ข้ามไปเนื้อหา

นิวเคลียสมีหาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Caudate nucleus)
Brain: นิวเคลียสมีหาง
(Caudate nucleus)
สมองผ่าด้านขวาง (Transverse หรือ Horizontal Section) ปมประสาทฐาน (basal ganglia) มีสีน้ำเงิน
Latin nucleus caudatus
Gray's subject #189 833
NeuroNames hier-208
MeSH Caudate+Nucleus
NeuroLex ID birnlex_1373

นิวเคลียสมีหาง[1] (อังกฤษ: caudate nucleus) เป็นนิวเคลียสในปมประสาทฐาน (basal ganglia) ในสมองของสัตว์หลายประเภท มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และความทรงจำ

กายวิภาค

[แก้]
นิวเคลียสมีหางในกะโหลกศีรษะ
นิวเคลียสมีหางและ putamen มีสีม่วง, ทาลามัสมีสีส้ม

นิวเคลียสมีหางอยู่ใกล้ศูนย์กลาง (medial) ของสมอง อยู่คร่อมทาลามัส มีอยู่ในซีกทั้งสองของสมอง นิวเคลียสแต่ละตัวมีรูปร่างคล้ายอักษรโรมัน C มีหัวใหญ่ (อังกฤษ: head caput) ด้านหน้า และมีตัว (อังกฤษ: body corpus) กับหาง (อังกฤษ: tail cauda) ที่เล็กลงมาตามลำดับ บางส่วนของนิวเคลียสมีหางบางครั้งเรียกว่า "หัวเข่า" (อังกฤษ: knee genu)[2]

ภาพตัดขวาง (Transverse) ของนิวเคลียสมีหางทำด้วย MRI
ภาพตัดขวาง (Transverse) ของนิวเคลียสมีหางทำด้วย MRI

หัวและตัวของนิวเคลียสมีหางรวมกันเป็นปีกหน้าส่วนด้านล่างของ lateral ventricle หลังจากลำตัวที่ยื่นออกไปด้านหลังศีรษะสักระยะหนึ่ง ส่วนหางก็ม้วนกลับมาด้านหน้า กลายเป็นปีกล่างส่วนเพดานของ lateral ventricle ซึ่งหมายความว่าการผ่าแบ่งหน้าหลัง (coronal) ที่ตัดผ่านส่วนหาง ก็ย่อมจะตัดผ่านตัวและหัวของนิวเคลียสมีหางด้วย

นิวเคลียสมีหางมีความสัมพันธ์ทางกายวิภาคกับโครงสร้างอื่นหลายอย่าง คือ มีการแบ่งออกจากนิวเคลียสรูปเลนส์ (lenticular nucleus) (ซึ่งประกอบด้วย globus pallidus และ putamen) โดยปีกด้านหน้าของ internal capsule และเมื่อประกอบพร้อมกับ putamen ก็จะรวมกันเป็น striatum ด้านหลัง

เคมีประสาท

[แก้]

นิวเคลียสมีหางรับการเชื่อมต่ออย่างหนาแน่นมาจากนิวรอนที่ส่งสัญญาณโดยสารโดพามีน ซึ่งมีกำเนิดหลักใน ventral tegmental area และ substantia nigra pars compacta นอกจากนั้นแล้วยังมีการเชื่อมต่อมาจากคอร์เทกซ์สัมพันธ์ (association cortices)

หน้าที่การงาน

[แก้]

การเรียนรู้และความทรงจำ

[แก้]

