ไอ (อาการ)
ไอ | |
---|---|
รูปแสดงอาการไอ | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | R05.r |
ICD-9 | 786.2 |
MedlinePlus | 003072 |
eMedicine | ENT/1048560 |
การไอเป็นการขับลมหายใจออกจากทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยขจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สิ่งแปลกปลอม และจุลินทรีย์ได้ อาจเกิดซ้ำ ๆ จากรีเฟล็กซ์การไอโดยเป็นการป้องกันตัว รีเฟล็กซ์มีสามระยะ คือ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรงกระทบกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการขับอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วหลังเปิดกล่องเสียงโดยมักเกิดกับเสียงไอ[1] การไออาจเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ก็ได้
การไอบ่อย ๆ ปกติจะชี้ว่ามีโรค ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้ประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการทำให้โฮสต์ไอ ซึ่งช่วยแพร่กระจายเชื้อไปสู่โฮสต์ใหม่ การไอผิดปกติมักเกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ แต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ[1] โรคหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะในคอ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกในปอด ภาวะหัวใจวาย และยาบางชนิดเช่นสารยับยั้งเอซีอีและยากลุ่มเบตาบล็อกเกอร์[2]
การรักษามักเน้นที่สาเหตุ เช่น การเลิกสูบบุหรี่หรือการหยุดใช้สารยับยั้งเอซีอี แพทย์มักสั่งจ่ายยาแก้ไอเช่นโคดีอีนหรือเดกซ์โทรเมทอร์แฟน แต่ก็ไม่แนะนำสำหรับเด็ก การรักษาอื่น ๆ อาจมุ่งลดการอักเสบของทางเดินหายใจหรือกระตุ้นให้ขับเสมหะ เพราะเป็นรีเฟล็กซ์ป้องกันตัวตามธรรมชาติ การยับยั้งการไอจึงอาจมีผลเสียโดยเฉพาะถ้าไอแบบมีเสมหะ[3]
อาการ
[แก้]ภาวะแทรกซ้อน
[แก้]ภาวะแทรกซ้อนของการไอสามารถจำแนกได้เป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง แบบเฉียบพลันได้แก่อาการหมดสติจากการไอ (อาการเป็นลมเพราะเลือดไหลไปเลี้ยงสมองลดลงเมื่อไออย่างยาวนานและรุนแรง) นอนไม่หลับ อาเจียนจากการไอ การตกเลือดใต้เยื่อตา อุจจาระราดเพราะไอ และในหญิงที่มดลูกหย่อน ปัสสาวะราดเมื่อไอ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยรวมถึงไส้เลื่อนที่ช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน กระดูกซี่โครงซี่ล่าง ๆ แตกเพราะล้า และการอักเสบของกระดูกอ่อนซี่โครง (costochondritis) การไอเรื้อรังหรือรุนแรงอาจทำกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้เสียหาย แล้วทำให้กระเพาะปัสสาวะหย่อน (cystocele)[4]
การวินิจฉัยแยกโรค
[แก้]อาการไอในเด็กอาจเป็นรีเฟล็กซ์ปกติหรือมีเหตุแฝง[5] ในเด็กสุขภาพดี การไอวันละสิบครั้งอาจปกติโดยไม่มีโรคใด ๆ[5] สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการไอเฉียบพลันหรือกึ่งเฉียบพลันคือการติดเชื้อทางเดินหายใจ[5] ผู้ใหญ่สุขภาพดีไอโดยเฉลี่ยวันละ 18.8 ครั้ง แต่ในกลุ่มประชากรที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ ค่ามัชฌิมเรขาคณิตอยู่ที่ 275 ครั้ง/วัน[6] ในผู้ใหญ่ที่ไอเรื้อรัง คือไอนานกว่า 8 สัปดาห์ มากกว่า 90% เกิดจากเสมหะในคอ โรคหืด หลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก และโรคกรดไหลย้อน[5] สาเหตุของอาการไอเรื้อรังในเด็กก็คล้ายกันโดยเพิ่มโรคหลอดลมอักเสบเหตุติดเชื้อ[5]
