เจมเบ
เจมเบทำจากไม้เลนเกจากประเทศมาลี | |
เครื่องกระทบ | |
---|---|
ประเภท | เครื่องหนัง |
Hornbostel–Sachs classification | 211.261.1 (กลองรูปถ้วยมีหนังด้านหนึ่ง อีกด้านเปิดโล่ง ใช้ตีโดยตรง) |
คิดค้นเมื่อ | ประมาณ ค.ศ. 1200 |
ช่วงเสียง | |
65–1000 Hz. | |
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง | |
ดูนูน, บูการาบู, อาชีโก, กลองถ้วย | |
นักดนตรี | |
โบโลกาดา คอนเด, ซอนกาโล คูลีบาลี, มามาดี เคตา, ฟามูดู โคนาเต, ดริสซา โคเน | |
บทความที่เกี่ยวข้อง | |
ดูนูน, ชาวมันดินกา |
เจมเบ (อักษรโรมัน: djembe, jembe, มานินกา: jembe [dʲẽbe],[1] อักษรอึนโก: ߖߋ߲߰ߓߋ[2]) เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่มีต้นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก ลักษณะเป็นกลองรูปถ้วย ตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น เลนเก (Afzelia africana) จัลลา (Khaya senegalensis) และดูกูรา (Cordyla africana)[3] หนังกลองทำจากหนังไม่ผ่านการฟอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังแพะ ขึงด้วยเชือก เส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 30–38 เซนติเมตร (12–15 นิ้ว) สูง 58–63 เซนติเมตร (23–25 นิ้ว) และหนัก 5–13 กิโลกรัม (11–29 ปอนด์) ขึ้นอยู่กับขนาดและวัสดุที่ใช้ เจมเบส่วนใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 33–36 เซนติเมตร (13–14 นิ้ว) และขนาดกลางมีน้ำหนัก 9 กิโลกรัม (20 ปอนด์) ชื่อเจมเบมาจากวลีในภาษาบัมบารา "Anke djé, anke bé" แปลว่า "ทุกคนมารวมกันอย่างสันติ"[4]
เจมเบมีที่มาจากจักรวรรดิมาลี[5] เมื่อประมาณ ค.ศ. 1230 สันนิษฐานว่ารูปถ้วยของกลองพัฒนามาจากครก ซึ่งเป็นอุปกรณ์เตรียมอาหารที่ใช้แพร่หลายในแอฟริกาตะวันตก[6] การเล่นเจมเบจำกัดอยู่ในหมู่ชนพื้นเมืองจนกระทั่งการให้เอกราชแอฟริกาช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เมื่อโฟเดบา เคตาก่อตั้งเลบัลเลแอฟริแกง (Les Ballets Africains) ในประเทศกินีเพื่อแสดงการเต้นรำดั้งเดิมของแอฟริกาในประเทศต่าง ๆ[6] หลังจากนั้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960–1980 มีนักเล่นเจมเบจำนวนมากที่ย้ายไปอยู่ประเทศตะวันตกและเริ่มสอนการเล่นเจมเบ[7][8][9] นอกจากนี้สารคดี Djembefola โดยโลร็อง เชอวาเลียในปี ค.ศ. 1991 ยังมีส่วนทำให้เจมเบเป็นที่รู้จักในวงกว้าง[10][11]
เจมเบเป็นกลองที่สร้างเสียงได้หลากหลาย เสียงพื้นฐานมี 3 เสียง ได้แก่ bass, tone, slap (ต่ำ, กลาง, สูง ตามลำดับ) เสียงต่ำมาจากการตีตรงกลางหนังกลอง ส่วนเสียงกลางและสูงมาจากการตีใกล้ขอบกลอง เจมเบเป็นกลองที่ให้เสียงดังมากจนได้ยินชัดเจนเมื่อเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ชาวมันดินกากล่าวว่าผู้เล่นที่มีความสามารถคือผู้ที่ทำให้เจมเบ "พูดได้" กล่าวคือทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมขณะเล่นเจมเบ ตามธรรมเนียมมีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่เล่นเจมเบ ขณะที่ผู้หญิงจะเล่นเพอร์คัชชันอื่น ๆ เช่น เชเกเร กาชีชี การิกนัน ในปัจจุบันยังถือเป็นเรื่องยากในการพบเห็นผู้หญิงเล่นเจมเบ และหญิงชาวแอฟริกามักแสดงความประหลาดใจเมื่อเห็นนักเล่นเจมเบที่เป็นผู้หญิง[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Friedländer, Marianne (1992). Lehrbuch des Malinke (ภาษาเยอรมัน) (1st ed.). Leipzig: Langenscheidt. pp. 279, 159–160. ISBN 978-3-324-00334-6.
- ↑ Faya Ismael Tolno (September 2011). "Les Recherches linguistiques de l'école N'ko" (PDF). Dalou Kende (ภาษาฝรั่งเศส). No. 19. Kanjamadi. p. 7. สืบค้นเมื่อ 17 December 2020.
- ↑ Henning, Michi. "Djembe Woods: What You Need to Know". djembefola.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
- ↑ Doumbia, Abdoul; Wirzbicki, Matthew (2005). Anke Djé Anke Bé, Volume 1. 3idesign. p. 86. ISBN 978-0-9774844-0-9.
- ↑ Sidibé, Séga; Piquet, Cyril (2010). Sega Kan Do. Courbevoie Cedex, France: ID Music. ISBN 978-2-7466-1384-3.
- ↑ 6.0 6.1 Billmeier, Uschi; Keïta, Mamady (2004). A Life for the Djembé—Traditional Rhythms of the Malinké (5th ed.). Kirchhasel-Uhlstädt: Arun-Verlag. ISBN 978-3-935581-52-3. First published 1999 as a three-language edition (English, German, and French)
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) ISBN 3-927940-61-5 - ↑ Wassserman, Andy (1995). "Papa Ladji Camara". The African Music Encyclopedia: Music from Africa and the African Diaspora. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2012. สืบค้นเมื่อ January 13, 2012.
- ↑ "Who is Epizo Bangoura?". Epizo Bangoura official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ January 13, 2012.
- ↑ Files, Frederick Rimes (2012). Hairy drums, live sampling: Ethos Percussion Group commissions of 2004 and their "extra-conservatory" elements (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). City University of New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ July 28, 2013.
- ↑ "Laurent Chevallier – Awards – IMdb". IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2009. สืบค้นเมื่อ March 4, 2012.
- ↑ "Marseille Festival of Documentary Film (1991)". IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ October 22, 2013.
- ↑ Flaig, Vera (2010). The Politics of Representation and Transmission in the Globalization of Guinea's Djembé (PDF) (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). University of Michigan. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2014. สืบค้นเมื่อ January 15, 2012.