โดยประวัติแล้ว ปมประสาทฐาน (basal ganglia) โดยรวมๆ มีบทบาทในการควบคุมการเคลื่อนไหว[3] และโดยเป็นส่วนหนึ่งของปมประสาทฐาน นิวเคลียสมีหางในยุคแรกๆ ได้รับการสันนิษฐานว่ามีบทบาทหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวภายใต้อำนาจจิตใจ (หรือโดยสมัครใจ) แต่ในเร็วนี้ๆ งานวิจัยได้แสดงว่า นิวเคลียสมีหางมีบทบาทอย่างสำคัญในการเรียนรู้และความทรงจำ[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการประมวลฟี้ดแบ็กที่ได้รับ[5] คือว่า โดยทั่วๆ ไป การทำงานทางประสาทจะปรากฏในนิวเคลียสมีหางเมื่อบุคคลนั้นกำลังรับฟี้ดแบ็ก ผู้มีภาวะ hyperthymesia[6] ปรากฏว่ามีขนาดของนิวเคลียสมีหางและสมองกลีบขมับที่ใหญ่กว่าปกติ[7]

อารมณ์ความรู้สึก

[แก้]

นิวเคลียสมีหางตอบสนองเมื่อบุคคลประสบกับสุนทรียภาพทางตา จึงมีการเสนอว่าเป็น "ประสาทสัมพันธ์ของความรัก" (neural correlates of romantic love)[8][9]

การเข้าใจภาษา

[แก้]

นิวเคลียสมีหางในสมองซีกซ้ายรับการเสนอว่า มีความสัมพันธ์กับทาลามัสที่ควบคุมความเข้าใจคำศัพท์ และการออกเสียงคำศัพท์ เพราะว่า เขตที่ทำงานในนิวเคลียสมีหางเปลี่ยนไปเมื่อบุคคลนั้นเปลี่ยนไปใช้อีกภาษาหนึ่ง[10][11]

การควบคุมขีดเริ่มเปลี่ยน

[แก้]

สมองมีเซลล์ประสาทเป็นจำนวนมากซึ่งมีการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันเป็นไซแนปส์แบบเร้า (excitatory synapses) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่มีส่วนประกอบที่มีการป้อนกลับเชิงบวก ดังนั้น เป็นความยากที่ระบบเช่นนี้จะดำเนินงานไปได้โดยไม่มีกลไกที่ป้องกันการส่งสัญญาณที่มากเกินไป มีหลักฐานโดยปริยาย[12]ว่า นิวเคลียสมีหางอาจมีบทบาทในการควบคุมการส่งสัญญาณในระบบประสาท ทำงานโดยวัดการทำงานอย่างรวมๆ ในเปลือกสมองแล้วควบคุมศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยน[13]

บทบาทในโรคย้ำคิดย้ำทำ

[แก้]

มีการสันนิษฐานว่า นิวเคลียสมีหางอาจทำงานผิดผลาดในบุคคลมีโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive compulsive disorder) คืออาจจะไม่สามารถควบคุมการส่งข้อมูลของประสบการณ์หรือความคิดที่ก่อให้เกิดความกังวลระหว่างทาลามัสและ orbitofrontal cortex เพราะว่า งานวิจัยที่ทำภาพสมองด้วยโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟีพบว่า นิวเคลียสมีหางของสมองซีกขวามีระดับความเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญกลูโคส (glucose metabolism) มากที่สุดเมื่อคนไข้ทานยา paroxetine (เป็นยาบรรเทาโรคซึมเศร้าและโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นต้น)[14]

นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยเร็วนี้ๆ ซึ่งเปรียบเทียบคนไข้โรคย้ำคิดย้ำทำและกลุ่มควบคุมที่ปกติพบว่า คนไข้มีปริมาตรเนื้อเทาที่เพิ่มขึ้นในนิวเคลียสรูปเลนส์ (lenticular nucleus) และในนิวเคลียสมีหาง ในซีกสมองทั้งสองข้าง ในขณะที่ปริมาตรเนื้อเทาของ medial frontal gyrus และ/หรือ anterior cingulate gyrus กลับลดลง[15][16]

