ข้ามไปเนื้อหา

โรคจอตามีสารสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Retinitis pigmentosa)
โรคจอตามีสารสี
(Retinitis pigmentosa)
ด้านหลัง/ก้นตา (Fundus) ของคนไข้โรคอาร์พีระยะกลาง (mid stage) ให้สังเกตสารสี/รอยเปรอะสีดำ (bony spicule) ที่ส่วนรอบ ๆ ตรงกลางที่เกิดกับการเสื่อมของจอตา (retinal atrophy) แม้จุดภาพชัด (macula) จะคงสภาพอยู่แต่ส่วนรอบ ๆ ก็ซีดไป เส้นเลือดในจอตาก็ลีบลงด้วย
สาขาวิชาจักษุวิทยา
อาการเห็นไม่ดีต่อกลางคืน เห็นรอบนอก (peripheral vision) ได้แย่ลง[1]
การตั้งต้นตั้งแต่เด็ก[1]
สาเหตุกรรมพันธุ์[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจตา[1]
การรักษาอุปกรณ์ช่วยคนที่เห็นได้น้อย ไฟส่องที่พกพาได้ สุนัขนำทาง[1]
ยาVitamin A palmitate[1]
ความชุก1 คนใน 4,000 คน[1]

โรคจอตามีสารสี[2] หรือ โรคอาร์พี[3] (อังกฤษ: Retinitis pigmentosa ตัวย่อ RP) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมทางตาที่ทำให้เสียสายตา[1] อาการรวมทั้งตาฟางกลางคืน (nyctalopia) และการเสียการเห็นรอบนอก (peripheral vision) คือเห็นข้าง ๆ หรือรอบ ๆ ได้น้อยลง[1] อาการปกติจะค่อย ๆ ปรากฏ[4] เมื่อเห็นรอบนอกได้แย่ลง บางคนอาจลานสายตาแคบลงเหมือนมองผ่านอุโมงค์ (tunnel vision)[1] แต่ตาบอดสนิทจะไม่สามัญ[4]

โรคปกติจะสืบทอดมาจากพ่อแม่[1] โดยมีการกลายพันธุ์ของยีนหนึ่ง ๆ ในบรรดา 50 ยีนที่ได้ระบุแล้วเป็นอย่างน้อย[1] วิถีการดำเนินของโรครวมการค่อย ๆ เสียเซลล์รับแสงรูปแท่งที่ด้านหลังของตา[1] แล้วปกติจะตามด้วยการเสียเซลล์รูปกรวยต่อมา[1] การวินิจฉัยจะทำเมื่อตรวจจอตาแล้วพบสารสี/รอยเปรอะดำ[1] วิธีการตรวจยืนยันอื่น ๆ รวมทั้ง electroretinography, การตรวจลานสายตา และการตรวจยีน[1]

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้[4] วิธีช่วยบรรเทาปัญหาในชีวิตรวมทั้งอุปกรณ์ช่วยการมองเห็น (เช่น แว่นขยาย) ไฟส่องที่พกพาได้ (เช่น ไฟฉาย) และสุนัขนำทาง[1] อาหารเสริมคือ vitamin A palmitate อาจช่วยให้สายตาแย่ช้าลง[1] ตาเทียม (visual prosthesis) อาจเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับคนที่มีโรครุนแรงมาก[1] ประเมินว่าคน 1 คนใน 4,000 คนมีโรค[1] โรคจะเริ่มตั้งแต่วัยเด็กแต่บางคนอาจไม่ได้รับผลกระทบจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่[1][4]

ผลของโรคเห็นได้ง่ายถ้าเปรียบเทียบกับทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ คือ แสงจากพิกเซลที่สร้างภาพบนจอเหมือนกับเซลล์รับแสงเป็นล้าน ๆ ตัวในจอตา ยิ่งมีพิกเซลน้อยลงเท่าไร ภาพที่เห็นก็ชัดน้อยลงเท่านั้น มีเซลล์รับแสงจำนวนน้อยกว่า 10% ที่สามารถรับภาพสี โดยเป็นแสงสว่างดังที่มีในช่วงกลางวัน เซลล์เหล่านี้อยู่ตรงกลางของจอตา เซลล์รับแสงกว่า 90% ที่เหลือสามารถรับแสงสลัวเป็นภาพขาวดำ ซึ่งใช้ในที่สลัวและในตอนกลางคืน เป็นเซลล์ซึ่งอยู่รอบ ๆ จอตา โรคทำลายเซลล์รับแสงจากนอกเข้ามาส่วนตรงกลาง หรือจากส่วนตรงกลางออกไปส่วนนอก หรือทำลายเป็นย่อม ๆ ที่ทำให้เซลล์ส่วนตรงนั้นมีประสิทธิภาพตรวจจับแสงได้น้อยลง ความเสื่อมจากโรคนี้จะลุกลามโดยยังไม่มีวิธีรักษา

อาการ

[แก้]
ตัวอย่างลานสายตาที่แคบลงเหมือนมองผ่านอุโมงค์ (tunnel vision) ภาพล่าง

อาร์พีเป็นโรคที่เกิดอาการเพราะเสียเซลล์รับแสงอันบุอยู่ที่ด้านหลังของดวงตาและทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป โดยปกติแล้ว เซลล์รูปแท่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นเวลากลางคืน มักจะเสียหายก่อน ซึ่งอธิบายว่า ทำไมความมีตาบอดแสง (nyctalopia) จึงเป็นอาการที่ปรากฏขึ้นก่อน การเห็นเวลากลางวันซึ่งอำนวยโดยเซลล์รูปกรวยจะคงสภาพจนถึงระยะหลัง ๆ ของโรค ความเปรอะเปื้อนของ retinal pigment epithelium ด้วยสีดำ ๆ (เหมือนกระดูกและเข็ม) เป็นอาการทั่ว ๆ ไปของโรค ลักษณะที่เห็นได้ในตาอย่างอื่นคือจานประสาทตา (optic disc) ปรากฏเป็นสีเหลืองซีด และเส้นเลือดเกิดตีบแคบ

อาการเสื่อมของจอตาเบื้องต้นก็คือตาฟางกลางคืน (nyctalopia) และการเสียการเห็นที่ลานสายตารอบนอกถัดเข้ามา (mid-peripheral visual field)[5] เซลล์รับแสงรูปแท่ง ซึ่งทำหน้าที่ในแสงสลัวและมีอยู่โดยมากที่รอบ ๆ จอตา เป็นส่วนที่ได้รับผลก่อนเพื่อนในโรคแบบที่ไม่เกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ (non-syndromic)[6] ตาจะแย่ลงค่อนข้างเร็วโดยขยายไปถึงลานสายตารอบนอกสุด แล้วในที่สุดก็จะเข้ามาถึงส่วนตรงกลางทำให้เห็นเหมือนผ่านอุโมงค์มากขึ้น ความคมชัดและการเห็นเป็นสีอาจแย่ลงเพราะความผิดปกติของเซลล์รูปกรวย ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นเป็นสี ความคมชัด และการเห็นส่วนตรงกลาง[6] โรคอาจจะดำเนินไปอย่างเท่า ๆ กันทั้งสองข้าง คือตาซ้ายและขวาจะเกิดอาการคล้ายกัน[7] นอกจากผลโดยตรงที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์รูปแท่งและต่อมาเซลล์รูปกรวย ก็ยังมีผลโดยอ้อมอื่น ๆ ซึ่งปรากฏเป็นอาการของโรค ปรากฏการณ์เช่น อาการกลัวแสง (photophobia) คือมองเห็นแสงธรรมดาเป็นแสงจ้ามาก และ photopsia คือมองเห็นแสงกระพริบหรือแสงวาบ (เช่นเหมือนฟ้าแลบ) ภายในลานสายตา บ่อยครั้งจะเกิดในระยะหลัง ๆ ของโรค มีอาการ 3 อย่างที่ก้นตา (fundus) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่า ophthalamic triad คือ[5][8][9]