การติดเชื้อ
[แก้]อาการไออาจเป็นผลของการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัดธรรมดา โควิด-19 หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ปอดบวม ไอกรน หรือวัณโรค ในกรณีส่วนใหญ่ การไอเฉียบพลันคือการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ มีสาเหตุมาจากไข้หวัดธรรมดา[7] ในผู้ป่วยที่มีผลเอกซเรย์ปอดปกติ ทั่วไปจะไม่เป็นวัณโรค โรคไอกรนกำลังยอมรับกันมากขึ้นว่าเป็นสาเหตุของอาการไอที่เป็นปัญหาในผู้ใหญ่
หลังจากการติดเชื้อทางเดินหายใจหายดีขึ้นแล้ว ผู้ป่วยก็อาจยังคงมีอาการไอ ซึ่งมักเป็นการไอแห้ง ไม่ก่อเสมหะ อาการอาจรวมถึงอาการแน่นหน้าอกและคันคอ อาการไออาจคงอยู่เป็นสัปดาห์ ๆ หลังป่วย เหตุอาจเป็นการอักเสบคล้ายกับที่พบในโรคจากการใช้งานซ้ำซาก เช่น กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล การไอซ้ำ ๆ ก่อการอักเสบ ซึ่งสร้างความไม่สบาย แล้วจึงทำให้ไอมากขึ้น[8] การไอหลังติดเชื้อมักไม่ตอบสนองต่อการรักษาการไอทั่วไป ยาที่ใช้สำหรับอาการไอหลังติดเชื้ออาจรวมถึง ipratropium เพื่อรักษาการอักเสบ[8] และยาแก้ไอเพื่อลดความถี่การไอจนกว่าการอักเสบจะหายไป[9] การอักเสบอาจเพิ่มความไวต่อปัญหาอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น ภูมิแพ้ ดังนั้น การรักษาสาเหตุอื่นของการไอ (เช่น ด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศหรือยาแก้แพ้) ก็อาจช่วยเร่งการฟื้นตัว[10]
โรคทางเดินหายใจชนิดรีแอกทีฟ
[แก้]เมื่อการไอเป็นอาการเดียวที่พบในผู้ป่วยที่ผ่าเกณฑ์เป็นโรคหอบหืด (คือหลอดลมไวในการตอบสนองมากผิดปกติโดยสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้) นี่คือโรคหืดที่มีอาการไอ (cough-variant asthma) อาการไอจากภูมิแพ้เกี่ยวข้องกับหลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก อาการไอจากภูมิแพ้จะเกิดในบุคคลที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ มีเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลจำนวนมากในเสมหะ แต่ทางเดินหายใจทำงานและตอบสนองได้ตามปกติ ส่วนหลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิกมีลักษณะเฉพาะคือมีเซลล์อีโอซิโนฟิลในเสมหะ และในน้ำล้างหลอดลมและถุงลมปอด (bronchoalveolar lavage) โดยหลอดลมจะไม่ไวตอบสนองมากผิดปกติหรือมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว[11] อาการเช่นนี้มักรักษาได้ด้วยคอร์ติโคสเตอรอยด์ อาการไอสามารถแย่ลงได้ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยเป็นการกำเริบเฉียบพลัน (acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease)
โรคหืดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการไอเรื้อรังในผู้ใหญ่และเด็ก การไออาจเป็นอาการเดียวที่ผู้ป่วยมีจากโรคหืด อาการอื่น ๆ ของโรครวมถึงอาการหายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบาก และรู้สึกแน่นหน้าอก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค สามารถรักษาได้ด้วยยาขยายหลอดลม (ยาที่ทำให้ทางเดินหายใจขยายตัว) หรือยาสเตียรอยด์ชนิดสูด การรักษาโรคหืดปกติจะทำให้อาการไอหายไป