ปรากฏการณ์นี้แตกต่างจากคนไข้โรควิตกกังวลประเภทอื่นๆ ผู้มีปริมาตรเนื้อเทาลดลง (แทนที่จะเพิ่ม) ในนิวเคลียสรูปเลนส์และนิวเคลียสมีหางของซีกสมองทั้งสองข้าง และปริมาตรเนื้อเทาของ medial frontal gyrus และ/หรือ anterior cingulate gyrus ก็ลดลงเช่นกัน[16]

ภาพต่างๆ

[แก้]

หมายเหตุและอ้างอิง

[แก้]
  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ caudate ว่า "มีหาง"
  2. E. H. Yeterian, D. N. Pandya, "Corticostriatal connections of extrastriate visual areas in rhesus monkeys," The Journal of Comparative Neurology 352(3):436-457, 1995. PMID: 7706560
  3. S. A. Kinnier Wilson (May 1914). "An experimental research into the anatomy of the corpus striatum". Brain. 36 (3–4): 427–492. doi:10.1093/brain/36.3-4.427.
  4. Graybiel AM (2005) The basal ganglia: learning new tricks and loving it. Curr Opin Neurobiol 15:638-644.
  5. Packard MG, Knowlton BJ (2002) Learning and memory functions of the Basal Ganglia. Annu Rev Neurosci 25:563-593.
  6. hyperthymesia เป็นภาวะที่บุคคลมีความทรงจำแบบชีวประวัติของตน (autobiographical memory) ที่ดีกว่าบุคคลทั่วไป คือสามารถจำประสบการณ์และเหตุการณ์ในชีวิตของตนโดยมากได้ มาจากภาษากรีกว่า thymesis แปลว่า "จำได้" และ hyper แปลว่า "เกิน"
  7. "The Gift of Endless Memory". CBS News. 16 December 2010.
  8. Ishizu T, Zeki S (May 2011). Warrant EJ (บ.ก.). "Toward a brain-based theory of beauty". PLOS ONE. 6 (7): e21852. Bibcode:2011PLoSO...621852I. doi:10.1371/journal.pone.0021852. PMC 3130765. PMID 21755004.
  9. Aron A, Fisher H, Mashek DJ, Strong G, Li H, Brown LL (July 2005). "Reward, motivation, and emotion systems associated with early-stage intense romantic love". Journal of Neurophysiology. 94 (1): 327–37. doi:10.1152/jn.00838.2004. PMID 15928068. S2CID 396612.
  10. "How bilingual brains switch between tongues" at newscientist.com
  11. "Language Control in the Bilingual Brain " at sciencemag.org
  12. Braitenberg V. (1984)Vehicles. Experiments in synthetic psychology.
  13. ศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยน (threshold potential) เป็นระดับขีดเริ่มเปลี่ยนของศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ที่ได้รับการลดขั้ว (depolarization) ที่เมื่อถึงแล้ว ก่อให้เกิดศักยะงาน ศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยนมีความสำคัญในการควบคุมและการส่งสัญญาณทั้งในระบบประสาทกลางและในระบบประสาทปลาย
  14. Elsebet S. Hansen, Steen Hasselbalch, Ian Law; Tom G. Bolwig (2002). "The caudate nucleus in obsessive-compulsive disorder. Reduced metabolism following treatment with paroxetine: a PET study". International Journal of Neuropsychopharmacology. 5 (1): 1–10. doi:10.1017/S1461145701002681. PMID 12057027.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Radua, Joaquim; Mataix-Cols, David (November 2009). "Voxel-wise meta-analysis of grey matter changes in obsessive–compulsive disorder". British Journal of Psychiatry. 195 (5): 393–402. doi:10.1192/bjp.bp.108.055046. PMID 19880927.
  16. 16.0 16.1 Radua, Joaquim; van den Heuvel, Odile A.; Surguladze, Simon; Mataix-Cols, David (5 July 2010). "Meta-analytical comparison of voxel-based morphometry studies in obsessive-compulsive disorder vs other anxiety disorders". Archives of General Psychiatry. 67 (7): 701–711. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2010.70. PMID 20603451.

แหล่งข้อมูลอื่นๆ

[แก้]