  1. ชั้น retinal pigment epithelium (RPE) ของจอตาจะปรากฏเป็นรอยเปรอะดำเพราะเกิด bony spicule
  2. จานประสาทตา (optic disc) ปรากฏเป็นสีเหลืองซีดคล้าย ๆ ขี้ผึ้ง
  3. หลอดเลือดในจอตาจะลีบลงลง

โรคที่ไม่เกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ (Nonsyndromic RP) ปกติจะมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ตาฟางกลางคืน (nyctalopia)
  • ลานสายตาแคบลงเหมือนมองผ่านอุโมงค์/การไม่เห็นรอบนอก (tunnel vision)
  • Latticework vision
  • photopsia คือมองเห็นแสงกระพริบหรือแสงวาบ (เช่น เหมือนฟ้าแลบ) ภายในลานสายตา
  • อาการกลัวแสง (photophobia) คือมองเห็นแสงธรรมดาเป็นแสงจ้ามาก
  • การเกิดรอยเปรอะดำคือ bony spicule (การสะสมสารสีเป็นรูปโครงมีปลายเหมือนเข็ม) ที่ก้นตา
  • การปรับตัวจากที่มืดเป็นที่สว่าง และนัยตรงกันข้ามได้ช้า
  • การเห็นมัว
  • แยกสีได้ไม่ดี
  • การเสียการเห็นตรงกลาง
  • ในที่สุดจะจัดว่าบอด

เหตุ

[แก้]

โรคอาจจะเป็น

  1. Nonsyndromic คือเกิดโดยลำพังโดยไม่พบอาการอื่น ๆ
  2. Syndromic คือพบกับความผิดปกติของการรับความรู้สึกทางประสาทอื่น ๆ, กับความผิดปกติทางพัฒนาการ หรือกับอาการที่ซับซ้อนอื่น ๆ
  3. เกิดเป็นอาการทุติยภูมิ (secondary) ของโรคทั่วร่างกายอื่น ๆ[10]

อนึ่ง

  • อาร์พีเมื่อเกิดกับหูหนวก (ไม่ว่าจะแต่กำเนิดหรือค่อย ๆ เป็น) เรียกว่า Usher syndrome[11]
  • กลุ่มอาการอัลพอร์ตที่สัมพันธ์กับอาร์พี เป็นโรคความผิดปกติที่ basement membrane ของ glomerulus ซึ่งทำให้มีอาการไตเสื่อม โรคจะสืบทอดแบบ X-linked dominant
  • อาร์พีเมื่อเกิดกับอัมพาตกล้ามเนื้อตา (ophthalmoplegia), การกลืนลำบาก (dysphagia), ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) และความผิดปกติการนำไฟฟ้าที่หัวใจ จะพบในคนไข้ Kearns-Sayre syndrome หรือ Ragged Red Fiber Myopathy โดยเป็นความผิดปกติทางดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย
  • อาร์พีเมื่อเกิดกับปัญญาอ่อน, โรคเส้นประสาทนอกประสาทกลาง (peripheral neuropathy), acanthotic (spiked) RBCs คือเม็ดเลือดแดงที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ยื่นออกเป็นหนาม, steatorrhea คือภาวะไขมันเกินในอุจจาระ และการขาดลิโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL) จะพบในคนไข้ abetalipoproteinemia ซึ่งเป็นภาวะขัดขวางการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันจากอาหาร[12]
  • ในทางคลินิก อาร์พีเกิดกับความผิดปกติของยีนที่มีน้อยหลายอย่าง รวมทั้งโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (muscular dystrophy) และ chronic granulomatous disease โดยเป็นส่วนของ McLeod syndrome นี่เป็นฟิโนไทป์แบบ X-linked recessive ปรากฏเป็นการขาดโปรตีน XK ที่ผิวเซลล์อย่างสิ้นเชิง และดังนั้น จึงมีการเแสดงออกของแอนติเจนแบบ Kell น้อยมากที่เม็ดเลือดแดง เมื่อต้องถ่ายเลือด คนไข้เหล่านี้จึงมีเลือดที่จัดว่าไม่เข้ากับผู้บริจาคเลือดปกติ และผู้บริจาคเลือด K0/K0 โดยสิ้นเชิง
  • โรคที่สัมพันธ์กับการทำงานน้อยผิดปกติของอัณฑะหรือรังไข่ (hypogonadism) ทำให้พัฒนาการอย่างล่าช้า และสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive) จะพบในคนไข้โรค Bardet-Biedl syndrome เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมเกี่ยวกับซีเลียของเซลล์และมีผลต่อระบบต่าง ๆ หลายอย่างในร่างกาย[13]

ภาวะอื่น ๆ ที่อาจมีอาการอาร์พีรวมทั้งซิฟิลิสระบบประสาท (neurosyphilis), โรคติดเชื้อท็อกโซพลาสมา (toxoplasmosis) และโรคติดเชื้ออะแคนตามีบา (Refsum's disease)

พันธุศาสตร์

[แก้]

โรคอาร์พีเป็นโรคจอตาเสื่อมอันสืบทอดทางพันธุกรรมซึ่งสามัญที่สุด[7] และปรากฏเป็นความสูญเสียเซลล์รับแสงที่ลุกลาม และอาจจะทำให้ตาบอดได้โดยที่สุด[14]

มียีนหลายยีนที่เมื่อกลายพันธุ์ อาจเป็นเหตุของโรค[15] รูปแบบการสืบทอดทางพันธุกรรมของโรครวมทั้งทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant), ทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive), X-linked, สืบจากแม่ (โดยไมโทคอนเดรีย) โดยจะขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์ของยีนอาร์พีที่มีในพ่อแม่[16]

ในปี 1989 นักวิจัยได้พบการกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซิน (rhodopsin) ซึ่งเป็นสารสี (pigment) ที่จำเป็นในการถ่ายโอนแสงที่รับทางตาให้เป็นกระแสประสาท (visual transduction cascade) เพื่อให้เห็นในที่สลัว ยีนนี้เข้ารหัสโปรตีนหลักชนิดหนึ่งที่ส่วนนอก (outer segment) ของเซลล์รับแสง การกลายพันธุ์ของยีนที่สามัญที่สุดเป็น missense mutation[A] หรือการพับตัวผิดปกติ (misfolding) ของโปรตีนโรด็อปซิน และปกติจะสืบทอดทางพันธุกรรมในรูปแบบทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant) ตั้งแต่ได้ค้นพบยีนนี้ (มีสัญลักษณ์ RHO) ก็ได้ค้นพบการกลายพันธุ์ของยีนถึง 100 รูปแบบ ซึ่งเป็นเหตุของจอตาเสื่อม (retinal degeneration) รูปแบบต่าง ๆ ถึง 15% และเป็นเหตุของอาร์พีที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นถึง 25%[7][17]

ในปี 1990 มีการค้นพบการกลายพันธุ์ Pro23His ของยีนอ็อปซิน (opsin) เบสเดียวที่ intradiscal domain ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอาร์พี และจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ได้มีการระบุการกลายพันธุ์ของยีนกว่า 150 อย่าง การกลายพันธุ์เหล่านี้พบทั่วยีนอ็อปซินโดยกระจายไปตามโดเมน 3 โดเมนของโปรตีน คือ intradiscal domain, transmembrane domain และ cytoplasmic domain เหตุทางชีวเคมีของโรคในกรณีที่ยีนโรด็อปซินกลายพันธุ์ก็คือการพับตัวผิดปกติของโปรตีน (protein misfolding) และการขัดการทำงานของ molecular chaperones ซึ่งช่วยในการพับโปรตีน[B][18]

งานต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ต่อ ๆ มาพบว่า การกลายพันธุ์ที่โคดอน (codon) 23 ในยีนโรด็อปซิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโปรลีน (proline) เป็นฮิสตาดีน (histidine) เป็นการกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซินซึ่งเกิดบ่อยที่สุดในสหรัฐ งานวิจัยอื่น ๆ ได้รายงานการกลายพันธุ์ที่โคดอนอื่น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอาร์พีรวมทั้ง Thr58Arg, Pro347Leu, Pro347Ser บวกกกับการหลุดหาย (deletion) ของยีน Ile-255[17][19][20][21][22]