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังมีนิยามทางคลินิกว่า เป็นการไอเรื้อรังที่มีเสมหะและน้ำมูกเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน 2 ปี ผู้สูบบุหรี่ที่ไอมักเป็นโรคนี้ ควันบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบ หลั่งเมือกในทางเดินหายใจ และทำให้กำจัดเมือกออกจากทางเดินหายใจได้ยาก การไอช่วยกำจัดสารคัดหลั่งเช่นนี้ออก และอาจรักษาได้โดยการเลิกสูบบุหรี่ แต่ก็อาจเกิดจากโรคฝุ่นจับปอดและการสูดดมควัน/ไอระเหยเป็นเวลานานได้
โรคกรดไหลย้อน
[แก้]ในผู้ที่ไอโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรพิจารณาโรคกรดไหลย้อน[5] เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร อาการที่มักพบได้แก่ อาการแสบร้อนกลางอก รสเปรี้ยวในปาก หรือความรู้สึกว่ามีกรดไหลย้อนที่หน้าอก แม้ว่ามากกว่าครึ่งของผู้ที่มีอาการไอจากโรคกรดไหลย้อนจะไม่มีอาการอื่น ๆ การตรวจวัดความเป็นกรดในหลอดอาหารสามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ บางครั้งโรคกรดไหลย้อนสามารถทำโรคทางเดินหายใจที่มีอาการไอ เช่น โรคหืดหรือหลอดลมอักเสบ ให้ยุ่งยากมากขึ้น การรักษารวมถึงการใช้ยาลดกรดและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยจะพิจารณาการผ่าตัดในกรณีที่ควบคุมโรคด้วยวิธีอนุรักษนิยมไม่ได้
มลพิษทางอากาศ
[แก้]การไออาจมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ รวมถึงควันบุหรี่ ฝุ่นละออง แก๊สระคายเคือง และความชื้นในบ้าน[5] คุณภาพอากาศที่ไม่ดีส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสุขภาพมนุษย์ ส่วนใหญ่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่ะละคนจะมีปฏิกิริยาต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับมลพิษที่ได้รับ ระดับการสัมผัส สุขภาพ และพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น ผู้ออกกำลังกายกลางแจ้งในวันที่อากาศร้อนและมีหมอกควัน ย่อมสัมผัสกับมลพิษอากาศเพิ่ม
สิ่งแปลกปลอม
[แก้]บางครั้งอาจตั้งความสงสัยได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น ถ้าอาการไอเริ่มขึ้นทันทีขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอาหาร ในกรณีที่พบน้อย ไหมเย็บแผลที่หลงอยู่ในแขนงหลอดลมก็ทำให้ไอได้ การไอเกิดจากความแห้งเหตุหายใจทางปาก หรือจากอาหารที่เข้าไปในหลอดลมซ้ำ ๆ ในผู้ที่มีปัญหาการกลืน[12][13]
การไอเพราะยา
[แก้]ยาที่ใช้รักษาโรคอื่นที่ไม่ใช่อาการไอ เช่น สารยับยั้งเอซีอีซึ่งมักใช้รักษาความดันโลหิตสูง สามารถทำให้ไอโดยเป็นผลข้างเคียงได้ ดังนั้น การหยุดยาก็จะทำให้หายไอ[14] ยากลุ่มเบตาบล็อกเกอร์ซึ่งใช้รักษาความดันโลหิตสูง ก็สามารถทำให้ไออย่างไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน[2]
อาการไอแบบทิก
[แก้]อาการไอแบบทิก (tic cough) ซึ่งเคยเรียกตามภาษาอังกฤษว่า อาการไอแบบเป็นนิสัย เป็นอาการไอที่รักษาได้ด้วยการบำบัดทางพฤติกรรมหรือจิตเวชหลังจากที่ได้แยกสาเหตุทางกายภาพออกแล้ว การไม่ไอขณะนอนหลับเป็นเรื่องสามัญ แต่ก็ใช้เพื่อวินิจฉัยไม่ได้ เชื่อว่าพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่[15]
การไอเพราะระบบประสาท
[แก้]การไอเรื้อรังบางกรณีอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก[16] การรักษาอาจรวมถึงการใช้ยารักษาอาการปวดประสาท (neuralgia) การไอสามารถเกิดขึ้นในโรคติกส์/โรคที่เกี่ยวกับอาการกระตุก เช่น กลุ่มอาการตูแร็ต แต่ก็ต่างกับการกระแอมที่มีในโรคนี้
อื่น ๆ
[แก้]การไออาจเกิดจากโรคที่มีผลต่อเนื้อเยื่อปอด เช่น โรคหลอดลมโป่งพอง, ซิสติกไฟโบรซิส, interstitial lung disease และ sarcoidosis การไอยังอาจกระตุ้นได้โดยก้อนเนื้องอกในปอดทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นมะเร็ง หรือก้อนเนื้อในเมดิแอสตินัม/ประจันอก ภาวะต่าง ๆ ที่ช่องหูชั้นนอก (เช่น มีขี้หู) สามารถทำให้ประสาทระคายเคืองแล้วทำให้ไอได้ โรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีอาการไอรวมทั้ง ภาวะหัวใจวาย เนื้อเยื่อปอดตาย (pulmonary infarction) และท่อเลือดแดงโป่งพอง การไอเวลากลางคืนสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย เนื่องจากห้องหัวใจล่างซ้ายไม่สามารถสูบฉีดให้เลือดเดินไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เลือดคั่งในหลอดเลือดดำจากปอด ซึ่งนำไปสู่ภาวะปอดบวมน้ำและการไอต่อมา[17] สาเหตุอื่นของการไอเวลากลางคืนรวมถึงโรคหืด เสมหะในคอ และโรคกรดไหลย้อน[18] สาเหตุอีกประการของการไอที่เกิดขณะนอนหงายคือ การสำลักซ้ำ ๆ[17]
เพราะมีคุณสมบัติระคายเคืองเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สารแคปไซซินจึงใช้อย่างแพร่หลายเพื่อกำหนดขีดจำกัดของการไอและเพื่อกระตุ้นการไอในการวิจัยยาแก้ไอทางคลินิก แคปไซซินเป็นสารที่ทำให้พริกมีรสเผ็ด จึงอาจอธิบายได้ว่าทำไมคนงานในโรงงานพริกจึงเกิดอาการไอ
การไอยังอาจใช้เพื่อเหตุผลทางสังคมด้วย ดังนั้นจึงอาจเป็นเรื่องตั้งใจ การไอโดยตั้งใจ เช่น การกระแอม สามารถใช้เรียกความสนใจหรือแสดงความไม่พอใจ โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของอวัจนภาษา[19][20]
การเคลียร์ทางเดินหายใจ
[แก้]การไอและการหายใจแรง ๆ เป็นวิธีสำคัญในการกำจัดเสมหะในโรคหลายอย่าง เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
พยาธิสรีรวิทยา
[แก้]การไอเป็นรีเฟล็กซ์ป้องกันตนในคนที่มีสุขภาพดี โดยสภาพทางจิตใจจะมีอิทธิพล[5] รีเฟล็กซ์การไอเริ่มต้นจากการกระตุ้นเส้นใยประสาทนำเข้าสองประเภท ได้แก่ ตัวรับที่ปรับตัวเร็วและมีปลอกไมอีลิน และเส้นใยชนิดซีซึ่งไม่มีปลอกไมอีลินและมีปลายประสาทอยู่ในปอด[21]
แนวทางการวินิจฉัย
[แก้]ลักษณะของการไอสามารถช่วยวินิจฉัยโรคได้ ตัวอย่างเช่น เสียง "วู้ป" (whoop) ขณะหายใจเข้าเมื่อไอ จะเพิ่มความเป็นไปได้เกือบสองเท่าว่าเป็นโรคไอกรน
เลือดอาจออกในปริมาณเล็กน้อยจากการไอรุนแรงโดยมีสาเหตุได้หลายอย่าง แต่เลือดออกมากอาจบ่งชี้ถึงโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมโป่งพอง วัณโรค หรือมะเร็งปอดปฐมภูมิ[22]
การตรวจเพิ่มอาจรวมการตรวจทางห้องแหล็บ การเอกซเรย์ และการทดสอบการทำงานของปอด (spirometry)[5]
การจำแนกประเภท
[แก้]การไอสามารถจำแนกได้ตามระยะเวลา ลักษณะ คุณภาพ และช่วงเวลาที่เกิด[5] การไออาจเป็นแบบเฉียบพลัน (เกิดขึ้นทันที) ถ้าเกิดขึ้น <3 สัปดาห์ แบบกึ่งเฉียบพลันถ้าเกิดขึ้น 3–8 สัปดาห์ และแบบเรื้อรังเมื่อเกิดขึ้น >8 สัปดาห์[5] อาจเป็นแบบไม่มีเสมหะ (แห้ง) หรือแบบมีเสมหะ (แบบเกิด phlegm แล้วไอออกมาเป็น sputum) อาจเกิดขึ้นเฉพาะตอนกลางคืน เกิดขึ้นทั้งกลางคืนกลางวัน หรือเกิดขึ้นเฉพาะกลางวันเท่านั้น[5]
มีอาการไอลักษณะเฉพาะหลายอย่าง แม้ลักษณะเหล่านี้จะไม่มีประโยชน์เพื่อวินิจฉัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีกับเด็ก[5] การไอเสียงก้องหรือเสียงเห่าเป็นอาการทั่วไปของโรคครุป[23] การไอสั้น ๆ ติด ๆ กัน เป็นลักษณะคลาสสิกของโรคปอดบวมจากเชื้อคลามิเดียในทารกแรกเกิด[24]
การรักษา
[แก้]การรักษาอาการไอในเด็กจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ 50% จะหายเองภายใน 10 วันและ 90% ภายใน 25 วัน[25]
ตามคำแนะนำของสมาคมวิทยาลัยกุมารแพทย์อเมริกัน (AAP) การใช้ยาแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการมีหลักฐานสนับสนุนน้อยมาก จึงไม่แนะนำให้ใช้รักษาอาการไอในเด็ก[5] มีหลักฐานเบื้องต้นว่าการใช้น้ำผึ้งดีกว่าการไม่รักษาหรือการใช้ยาไดเฟนไฮดรามีนเพื่อลดอาการไอ[26] แม้จะบรรเทาอาการไอได้ไม่ดีเท่ากับยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน แต่ก็สามารถลดระยะเวลาของอาการไอได้ดีกว่ายาหลอกและยาซัลบูทามอล[26] ในเด็กที่มีอาการไอเรื้อรังอาจทดลองใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบยืดเยื้อเหตุแบคทีเรีย หรือยาสเตียรอยด์ชนิดสูดเพื่อรักษาโรคหืด[5] ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการรักษาเด็กที่ไอโดยไม่มีโรคโดยเฉพาะด้วยยาแอนติโคลิเนอร์จิกชนิดสูด[27]
เนื่องจากการไอสามารถแพร่โรคผ่านละอองฝอยที่ติดเชื้อได้ จึงแนะนำให้ปิดปากและจมูกด้วยแขนท่อนล่าง ข้อพับศอกด้านใน กระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้าขณะไอ[28]
ระบาดวิทยา
[แก้]อาการไอเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในการไปพบแพทย์ปฐมภูมิในประเทศสหรัฐอเมริกา[5]
สัตว์อื่น ๆ
[แก้]สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทะเล เช่น โลมาและวาฬไม่ไอ[29] สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่นแมลงและแมงมุม ไม่สามารถไอหรือจามได้ จระเข้ตีนเป็ดสามารถไอได้[30] สัตว์เลี้ยงและสัตว์มีกระดูกสันหลังเช่นสุนัขและแมวอาจไอเพราะโรค ภูมิแพ้ ฝุ่น หรือสำลัก[31] โดยเฉพาะแมว ซึ่งอาจไอก่อนจะสำรอกก้อนขนออกมา[31]
สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ม้าอาจไอเพราะติดเชื้อ หรือเพราะการระบายอากาศไม่ดีและเพราะฝุ่นในที่อากาศไม่ถ่ายเท[32] โรคทางเดินหายใจแบบติตต่อในสุนัข อาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย
กวางอาจไอคล้ายกับมนุษย์อันเป็นผลจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบที่เกิดจากพยาธิชนิด Dictyocaulus[33]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Chung, KF; Pavord, ID (April 2008). "Prevalence, pathogenesis, and causes of chronic cough". Lancet. 371 (9621): 1364–1374. doi:10.1016/S0140-6736(08)60595-4. PMID 18424325. S2CID 7810980.
