เซ็นเซ
ซินแส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 先生 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "[ผู้]เกิดก่อน" > "ผู้อาวุโส" | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | Tiên sinh | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮ้าน-โนม | 先生 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮันกึล | 선생 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คันจิ | 先生 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮิรางานะ | せんせい | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คาตากานะ | センセイ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
คำศัพท์ "先生" อ่านเป็น เซ็นเซ (ญี่ปุ่น), เซียนเชิง/ซินแส (จีน), ซ็อนแซ็ง (เกาหลี) และ tiên sinh (เวียดนาม) เป็นคำแสดงความเคารพที่ใช้ในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก โดยมีความหมายตรงตัวว่า "บุคคลที่เกิดก่อน" หรือ "ผู้มาก่อน"[1] ในการใช้งานทั่วไปใช้คำนี้หลังชื่อบุคคล และมีความหมายว่า "ครู"[2][3] คำนี้ยังสามารถใช้เป็นตำแหน่งเพื่ออ้างถึง หรือเรียกอาชีพกับผู้มีอำนาจประเภทอื่น เช่น นักบวช นักบัญชี ทนาย แพทย์ และนักการเมือง[4] หรือเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่บรรลุถึงระดับความเชี่ยวชาญในศิลปะรูปแบบหนึ่งหรือทักษะอื่น ๆ
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]อักษรสองตัวที่เป็นต้อตอคำศัพท์นี้แปลตรงตัวเป็น "เกิดก่อน" และเป็นนัยถึงผู้สอนโดยอาศัยภูมิปัญญาผ่านวัยและประสบการณ์[5]
ในภาษาจีน คำนี้มีความหมายว่าผู้เกิดก่อนเช่นกัน ใช้เรียกแพทย์ อาจารย์ หรือผู้รู้ แต่ปัจจุบัน ในภาษาจีนกลาง คำนี้แปลว่า นาย คือคำที่ใช้นำหน้าผู้ชาย หรือใช้เรียกผู้ชาย เช่น 先生: คุณผู้ชาย 林先生: คุณผู้ชายลิ้ม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "先生". Kōjien Japanese Dictionary.
- ↑ "Sense". Kenkyusha's New Japanese-English Dictionary.
- ↑ "先生 (xiānsheng)". Collins Mandarin Chinese Dictionary.
- ↑ Tuttle (1973). Secrets of the Samurai. Ratti & Westbrook.
- ↑ Akiyama, Jun. "Aikido Information: Language: Sensei/Shihan as "Teacher" in Japanese". AikiWeb. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.