonario negocio FAKE NEWS", Univision Noticias
- ↑ Chang, Juju; Lefferman, Jake; Pedersen, Claire; Martz, Geoff (November 29, 2016). "When Fake News Stories Make Real News Headlines". Nightline. ABC News.
- ↑ Callan, Paul. "Sue over fake news? Not so fast". CNN. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.