- ↑ 2.0 2.1 Guidelines, Therapeutic (2021). Cough (ภาษาEnglish). Therapeutic Guidelines Ltd.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Pavord, ID; Chung, KF (April 2008). "Management of chronic cough". Lancet. 371 (9621): 1375–1384. doi:10.1016/S0140-6736(08)60596-6. PMID 18424326. S2CID 30806409.
- ↑ "Cystocele (Prolapsed Bladder) | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 Goldsobel, AB; Chipps, BE (March 2010). "Cough in the pediatric population". J. Pediatr. 156 (3): 352–358.e1. doi:10.1016/j.jpeds.2009.12.004. PMID 20176183.
- ↑ Nadia, Yousaf; Monteiro, William; Matos, Sergio; Birring, Surinder S.; Pavord, Ian D. (2013). "Cough frequency in health and disease". European Respiratory Journal. 41 (1): 241–243. doi:10.1183/09031936.00089312. PMID 23277523.
- ↑ Dicpinigaitis, PV; Colice, GL; Goolsby, MJ; Rogg, GI; Spector, SL; Winther, B (2009). "Acute cough: a diagnostic and therapeutic challenge". Cough. 5: 11. doi:10.1186/1745-9974-5-11. PMC 2802352. PMID 20015366.
In the vast majority of cases, acute cough is due to acute viral upper respiratory tract infection (URTI), i.e., the common cold.
- ↑ 8.0 8.1 Braman, SS (January 2006). "Postinfectious cough: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 138S–146S. doi:10.1378/chest.129.1_suppl.138S. PMID 16428703.
- ↑ "Cystic fibrosis - Diagnosis and treatment - Mayo Clinic". www.mayoclinic.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
- ↑ "UpToDate". www.uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
- ↑ Niimi, A (February 2011). "Cough and Asthma". Current Respiratory Medicine Reviews. 7 (1): 47–54. doi:10.2174/157339811794109327. PMC 3182093. PMID 22081767.
- ↑ "Cough". Mayo Clinic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
- ↑ "Why You Cough". WebMD (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
- ↑ Dicpinigaitis, PV (January 2006). "Angiotensin-converting enzyme inhibitor-induced cough: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 169S–173S. doi:10.1378/chest.129.1_suppl.169S. PMID 16428706.
- ↑ Irwin, RS; Glomb, WB; Chang, AB (January 2006). "Habit cough, tic cough, and psychogenic cough in adult and pediatric populations: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 174S–179S. doi:10.1378/chest.129.1_suppl.174S. PMID 16428707.
- ↑ Gibson, PG; Ryan, NM (August 2011). "Cough pharmacotherapy: current and future status". Expert Opinion on Pharmacotherapy. 12 (11): 1745–1755. doi:10.1517/14656566.2011.576249. PMID 21524236. S2CID 24560981.