ในปี 2000 การกลายพันธุ์ที่มีน้อยของโคดอน 23 ได้ระบุว่าก่อโรคโดยสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะเด่น และโปรลีนจะเปลี่ยนเป็นอะลานีน (alanine) แต่งานศึกษานี้ก็ได้แสดงว่า ความเสื่อมจอตาที่สัมพันธ์กับกลายพันธุ์นี้ค่อนข้างเบาทั้งโดยอาการและการลุกลาม อนึ่ง แอมพลิจูดที่วัดโดย electroretinography จะดีกว่าที่พบในการกลายพันธุ์ Pro23His ที่มีมากกว่า[23]

การสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะด้อยของโรคได้ระบุแล้วในยีนอย่างน้อย 45 ยีน[16] การสืบทอดเช่นนี้หมายความว่า พ่อแม่ที่เป็นพาหะของยีนกลายพันธุ์ที่ก่อโรคโดยมีสองอัลลีล (diallelic) อาจมีลูกที่เกิดโรค

ส่วนการกลายพันธุ์ของยีนแบบ USH2A รู้ว่าเป็นเหตุของโรคแบบเกิดกับอาการอื่น (syndromic) ที่รู้จักว่า Usher's Syndrome โดยจะสืบทอดแบบทายกรรมลักษณะด้อย[24]

การกลายพันธุ์ของ pre-mRNA splicing factors ถึง 4 แบบรู้แล้วว่าเป็นเหตุของโรคที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่น การกลายพันธุ์รวมทั้ง PRPF3 (PRPF3 ของมนุษย์ก็คือ HPRPF3 หรือ PRP3), PRPF8, PRPF31 และ PAP1 เพราะแฟกเตอร์มีการแสดงออกอย่างแพร่หลาย จึงเสนอว่าความบกพร่องของแฟกเตอร์ที่แพร่หลาย (คือโปรตีนที่แสดงออกทุกหนทุกแห่ง) เช่นนี้แต่เป็นเหตุของโรคภายในจอตาเท่านั้น เพราะโรด็อปซินในเซลล์รับแสงจำเป็นต้องอาศัยฤทธิ์ของแฟกเตอร์มากกว่าที่อื่น ๆ[25]

การกลายพันธุ์ของยีน 6 ยีนก่อโรคที่สืบทอดแบบ X-linked โดยที่สามัญสุดจะเกิดที่ตำแหน่ง (loci) โดยเฉพาะ ๆ ของยีน RPGR และ RP2[24]

รูปแบบของอาร์พีรวมทั้ง

OMIM ยีน รูปแบบ
180100 RP1 Retinitis pigmentosa-1
312600 RP2 Retinitis pigmentosa-2
300029 RPGR Retinitis pigmentosa-3
608133 PRPH2 Retinitis pigmentosa-7
180104 RP9 Retinitis pigmentosa-9
180105 IMPDH1 Retinitis pigmentosa-10
600138 PRPF31 Retinitis pigmentosa-11
600105 CRB1 Retinitis pigmentosa-12, ทายกรรมลักษณะด้อย
600059 PRPF8 Retinitis pigmentosa-13
600132 TULP1 Retinitis pigmentosa-14
600852 CA4 Retinitis pigmentosa-17
601414 HPRPF3 Retinitis pigmentosa-18
601718 ABCA4 Retinitis pigmentosa-19
602772 EYS Retinitis pigmentosa-25
608380 CERKL Retinitis pigmentosa-26
607921 FSCN2 Retinitis pigmentosa-30
609923 TOPORS Retinitis pigmentosa-31
610359 SNRNP200 Retinitis pigmentosa 33
610282 SEMA4A Retinitis pigmentosa-35
610599 PRCD Retinitis pigmentosa-36
611131 NR2E3 Retinitis pigmentosa-37
268000 MERTK Retinitis pigmentosa-38
268000 USH2A Retinitis pigmentosa-39
612095 PROM1 Retinitis pigmentosa-41
612943 KLHL7 Retinitis pigmentosa-42
268000 CNGB1 Retinitis pigmentosa-45
613194 BEST1 Retinitis pigmentosa-50
613464 TTC8 Retinitis pigmentosa 51
613428 C2orf71 Retinitis pigmentosa 54
613575 ARL6 Retinitis pigmentosa 55
613617 ZNF513 Retinitis pigmentosa 58
613861 DHDDS Retinitis pigmentosa 59
613194 BEST1 Retinitis pigmentosa, concentric
608133 PRPH2 Retinitis pigmentosa, digenic
613341 LRAT Retinitis pigmentosa, juvenile
268000 SPATA7 Retinitis pigmentosa, juvenile, ทายกรรมลักษณะด้อย
268000 CRX Retinitis pigmentosa, late-onset dominant
300455 RPGR Retinitis pigmentosa, X-linked, and sinorespiratory infections, อาจจหูหนวกหรือไม่

พยาธิสรีรภาพ

[แก้]
ภาพกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ซึ่งแสดงเซลล์รูปแท่งและรูปกรวย เซลล์รูปแท่งที่ยาวกว่าแสดงเป็นสีเหลืองและส้ม เซลล์รูปกรวยที่สั้นกว่าแสดงเป็นสีแดง

นักวิชาการได้จับคู่การทำงานระดับโมเลกุลที่บกพร่องหลายอย่างกับการกลายพันธุ์ของยีนเกี่ยวกับโรคแล้ว การกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซิน ซึ่งก่อโรคที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นโดยมาก จะขัดการทำงานของโปรตีนอ็อปซินของเซลล์รูปแท่งซึ่งจำเป็นในการแปลข้อมูลแสงให้เป็นกระแสประสาท (phototransduction cascade) ของระบบประสาทกลาง ความผิดปกติในการทำงานของโรด็อปซิน ซึ่งเป็นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (GPCR) จะจัดเป็นหมู่ ๆ (class) ขึ้นอยู่กับการพับตัวผิดปกติของโปรตีนและวิถีการทำงานที่ผิดปกติของโปรตีน

ฤทธิ์ของโปรตีนกลายพันธุ์หมู่หนึ่ง (Class I) จะเสียไปเพราะการกลายพันธุ์ของเบสนิวคลีโอไทด์ 1 เบส (point mutation) ภายในลำดับกรดอะมิโนที่เข้ารหัสโปรตีน และมีผลต่อการขนส่งโปรตีนเข้าไปที่ส่วนนอก (outer segment) ของเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนที่ถ่ายโอนแสงเป็นกระแสประสาท อนึ่ง การพับตัวผิดปกติของโปรตีนกลายพันธุ์หมู่สอง (Class II) จะขัดการประกอบโปรตีนกับ 11-cis-retinal เพื่อสร้างส่วนกำเนิดสี (chromophore) ที่เหมาะสม การกลายพันธุ์อื่น ๆ ในยีนที่เข้ารหัสสารสีนี้จะมีผลต่อเสถียรภาพของโปรตีน, ทำลายบูรณภาพของ mRNA ในระยะ post-translational และมีผลต่ออัตราการก่อกัมมันต์ (activation rate) ของ transducin บวกกับอ็อปซินซึ่งเป็นโปรตีนนำแสง[26]

การทดลองในสัตว์ตัวแบบแสดงว่า เซลล์ชั้น retinal pigment epithelium ของจอตาไม่ทำการฟาโกไซโทซิสต่อจานส่วนนอกของเซลล์รูปแท่ง (outer rod segment disc) ที่หลุดออกแล้ว เป็นการสะสมเศษส่วนนอกที่ละทิ้งแล้วอย่างผิดปกติ ในหนูที่มีการกลายพันธุ์ให้จอตาเสื่อมและสืบทอดแบบ homozygous recessive เซลล์รูปแท่งจะหยุดพัฒนาการแล้วเสื่อมก่อนที่เซลล์จะโตเต็มที่ อนึ่ง ได้พบความบกพร่องของเอนไซม์ cGMP-phosphodiesterase อีกด้วย ซึ่งทำให้ cyclic guanosine monophosphate (cGMP) สะสมในระดับที่เป็นพิษ

การวินิจฉัย

[แก้]

การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำจะอาศัยประวัติความเสียหายที่แย่ลงอย่างต่อเนื่องของเซลล์รับแสง ซึ่งยืนยันด้วยการตรวจสอบต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจลานสายตา (visual field test), การตรวจสายตา (visual acuity test), การถ่ายภาพจอตา, optical coherence imagery และ electroretinography (ERG)[27]

การตรวจลานสายตาและการตรวจสายตาเทียบขนาดลานสายตาและความคมชัดของการเห็นกับค่าวัดของบุคคลที่มีสายตาสมบูรณ์ (20/20 vision) ลักษณะทางคลินิกที่บ่งโรครวมทั้งลานสายตาที่แคบลงและแย่ลง ๆ และสายตาที่มองชัดแย่ลง ๆ[28] อนึ่ง การถ่ายภาพรังสีระนาบ (optical tomography) เช่นภาพ fundus optical coherence และ retinal optical coherence สามารถใช้ช่วยวินิจฉัยโรค การถ่ายภาพจอตาที่ขยายม่านตาแล้วช่วยยืนยันการเกิดรอยเปรอะดำคือ bony spicule ที่ก้นตา ซึ่งจะเกิดในระยะหลัง ๆ ของโรค เมื่อรวมกับภาพส่วนตัดด้วย optical coherence tomography ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับความหนาของเซลล์รับแสง, สัณฐานของชั้นจอตา (retinal layer) และสรีรภาพของ retinal pigment epithelium ภาพถ่ายจอตาก็จะช่วยระบุความเคลื่อนไหวของโรคอาร์พี[29]

แม้การตรวจลานสายตา การตรวจสายตา และภาพจอตาจะสนับสนุนการวินิจฉัยเป็นโรคอาร์พี แต่การทดสอบอื่น ๆ ก็จำเป็นเพื่อยืนยันลักษณะอื่น ๆ ของโรค Electroretinography (ERG) ยืนยันการวินิจฉัยเพราะตรวจสอบการทำงานของสายตาเนื่องกับการเสื่อมของเซลล์รับแสง และสามารถตรวจจับความผิดปกติทางสรีรภาพก่อนที่อาการจะปรากฏ เจ้าหน้าที่จะใช้เลนส์ที่เป็นอิเล็กโทรดเพื่อวัดการตอบสนองของเซลล์รับแสงต่อแสงกะพริบที่ฉายให้ดูในระดับความสว่างต่าง ๆ คนไข้ที่มีฟีโนไทป์ของโรคจะมีการตอบสนองทางไฟฟ้าที่ลดลงหรือช้าลงของเซลล์รูปแท่ง และอาจจะเซลล์รูปกรวยด้วย[30]

เมื่อวินิจฉัย แพทย์อาจพิจารณาประวัติครอบครัวของคนไข้เพราะเป็นโรคที่อาจติดต่อทางกรรมพันธุ์ มียีนอย่างน้อย 35 ตำแหน่ง (locus) ที่เป็นเหตุของโรคแบบ "nonsyndromic" คืออาร์พีที่ไม่ใช่ผลของอีกโรคหนึ่ง หรือเป็นส่วนของกลุ่มอาการอื่น ๆ การกลายพันธุ์ของยีนที่ก่อโรคอาจระบุได้ด้วยการตรวจดีเอ็นเอ (DNA testing) ซึ่งมีใช้ทางคลินิกในบางประเทศ การกลายพันธุ์รวมทั้ง[31]

  • RLBP1 (ทายกรรมลักษณะด้อย, Bothnia type RP)
  • RP1 (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP1)
  • RHO (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP4)
  • RDS (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP7)
  • PRPF8 (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP13)
  • PRPF3 (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP18)
  • CRB1 (ทายกรรมลักษณะด้อย, RP12)
  • ABCA4 (ทายกรรมลักษณะด้อย, RP19)
  • RPE65 (ทายกรรมลักษณะด้อย, RP20)

สำหรับยีนอื่น ๆ (เช่น DHDDS) การตรวจดีเอ็นเอมีใช้ในการวิจัยเท่านั้น

โรคสามารถสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant), ทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive) หรือ X-linked แบบ X-linked อาจเป็นแบบด้อย (recessive) ซึ่งโดยหลักมีผลต่อผู้ชายเท่านั้น หรือเป็นแบบเด่น (dominant) ซึ่งมีผลต่อทั้งชายหญิง แม้ชายจะมีอาการเบากว่า รูปแบบโรคที่เกิดจากยีนสองยีน (digenic) และจากไมโทคอนเดรียก็มีด้วย

ในบางประเทศ เจ้าหน้าที่อาจให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการสืบทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยที่ทำอย่างแม่นยำ การระบุวิธีสืบทอดทางพันธุกรรม และผลการตรวจดีเอ็นเอ

การรักษา

[แก้]

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคให้หาย แม้จะมีการตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของวิธีการรักษาต่าง ๆ อยู่ ประสิทธิภาพของอาหารเสริมต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ, กรดไขมัน docosahexaenoic acid (DHA) และ Lutein เพื่อชะลอโรคยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ แต่ก็เป็นทางเลือกในการรักษา[32][33] การทดลองทางคลินิกที่ตรวจสอบอุปกรณ์ฝังที่จอตา/เรตินาเทียม (optic prosthetic device), การบำบัดด้วยยีน (gene therapy) และการผ่าตัดเปลี่ยนจอตา (retinal sheet transplantation) เป็นเรื่องที่กำลังศึกษาเพื่อคืนการเห็นเป็นบางส่วนให้แก่คนไข้โรคอาร์พี[34]

วิตามิน A ในรูปแบบ Palmitate

[แก้]

งานวิจัยปี 1993 ของศาสตราจารย์จักษุวิทยาผู้หนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแสดงว่า คนไข้บางพวกสามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์รูปแท่งโดยทานวิตามินเอในรูปแบบของ vitamin A palmitate ประมาณ 15,000 หน่วยสากล (เท่ากับ 4.5 มิลลิกรัม) ต่อวัน[35] แม้จะไม่พบปัญหาความปลอดภัยเมื่อใช้วิตามินเอในระดับสูงในช่วงระยะงานวิจัย แต่ความปลอดภัยระยะยาวก็ยังไม่ชัดเจน เพราะการใช้วิตามินเอในระดับนี้อาจมีผลข้างเคียงหลายอย่างและจัดว่า สามารถก่อความผิดปกติทางพัฒนาการ (teratogenic) อนึ่ง บทความปริทัศน์ปี 2004 สรุปว่า

งานวิจัยและข้อแนะนำ (ของศาสตราจารย์ที่ว่า) นั้นยังมีข้อโต้แย้งอยู่ มีการเสนอว่า มีความจำเป็นต้องมีหลักฐานพิสูจน์ว่า มีประโยชน์ที่กว้างขวางยิ่งกว่านี้ ก่อนที่จะแนะนำการใช้วิตามินเอสำหรับอาร์พี[36]

งานวิจัยของศาสตราจารย์คนเดียวกันปี 2007 แสดงว่าการใช้วิตามินเอที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ในบางระยะของโรคบางรูปแบบ สามารถชะลอการตาบอดได้ถึง 10 ปี โดยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในอัตรา 10% ต่อปีให้เป็น 8.3% ต่อปี[37]

เรตินาเทียม

[แก้]

อุปกรณ์ฝังในตา/เรตินาเทียม Argus II retinal prosthesis เป็นวิธีการรักษาโรคแรกที่ได้รับอนุมัติในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ปัจจุบันมีใช้รักษาในประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหราชอาณาจักร[38] ผลในระหว่างที่ได้จากคนไข้ 30 คนในการทดลองระยะยาวได้เผยแพร่ในปี 2012[39]

ต่อมาปี 2013 องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงได้อนุมัติให้ใช้การรักษานี้ในสหรัฐอเมริกา[40] อุปกรณ์อาจช่วยคนไข้โรคอาร์พีผู้ใหญ่ที่เสียการเห็นรูปร่างและการเคลื่อนไหวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น แม้คนไข้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในระดับ 20/1260 เท่านั้น[41] ซึ่งยังจัดว่าบอดอยู่ทั้งโดยองค์การอนามัยโลกและประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนายน 2013 รพ. 12 แห่งในสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มรับคนไข้โรคอาร์พีที่สนใจจะใช้อุปกรณ์ที่จะเริ่มวางตลาดในปลายปีนั้น[42] ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์อยู่ที่ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.7 ล้านบาท) โดยไม่รวมค่าผ่าตัดหรือค่าฝึกใช้อุปกรณ์[43][44]

ส่วนอุปกรณ์ Alpha-IMS เป็นไมโครชิปบันทึกภาพที่สามารถผ่าตัดฝังใต้รอยบุ๋มจอตา (fovea) แต่เพื่อศึกษาว่าอุปกรณ์สามารถทำให้เห็นดีขึ้นหรือไม่ ผู้ผลิตจำต้องแสดงความปลอดภัยของอุปกรณ์ก่อนทำการทดลองทางคลินิกและอนุมัติให้วางตลาด[45] โดยค่าอุปกรณ์และการผ่าตัดจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ยูโร (ประมาณ 4.1 ล้านบาท)[46]

การบำบัดด้วยยีน (gene therapy)

[แก้]

ส่วนเป้าหมายของการศึกษาเรื่องการบำบัดด้วยยีน (gene therapy) ก็คือเพื่อเสริมเซลล์จอตาอันแสดงออกยีนที่กลายพันธุ์ซึ่งสัมพันธ์กับฟีโนไทป์ของโรคด้วยยีนที่ดี เพื่อให้เซลล์รับแสงสามารถซ่อมแซมตนเองและทำงานได้อย่างถูกต้องด้วยข้อมูลที่ได้จากยีนที่ดี การทดลองทางคลินิกที่ใส่ยีน RPE65 ปกติในจอตาที่แสดงออกฟีโนไทป์โรคอาร์พีแบบ LCA2 (Leber's congenital amaurosis) พบว่าทำให้เห็นดีขึ้นได้เล็กน้อย แต่เซลล์รับแสงก็ยังเสื่อมในอัตราปกติของโรค[47] การบำบัดด้วยยีนน่าจะช่วยรักษาเซลล์จอตาที่ยังดีอยู่ แต่ไม่สามารถซ่อมความเสียหายต่อเซลล์รับแสงที่สั่งสมมาก่อน ๆ ได้[34] โดยทฤษฎีแล้ว การตอบสนองรับการบำบัดด้วยยีนน่าจะดีต่อคนไข้วัยเยาว์ที่โรคมีระยะการดำเนินสั้นที่สุด เพราะมีโอกาสช่วยเซลล์ให้พ้นโรคด้วยยีนที่ใส่เข้าไปมากที่สุด[48]

ในปี 2017 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติการบำบัดด้วยีนที่เรียกว่า Luxturna เพื่อรักษาคนไข้ที่จอตาฝ่อ (retinal dystrophy) เนื่องกับการกลายพันธุ์ของยีน RPE65[49] ค่ารักษาอยู่ที่ 850,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 27.5 ล้านบาท) สำหรับตาทั้งสองข้างเมื่อต้นปี 2018[50]

พยากรณ์โรค

[แก้]

เพราะโรคแย่ลงเรื่อย ๆ และไม่มีวิธีการรักษา คนไข้จึงมีพยากรณ์โรคที่ไม่ค่อยดี แม้ปกติตาจะไม่บอดโดยสิ้นเชิง[51] สายตาและลานสายตาของคนไข้จะแย่ลงเรื่อย ๆ เริ่มจากการเสื่อมของเซลล์รูปแท่งและต่อมาเซลล์รูปกรวย การรักษาที่เป็นไปได้ก็ยังอยู่ในระยะวิจัยหรือการทดลองทางคลินิก อย่างไรก็ดี การรักษาด้วยการคืนสภาพสายตาดูเหมือนจะมีอนาคตที่แจ่มใส

งานศึกษาได้แสดงว่า เด็กที่มีจีโนไทป์ของโรคจะได้ประโยชน์จากการปรึกษากับแพทย์ก่อนจะมีโรค เพื่อเตรียมตัวรับมือปัญหาทางตาและทางสังคมเนื่องกับสายตาที่แย่ลงเรื่อย ๆ แม้ปัญหาทางจิตใจจะดีขึ้นเมื่อทำเช่นนี้[52] แต่ผลทางตาและการแย่ลงของโรคโดยมากจะขึ้นอยู่กับอายุที่อาการเริ่มปรากฏและอัตราการเสื่อมของเซลล์รับแสง ไม่ใช่การมีโอกาสไปหาแพทย์ อุปกรณ์ปรับสายตาและการบำบัดตาที่ปรับให้เหมาะกับตนซึ่งทำกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการมองเห็นได้น้อย อาจช่วยคนไข้แก้ปัญหาการมองเห็น คือช่วยให้มองด้วยลานสายตาที่เหลืออยู่ได้ดีที่สุด กลุ่มสนับสนุน, ประกันเกี่ยวกับสายตา และการปรับวิถีชีวิต อาจเป็นประโยชน์ในการรับมือกับการเห็นที่ลดลง[27]

วิทยาการระบาด

[แก้]

โรคอาร์พีเป็นเหตุชั้นนำของความตาบอดที่สืบทอดทางพันธุกรรม[53] คนประมาณ 1 ใน 4,000 คนจะมีโรคแบบไม่เกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ (non-syndromic) ในช่วงชีวิต[54] ประเมินว่ามีคน 1.5 ล้านคนทั่วโลกที่มีโรค โรคที่เริ่มเกิดเร็วจะเกิดภายในไม่กี่ปีแรกของชีวิตและปกติจะสัมพันธ์กับความผิดปกติอื่น ๆ ในขณะที่โรคที่เริ่มเกิดช้าจะปรากฏในวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ จนถึงวัยกลางคน

โรคที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นและทายกรรมลักษณะด้อยจะมีทั้งในชายหญิงเท่า ๆ กัน แต่โรคที่สืบทอดแบบ X-linked ซึ่งมีน้อยกว่าจะมีผลต่อชายที่ได้รับยีนกลายพันธุ์ แต่หญิงจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ รูปแบบนี้จัดว่ารุนแรง และปกติจะทำให้ตาบอดสนิทในช่วงท้าย ๆ ส่วนในกรณีที่มีน้อย โรคที่สืบทอดแบบ X-linked เป็นลักษณะเด่นจะมีผลต่อทั้งชายหญิงเท่า ๆ กัน[55]

เนื่องจากการสืบทอดทางพันธุกรรมของโรค กลุ่มประชากรที่แยกอยู่ต่างหากจะเกิดโรคบ่อยกว่าหรือมีความชุกโรคที่สูงขึ้นโดยมีการกลายพันธุ์ของยีนโดยเฉพาะ ๆ ที่ก่อโรค การกลายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นแบบที่มีอยู่แล้วหรือเกิดขึ้นใหม่ซึ่งทำให้เซลล์รับแสงรูปแท่งเสื่อมในโรคอาร์พีจะสืบทอดมาตามครอบครัว ดังนั้น จึงทำให้โรคเกิดขึ้นมากในภูมิภาคบางส่วนโดยปรากฏประวัติในครอบครัว มีงานศึกษาหลายงานที่ได้ทำเพื่อระบุความชุกโรคต่าง ๆ ในรัฐเมน (สหรัฐ) เมืองเบอร์มิงแฮม (สหราชอาณาจักร) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (1 คนใน 7,000 คน) ประเทศเดนมาร์ก (1 คนใน 2,500 คน) และประเทศนอร์เวย์[56] คนพื้นเมืองอเมริกันชาวนาวาโจ (Navajo) มีระดับการสืบทอดโรคที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยประเมินว่ามีผลต่อคน 1 คนทุก ๆ 1,878 คน โรคอาร์พีแม้จะสืบทอดตามกรรมพันธุ์ในครอบครัว แต่ก็จัดว่าไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล ๆ เพราะมีผลต่อประชากรทั่วโลก

งานวิจัย

[แก้]

การรักษาในอนาคตอาจรวมการผ่าตัดเปลี่ยนจอตา การใช้จอตาเทียม[57] การบำบัดด้วยยีน (gene therapy) การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาหารเสริม และ/หรือยารักษา

ในปี 2006 นักวิจัยชาวอังกฤษได้ปลูกเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้พัฒนาการมาจนถึงระยะสุดท้ายพร้อมที่จะกลายเป็นเซลล์รับแสง เข้าในตาของหนูที่ได้เปลี่ยนพันธุกรรมให้มีอาการเลียนโรคอาร์พีและโรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อมของมนุษย์ แล้วพบว่า เซลล์รับแสงเช่นนี้ได้พัฒนาการแล้วเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทในจอตาของหนู ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการคืนสภาพสายตา เพราะก่อนหน้านี้ได้เชื่อว่า จอตาที่พัฒนาสมบูรณ์แล้วไม่สามารถฟื้นฟูซ่อมแซมได้ งานวิจัยนี้อาจทำให้สามารถปลูกฝังเซลล์เช่นนี้ในมนุษย์ในอนาคตได้[58]

ในปี 2008 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่สถาบันชีววิทยาศาสตร์โอซากะ (Osaka Bioscience Institute) ได้ค้นพบโปรตีนที่ตั้งชื่อว่า Pikachurin ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าอาจนำไปสู่วิธีการรักษาโรคอาร์พี[59][60]

ในปี 2008 มีความพยายามที่จะเชื่อมการแสดงออกของยีน FAM46A กับโรค[61]

ในปี 2010 การรักษาด้วยยีนวิธีหนึ่งดูเหมือนจะได้ผลในหนู[62]

ในปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้แสดงกับสัตว์ตัวแบบว่า การรักษาด้วยยีน (gene therapy) และการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดแบบ induced pluripotent stem cell อาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้เพื่อรักษาโรคในอนาคต[63][64]

ในปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันจักษุแบสคอมปาลเมอร์ (Bascom Palmer Eye Institute) แห่งมหาวิทยาลัยไมแอมี ได้แสดงการป้องกันรักษาเซลล์รับแสงในสัตว์ตัวแบบ เมื่อฉีด mesencephalic astrocyte-derived neurotrophic factor (MANF) เข้าไปในตา[65][66]

ในปี 2014 นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ได้คืนสภาพการเห็นของหนูตาบอดโดยใช้ photoswitch ที่เริ่มการทำงานของ retinal ganglion cell ในสัตว์ที่มีเซลล์รับแสง (ทั้งรูปแท่งและรูปกรวย) เสียหาย[67]

งานศึกษาปี 2015 ที่ศูนย์การแพทย์ซีดาร์ส-ซีนาย (Cedars-Sinai Medical Center) ในนครลอสแอนเจลิสแสดงว่า ยีน CRISPR/Cas9 สามารถใช้รักษาหนูที่มีโรคซึ่งสืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่น[68][69]

ในปี 2016 บริษัท RetroSense Therapeutics มีแผนจะฉีดไวรัสที่มีดีเอ็นเอของสาหร่ายไวแสงเข้าไปในตาของคนตาบอดเนื่องกับโรคอาร์พีหลายคน โดยเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะเห็นเป็นขาวดำ[70][71]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. missense mutation เป็น point mutation คือนิวคลีโอไทด์อันหนึ่งเปลี่ยนไป มีผลกลายเป็น codon ที่เข้ารหัสสำหรับกรดอะมิโนที่ต่างกัน
  2. ในอณูชีววิทยา molecular chaperone เป็นโปรตีนที่ช่วยในการพับ (folding) หรือการคลี่ (unfolding) หรือการประกอบ (assembly) หรือการแยก (disassembly) โครงสร้างมาโครโมเลกุลอื่น ๆ chaperone จะมีในสถานการณ์ที่มาโครโมเลกุลต้องทำกิจทางชีววิทยาของตน ๆ เพื่อให้การพับ/การประกอบทำสำเร็จอย่างถูกต้อง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 "Facts About Retinitis Pigmentosa". National Eye Institute (ภาษาอังกฤษ). May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-07. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
  2. "Retinitis pigmentosa", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) โรคจอตามีสารสี
  3. นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย. "โรคอาร์พี". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Openshaw, Amanda (Feb 2008). Understanding Retinitis Pigmentosa (PDF). University of Michigan Kellogg Eye Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
  5. 5.0 5.1 Shintani, Kelly; Shechtman, Diana L.; Gurwood, Andrew S. (2009). "Review and update: Current treatment trends for patients with retinitis pigmentosa". Optometry. 80 (7): 384–401. doi:10.1016/j.optm.2008.01.026. PMID 19545852.
  6. 6.0 6.1 Soucy, E; Wang, Y; Nirenberg, S; Nathans, J; Meister, M (1998). "A Novel Signaling Pathway from Rod Photoreceptors to Ganglion Cells in Mammalian Retina". Neuron. 21 (3): 481–93. doi:10.1016/S0896-6273(00)80560-7. PMID 9768836.
  7. 7.0 7.1 7.2 Hartong, Dyonne T; Berson, Eliot L; Dryja, Thaddeus P (2006). "Retinitis pigmentosa". The Lancet. 368 (9549): 1795–1809. doi:10.1016/S0140-6736(06)69740-7. PMID 17113430.
  8. O'Neal, Teri B; Luther, Euil E (2018-12-20). "Retinitis Pigmentosa". StatPearls Publishing LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Lim, Jennifer I; Chow, Clement C; Genead, Mohamed Ali; Akkara, John Davis; Epley, K David; Shah, Vinay A (2019-03-14). "Retinitis Pigmentosa". American Academy of Ophthalmology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-30.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Daiger, S P; Sullivan, L S; Bowne, S J (2013). "Genes and mutations causing retinitis pigmentosa". Clinical Genetics. 84 (2): 132–41. doi:10.1111/cge.12203. PMC 3856531. PMID 23701314.
  11. "Usher Syndrome". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17.
  12. "Diseases - MM - Types Of Overview". Muscular Dystrophy Association. 2015-12-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-17.
  13. "Bardet-Biedl (Laurence Moon)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17.
  14. Farrar, GJ; Kenna, PF; Humphries, P (March 2002). "On the genetics of retinitis pigmentosa and on mutation-independent approaches to therapeutic intervention". EMBO J. 21 (5): 857–64. doi:10.1093/emboj/21.5.857. PMC 125887. PMID 11867514.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Online 'Mendelian Inheritance in Man' (OMIM) RETINITIS PIGMENTOSA; RP -268000
  16. 16.0 16.1 Rivolta, C.; Sharon, D; Deangelis, M. M.; Dryja, T. P. (2002). "Retinitis pigmentosa and allied diseases: Numerous diseases, genes, and inheritance patterns". Human Molecular Genetics. 11 (10): 1219–27. doi:10.1093/hmg/11.10.1219. PMID 12015282.
  17. 17.0 17.1 Berson, Eliot L.; Rosner, B; Sandberg, M. A.; Dryja, T. P. (1991). "Ocular Findings in Patients with Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa and a Rhodopsin Gene Defect (Pro-23-His)". Archives of Ophthalmology. 109 (1): 92–101. doi:10.1001/archopht.1991.01080010094039. PMID 1987956.
  18. Senin, Ivan I.; Bosch, Laia; Ramon, Eva; Zernii, Evgeni Yu.; Manyosa, Joan; Philippov, Pavel P.; Garriga, Pere (2006). "Ca2+/recoverin dependent regulation of phosphorylation of the rhodopsin mutant R135L associated with retinitis pigmentosa". Biochemical and Biophysical Research Communications. 349 (1): 345–52. doi:10.1016/j.bbrc.2006.08.048. PMID 16934219.
  19. Dryja, Thaddeus P.; McGee, Terri L.; Reichel, Elias; Hahn, Lauri B.; Cowley, Glenn S.; Yandell, David W.; Sandberg, Michael A.; Berson, Eliot L. (1990). "A point mutation of the rhodopsin gene in one form of retinitis pigmentosa". Nature. 343 (6256): 364–6. Bibcode:1990Natur.343..364D. doi:10.1038/343364a0. PMID 2137202.
  20. Dryja, Thaddeus P.; McGee, Terri L.; Hahn, Lauri B.; Cowley, Glenn S.; Olsson, Jane E.; Reichel, Elias; Sandberg, Michael A.; Berson, Eliot L. (1990). "Mutations within the Rhodopsin Gene in Patients with Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa". New England Journal of Medicine. 323 (19): 1302–7. doi:10.1056/NEJM199011083231903. PMID 2215617.
  21. Berson, E. L.; Rosner, B; Sandberg, M. A.; Weigel-Difranco, C; Dryja, T. P. (1991). "Ocular findings in patients with autosomal dominant retinitis pigmentosa and rhodopsin, proline-347-leucine". American Journal of Ophthalmology. 111 (5): 614–23. doi:10.1016/s0002-9394(14)73708-0. PMID 2021172.
  22. Inglehearn, C. F.; Bashir, R; Lester, D. H.; Jay, M; Bird, A. C.; Bhattacharya, S. S. (1991). "A 3-bp deletion in the rhodopsin gene in a family with autosomal dominant retinitis pigmentosa". American Journal of Human Genetics. 48 (1): 26–30. PMC 1682750. PMID 1985460.
  23. Oh, Kean T.; Weleber, R. G.; Lotery, A; Oh, D. M.; Billingslea, A. M.; Stone, E. M. (2000). "Description of a New Mutation in Rhodopsin, Pro23Ala, and Comparison with Electroretinographic and Clinical Characteristics of the Pro23His Mutation". Archives of Ophthalmology. 118 (9): 1269–76. doi:10.1001/archopht.118.9.1269. PMID 10980774.
  24. 24.0 24.1 "Retinitis pigmentosa". NIH, US National Library of Medicine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  25. Bujakowska, K.; Maubaret, C.; Chakarova, C. F.; Tanimoto, N.; Beck, S. C.; Fahl, E.; Humphries, M. M.; Kenna, P. F.; Makarov, E.; Makarova, O.; Paquet-Durand, F.; Ekstrom, P. A.; Van Veen, T.; Leveillard, T.; Humphries, P.; Seeliger, M. W.; Bhattacharya, S. S. (2009). "Study of Gene-Targeted Mouse Models of Splicing Factor Gene Prpf31 Implicated in Human Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa (RP)". Investigative Ophthalmology & Visual Science. 50 (12): 5927–5933. doi:10.1167/iovs.08-3275. PMID 19578015.
  26. Mendes, HF; van der Spuy, J; Chapple, JP; Cheetham, ME (April 2005). "Mechanisms of cell death in rhodopsin retinitis pigmentosa: implications for therapy". Trends in Molecular Medicine. 11 (4): 177–185. doi:10.1016/j.molmed.2005.02.007. PMID 15823756.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. 27.0 27.1 "Understanding Retinitis Pigmentosa" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 2015-03-16.
  28. Fahim, Abigail T (1993). "Nonsyndromic Retinitis Pigmentosa Overview". Retinitis Pigmentosa Overview. University of Washington, Seattle.
  29. Chang, S; Vaccarella, L; Olatunji, S; Cebulla, C; Christoforidis, J (2011). "Diagnostic Challenges in Retinitis Pigmentosa: Genotypic Multiplicity and Phenotypic Variability". Current Genomics. 12 (4): 267–75. doi:10.2174/138920211795860116. PMC 3131734. PMID 22131872.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Gundogan, Fatih Cakir; Tas, Ahmet; Sobaci, Gungor (2011). Belusic, Gregor (บ.ก.). Electroretinogram in Hereditary Retinal Disorders (PDF). Electroretinograms. Turkey: In Tech. ISBN 978-953-307-383-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-17.
  31. "Retinitis Pigmentosa". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-22.
  32. Hartong, DT; Berson, EL; Dryja, TP (November 2006). "Retinitis pigmentosa". The Lancet. 368 (9549): 1795–1809. doi:10.1016/S0140-6736(06)69740-7. PMID 17113430.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Rayapudi, S; Schwartz, SG; Wang, X; Chavis, P (2013). "Vitamin A and fish oils for retinitis pigmentosa". Cochrane Database Syst Rev. 12 (12): CD008428. doi:10.1002/14651858.CD008428.pub2. PMC 4259575. PMID 24357340.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. 34.0 34.1 Lok, Corie (2014). "Curing blindness: Vision quest". Nature News & Comment. 513 (7517): 160–162. doi:10.1038/513160a. PMID 25209781.
  35. Berson, Eliot L.; Rosner, B; Sandberg, M. A.; Hayes, K. C.; Nicholson, B. W.; Weigel-Difranco, C; Willett, W (1993). "A Randomized Trial of Vitamin a and Vitamin E Supplementation for Retinitis Pigmentosa". Archives of Ophthalmology. 111 (6): 761–72. doi:10.1001/archopht.1993.01090060049022. PMID 8512476.
  36. Sharma, Yog Raj; Reddy, P Raja Rami; Singh, Deependra V (2004). "Retinitis Pigmentosa and Allied Disorders (Review Article)" (PDF). JK SCIENCE. 6 (3): 115–120. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. Berson, Eliot L. (2007). "Long-term visual prognoses in patients with retinitis pigmentosa: The Ludwig von Sallmann lecture". Experimental Eye Research. 85 (1): 7–14. doi:10.1016/j.exer.2007.03.001. PMC 2892386. PMID 17531222.
  38. "Nahrungsergänzungsmittel: ALLES, was du wissen musst!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19. [ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  39. Humayun, Mark S.; Dorn, Jessy D.; Da Cruz, Lyndon; Dagnelie, Gislin; Sahel, José-Alain; Stanga, Paulo E.; Cideciyan, Artur V.; Duncan, Jacque L.; Eliott, Dean; Filley, Eugene; Ho, Allen C.; Santos, Arturo; Safran, Avinoam B.; Arditi, Aries; Del Priore, Lucian V.; Greenberg, Robert J.; Argus Ii Study, Group (2012). "Interim Results from the International Trial of Second Sight's Visual Prosthesis". Ophthalmology. 119 (4): 779–88. doi:10.1016/j.ophtha.2011.09.028. PMC 3319859. PMID 22244176.
  40. "FDA approves first retinal implant for adults with rare genetic eye disease". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27.
  41. Fernandes, RA; Diniz, B; Ribeiro, R; Humayun, M (2012-06-25). "Artificial vision through neuronal stimulation". Neuroscience letters. 519 (2): 122–8. PMID 22342306.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. "'First Bionic Eye' Retinal Chip for Blind". Science Daily. 2013-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
  43. "The Argus II Retinal Prosthesis ("Bionic Eye") Receives Medicare Approval". Visionware, American Printing House for the Blind. 2013-08-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-31.
  44. Belluck, Pam (2013-02-15). "Device Offers Partial Vision for the Blind". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  45. Stingl, K; Bartz-Schmidt, KU; Besch, D; Braun, A; Bruckmann, A; Gekeler, F; Greppmaier, U; Hipp, S; Hörtdörfer, G; Kernstock, C; Koitschev, A; Kusnyerik, A; Sachs, H; Schatz, A; Stingl, KT; Peters, T; Wilhelm, B; Zrenner, E (2013). "Artificial vision with wirelessly powered subretinal electronic implant alpha-IMS". Proc. Biol. Sci. 280 (1757): 20130077. doi:10.1098/rspb.2013.0077. PMC 3619489. PMID 23427175.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  46. "A Second Artificial Retina Option for the E.U." Technology Review. 2013-07-03.
  47. Bainbridge, James W.B.; Smith, Alexander J.; Barker, Susie S.; Robbie, Scott; Henderson, Robert; Balaggan, Kamaljit; Viswanathan, Ananth; Holder, Graham E.; Stockman, Andrew; Tyler, Nick; Petersen-Jones, Simon; Bhattacharya, Shomi S.; Thrasher, Adrian J.; Fitzke, Fred W.; Carter, Barrie J.; Rubin, Gary S.; Moore, Anthony T.; Ali, Robin R. (2008). "Effect of Gene Therapy on Visual Function in Leber's Congenital Amaurosis". New England Journal of Medicine. 358 (21): 2231–9. CiteSeerX 10.1.1.574.4003. doi:10.1056/NEJMoa0802268. PMID 18441371.
  48. Maguire, AM; High, KA; Auricchio, A และคณะ (November 2009). "Age-dependent effects of RPE65 gene therapy for Lebers congenital amaurosis: a phase 1 dose-escalation trial". The Lancet. 374 (9701): 1597–1605. doi:10.1016/S0140-6736(09)61836-5. PMC 4492302. PMID 19854499.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  49. Commissioner, Office of the. "Press Announcements - FDA approves novel gene therapy to treat patients with a rare form of inherited vision loss". www.fda.gov (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-12. สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
  50. "Spark's price for Luxturna blindness gene therapy too high: ICER". Reuters. 2018-01-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-05.
  51. "Well". The New York Times.[ลิงก์เสีย]
  52. Mezer, E; Babul-Hirji, R; Wise, R; Chipman, M; Dasilva, L; Rowell, M; Thackray, R; Shuman, C. T.; Levin, A. V. (2007). "Attitudes regarding predictive testing for retinitis pigmentosa". Ophthalmic Genet. 28 (1): 9–15. doi:10.1080/13816810701199423. PMID 17454742.
  53. Parmeggiani, F (2011). "Clinics, Epidemiology and Genetics of Retinitis Pigmentosa". Current Genomics. 12 (4): 236–7. doi:10.2174/138920211795860080. PMC 3131730. PMID 22131868.
  54. Hamel, Christian (2006). "Retinitis pigmentosa". Orphanet Journal of Rare Diseases. 1: 40. doi:10.1186/1750-1172-1-40. PMC 1621055. PMID 17032466.
  55. Prokisch, Holger; Hartig, Monika; Hellinger, Rosa; Meitinger, Thomas; Rosenberg, Thomas (2007). "IOVS - A Population-Based Epidemiological and Genetic Study of X-Linked Retinitis Pigmentosa". Investigative Ophthalmology & Visual Science. 48 (9): 4012–8. doi:10.1167/iovs.07-0071. PMID 17724181.
  56. Haim, Marianne (2002). "The epidemiology of retinitis pigmentosa in Denmark". Acta Ophthalmologica Scandinavica. 80: 1–34. doi:10.1046/j.1395-3907.2002.00001.x.
  57. "Ophthalmologists Implant Five Patients with Artificial Silicon Retina Microchip To Treat Vision Loss from Retinitis Pigmentosa" (Press release). Rush University Medical Center. 2005-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
  58. MacLaren, R. E.; Pearson, R. A.; MacNeil, A.; Douglas, R. H.; Salt, T. E.; Akimoto, M.; Swaroop, A.; Sowden, J. C.; Ali, R. R. (2006). "Retinal repair by transplantation of photoreceptor precursors". Nature. 444 (7116): 203–7. Bibcode:2006Natur.444..203M. doi:10.1038/nature05161. PMID 17093405.
  59. Sato, Shigeru; Omori, Yoshihiro; Katoh, Kimiko; Kondo, Mineo; Kanagawa, Motoi; Miyata, Kentaro; Funabiki, Kazuo; Koyasu, Toshiyuki; Kajimura, Naoko; Miyoshi, Tomomitsu; Sawai, Hajime; Kobayashi, Kazuhiro; Tani, Akiko; Toda, Tatsushi; Usukura, Jiro; Tano, Yasuo; Fujikado, Takashi; Furukawa, Takahisa (2008). "Pikachurin, a dystroglycan ligand, is essential for photoreceptor ribbon synapse formation". Nature Neuroscience. 11 (8): 923–31. doi:10.1038/nn.2160. PMID 18641643.
  60. Levenstein, Steve (2008-07-24). "Lightning-Fast Vision Protein Named After Pikachu". InventorSpot.com. Halcyon Solutions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2014-06-12.
  61. Barragán, L; Borrego, S; Abd El-Aziz, MM; El-Ashry, MF; Antiñolo, G (January 2008). "Genetic analysis of FAM46A in Spanish families with autosomal recessive retinitis pigmentosa: characterisation of novel VNTRs". Annals of Human Genetics. 72 (Pt 1): 26–34. doi:10.1111/j.1469-1809.2007.00393.x. PMID 17803723.
  62. Busskamp, V.; Duebel, J.; Balya, D.; Fradot, M.; Viney, T. J.; Siegert, S.; Groner, A. C.; Cabuy, E.; Forster, V.; Seeliger, M.; Biel, M.; Humphries, P.; Paques, M.; Mohand-Said, S.; Trono, D.; Deisseroth, K.; Sahel, J. A.; Picaud, S.; Roska, B. (2010). "Genetic Reactivation of Cone Photoreceptors Restores Visual Responses in Retinitis Pigmentosa" (PDF). Science. 329 (5990): 413–7. Bibcode:2010Sci...329..413B. doi:10.1126/science.1190897. PMID 20576849.
  63. "Experiments show retinitis pigmentosa is treatable". Stem Cells Freak. 2012-12-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-13.
  64. "Two Treatments for Retinitis Pigmentosa Move Closer to Clinical Trials" (Press release). Columbia University Medical Center. 2012-12-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 2016-08-07.
  65. Wen, Rong; Luo, Lingyu; Huang, Dequang; Xia, Xin; Wang, Zhengying; Chen, Pingping; Li, Yiwen (March 2012). "Mesencephalic Astrocyte-derived Neurotrophic Factor (MANF) Protects Rod and Cone Photoreceptors from Degeneration in Transgenic Rats Carrying the S334ter Rhodopsin Mutation". Invest. Ophthalmol. Vis. Sci. 53 (14): 2581. สืบค้นเมื่อ 2016-08-07.
  66. Wen, Rong; Luo, Lingyu; Huang, Dequang; Xia, Xin; Wang, Zhengying; Chen, Pingping; Li, Yiwen (2012-05-07). Mesencephalic Astrocyte-derived Neurotrophic Factor (MANF) Protects Rod and Cone Photoreceptors from Degeneration in Transgenic Rats Carrying the S334ter Rhodopsin Mutation. ARVO 2012.
  67. Tochitsky, Ivan; Polosukhina, Aleksandra; Degtyar, Vadim E.; Gallerani, Nicholas; Smith, Caleb M.; Friedman, Aaron; Van Gelder, Russell N.; Trauner, Dirk; Kaufer, Daniela; Kramer, Richard H. (2014). "Restoring Visual Function to Blind Mice with a Photoswitch that Exploits Electrophysiological Remodeling of Retinal Ganglion Cells". Neuron. 81 (4): 800–13. doi:10.1016/j.neuron.2014.01.003. PMC 3933823. PMID 24559673.
  68. Bakondi, Benjamin; Lv, Wenjian; Lu, Bin; Jones, Melissa K.; Tsai, Yuchun; Kim, Kevin J.; Levy, Rachelle; Akhtar, Aslam Abbasi; Breunig, Joshua J.; Svendsen, Clive N.; Wang, Shaomei (2016). "Molecular Therapy - Abstract of article: In Vivo CRISPR/Cas9 Gene Editing Corrects Retinal Dystrophy in the S334ter-3 Rat Model of Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa". Molecular Therapy. 24 (3): 556–563. doi:10.1038/mt.2015.220. PMC 4786918. PMID 26666451.
  69. "Gene editing technique improves vision in rats with inherited blindness: Data show the new 'CRISPR/Cas9' system potentially can be used to prevent retinal damage in a type of retinitis pigmentosa". Science Daily. 2016-01-08. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15.
  70. "FDA approves novel gene therapy to treat patients with a rare form of inherited vision loss". FDA. 2017-12-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-12.
  71. Bourzac, Katherine. "A blind woman in Texas is first person to undergo optogenetic therapy, which could let her see again if successful". technologyreview.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก