ข้ามไปเนื้อหา

ตาบอดสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Color blindness)
ตาบอดสี
ภาพแสดงการมองเห็นปกติกับตาบอดสีประเภทต่าง ๆ
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10H53.5
ICD-9368.5
DiseasesDB2999
MedlinePlus001002
MeSHD003117

ตาบอดสี (อังกฤษ: color blindness) หรือ การพร่องการเห็นสี (อังกฤษ: color vision deficiency) เป็นภาวะที่ความสามารถในการมองเห็นสีลดลงหรือการเห็นสีที่แตกต่างไปจากปกติ ภาวะนี้อาจทำให้ความสามารถบางอย่างลดลง เช่น การเลือกผลไม้ที่แก่หรือสุก การเลือกเสื้อผ้า และการอ่านสัญญาณไฟจราจร นอกจากนี้ ตาบอดสีอาจทำให้กิจกรรมทางการศึกษาบางอย่างยากขึ้น เช่น การเรียนศิลปะ อย่างไรก็ตาม ปัญหาโดยทั่วไปบางอย่างมักเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่คนตาบอดสีส่วนใหญ่สามารถปรับตัวเข้ากับภาวะนี้ได้ ส่วนใหญ่จะแยกระหว่างสีเขียวและสีแดงไม่ได้

สาเหตุ

[แก้]

โดยทั่วไปมนุษย์จะมีเซลล์รับแสงอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกทำหน้าที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกแยะสีสันได้ แต่จะมีความไวในการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน ส่วนเซลล์กลุ่มที่สองจะทำหน้าที่บอกสีต่าง ๆ ที่เรามองเห็น โดยจะแยกได้อีกเป็น 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น ได้แก่ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลส์รับแสงสีเขียวสำหรับการรับแสงสีอื่น โดยให้สมองเราแปลภาพออกมาเป็นสีต่าง ๆ

โรคตาบอดสี เกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่ง ในม่านตาที่มีการตอบสนองความไวต่อสีต่าง ๆ ทำงานผิดปกติ จนเกิดเป็นความบกพร่องหรือความพิการ ส่งผลให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้ แต่ทั้งนี้ ตาบอดสีไม่ได้มีเพียงแต่ข้อเสียเท่านั้น แต่ผู้ที่ตาบอดสีจะมีความสามารถในการแยกสีเฉดเดียวกันที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ดีกว่าคนปกติ ตัวอย่างเช่น คนตาบอดสีเขียวจะแยกสีที่คล้ายกัน เช่น เขียวอ่อน เขียวอมเหลือง ได้ละเอียด และในประเทศอิสราเอลมีการรับ คนที่ตาบอดสีเข้าประจำในกองทัพบก เพราะคนเหล่านี้จะมองเห็นรถถังที่ทาสี พรางตัวอยู่ในภูมิประเทศ ได้ดีกว่าคนที่มีดวงตาเป็นปกติ

อาการ

[แก้]

อาการที่แสดงถึงความผิดปกตินั้นมักเกิดขึ้นจากจอประสาทตาเส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมองถูกทำลาย สาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุเนื้อ งอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา และผลข้างเคียงจากใช้ยาหรือสารเคมีอื่น ๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม เช่น ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่นั้น

การรักษาและการป้องกัน

[แก้]

ผู้ที่เป็นโรคนี้มาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงโอกาสการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและโอกาสหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดภาวะตาบอดสีในหมู่ญาติ ส่วนผู้ที่มีภาวะตาบอดสีภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ เพื่อการวางแผนรักษาที่เหมาะสมต่อไป ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติแบบถาวร ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ที่ถูกต้อง

อ้างอิง

[แก้]