- ↑ 17.0 17.1 NCBI » Bookshelf » Clinical Methods » The Pulmonary System » Cough and Sputum Production By Sattar Farzan. Extracted from the book Clinical Methods, 3rd edition The History, Physical, and Laboratory Examinations. Edited by H Kenneth Walker, MD, W Dallas Hall, MD, and J Willis Hurst, MD. Boston: Butterworths; 1990.
- ↑ "C.Chronic Cough". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10. National Lung Health Education Program > C. Chronic Cough] The Snowdrift Pulmonary Foundation, Inc. 2000.
- ↑ "ahem". Onomatopoeia List. 2013-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
- ↑ Nänny, Max; Fischer, Olga (1999). Form Miming Meaning: Iconicity in Language and Literature (ภาษาอังกฤษ). John Benjamins Publishing. ISBN 9789027221797. สืบค้นเมื่อ 2019-07-25.
- ↑ Mazzone, Stuart B.; Undem, Bradley J. (2016-07-01). "Vagal Afferent Innervation of the Airways in Health and Disease". Physiological Reviews. 96 (3): 975–1024. doi:10.1152/physrev.00039.2015. ISSN 0031-9333. PMC 4982036. PMID 27279650.
- ↑ Lechtzin, Noah. "Cough in Adults". Merck Manuals. สืบค้นเมื่อ 2017-04-07. Last full review/revision July 2016
- ↑ Bjornson, CL; John son, DW (July 2007). "Croup in the paediatric emergency department". Paediatr Child Health. 12 (6): 473–477. doi:10.1093/pch/12.6.473. PMC 2528757. PMID 19030411.
- ↑ Miller, KE (April 2006). "Diagnosis and treatment of Chlamydia trachomatis infection". Am Fam Physician. 73 (8): 1411–6. PMID 16669564.
- ↑ Thompson, M.; Vodicka, T. A.; Blair, P. S.; Buckley, D. I.; Heneghan, C.; Hay, A. D. (2013-12-11). "Duration of symptoms of respiratory tract infections in children: systematic review". BMJ. 347 (dec11 1): f7027. doi:10.1136/bmj.f7027. PMC 3898587. PMID 24335668.
- ↑ 26.0 26.1 Oduwole, O; Udoh, EE; Oyo-Ita, A; Meremikwu, MM (2018-04-10). "Honey for acute cough in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4 (12): CD007094. doi:10.1002/14651858.CD007094.pub5. PMC 6513626. PMID 29633783.
- ↑ Chang, A. B.; McKean, M.; Morris, P. (2004). "Inhaled anti-cholinergics for prolonged non-specific cough in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2003 (1): CD004358. doi:10.1002/14651858.CD004358.pub2. ISSN 1469-493X. PMC 8823516. PMID 14974067.
- ↑ "Coughing and Sneezing". US Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-04-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14.
- ↑ Woodard, James C.; Zam, Stephen G.; Caldwell, David K.; Caldwell, Melba C. (2016-08-29). "Some Parasitic Diseases of Dolphins". Pathologia Veterinaria. 6 (3): 257–272. doi:10.1177/030098586900600307. PMID 5817449. S2CID 26842976.
- ↑ "Crocodile 'cough' caught on camera in Florida Everglades". WFLA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-23. สืบค้นเมื่อ 2024-06-13.
- ↑ 31.0 31.1 "Is It Normal for Cats To Cough?". Pet Health Network. สืบค้นเมื่อ 2018-04-23.
- ↑ "Coughing in horses explained". Your Horse Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-23.
- ↑ Pyziel, Anna M.; Laskowski, Zdzisław; Demiaszkiewicz, Aleksander W.; Höglund, Johan (2017). "Interrelationships of Dictyocaulusspp. In Wild Ruminants with Morphological Description of Dictyocaulus cervin. Sp. (Nematoda: Trichostrongyloidea) from Red Deer,Cervus elaphus". Journal of Parasitology. 103 (5): 506–518. doi:10.1645/16-75. PMID 28585897. S2CID 25720548.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Carroll, Thomas L., บ.ก. (2019). Chronic Cough. Plural Publishing. ISBN 9781635500707. LCCN 2018055141.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |