มอร์ฟีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /ˈmɔːrfiːn/ |
ชื่อทางการค้า | Statex, MSContin, Oramorph, Sevredol และอื่น ๆ[2] |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
Dependence liability | สูง |
Addiction liability | สูง[1] |
ช่องทางการรับยา | การสูดดม (การสูบบุหรี่), ยาพ่น (การสูด), ทางปาก (PO), ไส้ตรง, การฉีดยา (SC), การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM), การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ (IV), การให้ยาทางช่องรอบเยื่อบุไขสันหลัง และการบริหารช่องไขสันหลัง (IT) |
ประเภทยา | โอปิออยด์ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 20–40% (ทางปาก), 36–71% (ไส้ตรง),[3] 100% (IV/IM) |
การจับกับโปรตีน | 30–40% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ 90% |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | 5 นาที (IV), 15 นาที (IM),[4] 20 นาที (PO)[5] |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 2–3 ชั่วโมง |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 3–7 ชั่วโมง[6][7] |
การขับออก | ไต 90%, น้ำดี 10% |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS |
|
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.000.291 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C17H19NO3 |
มวลต่อโมล | 285.343 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
การละลายในน้ำ | HCl & sulf.: 60 mg/mL (20 °C) |
| |
| |
(verify) | |
มอร์ฟีน (อังกฤษ: morphine) ที่ขายภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ เป็นยาระงับปวดชนิดยาเข้าฝิ่น ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดความรู้สึกปวด ใช้ได้ทั้งกับอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง มอร์ฟีนยังมักใช้กับอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและระหว่างการคลอด สามารถให้ทางปาก โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง เข้าหลอดเลือดดำ เข้าช่องว่างระหว่างไขสันหลัง หรือทางทวารหนัก ฤทธิ์สูงสุดอยู่ประมาณ 20 นาทีเมื่อให้เข้าหลอดเลือดดำ และ 60 นาทีเมื่อให้ทางปาก ส่วนระยะออกฤทธิ์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีสูตรออกฤทธิ์ยาว
ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดได้มีความพยายามหายใจลดและความดันเลือดต่ำ มอร์ฟีนมีศักยะสูงสำหรับการติดยาและการใช้เป็นสารเสพติด หากลดขนาดหลังการใช้ระยะยาว อาจเกิดอาการถอนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปมีซึม อาเจียนและท้องผูก แนะนำให้ระวังเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะมอร์ฟีนจะมีผลต่อทารก
ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์เป็นผู้แรกที่แยกมอร์ฟีนระหว่าง ค.ศ. 1803 ถึง 1805 โดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นการแยกสารประกอบกัมมันต์จากพืชครั้งแรก แมร์คเริ่มขายเชิงพาณิชย์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1827 มอร์ฟีนมีใช้กว้างขวางหลังการประดิษฐ์กระบอกฉีดยาชั้นใต้หนังใน ค.ศ. 1853–1855 แซร์ทัวร์เนอร์เดิมตั้งชื่อสารนี้ว่ามอร์เฟียมตามพระนามเทพเจ้าแห่งฝันของกรีก มอร์เฟียส สำหรับแนวโน้มที่จะทำให้หลับ
แหล่งมอร์ฟีนหลักคือการแยกจากฟางป๊อปปี (poppy straw) จากต้นฝิ่น ใน ค.ศ. 2013 มีการผลิตมอร์ฟีนประมาณ 523,000 กิโลกรัม มีการใช้ 45,000 กิโลกรัมโดยตรงสำหรับความปวด ซึ่งเพิ่มสี่เท่าในเวลายี่สิบปี การใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ส่วนมากในประเทศพัฒนาแล้ว มอร์ฟีนประมาณ 70% ใช้ผลิตโอพิออยด์อื่น เช่น ไฮโดรมอร์โฟน อ็อกซีโคโดน เฮโรอีนและเมทาโดน เป็นยา Schedule II ในสหรัฐ Class A ในสหราชอาณาจักร และ Schedule I ในประเทศแคนาดา มอร์ฟีนอยู่ในรายการยาหลักของตัวแบบองค์การอนามัยโลก ยาสำคัญที่สุดที่จำเป็นในระบบสาธารณสุขพื้นฐาน
การใช้ทางการแพทย์
[แก้]ความเจ็บปวด
[แก้]ในการแพทย์นิยมใช้มอร์ฟีนเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดรุนแรงทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง รวมถึงความเจ็บปวดจากโรคหัวใจขาดเลือดและความเจ็บปวดระหว่างการคลอดด้วย[8] ระยะเวลาที่มอร์ฟีนจะมีผลควบคุมความเจ็บปวดได้โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3-7 ชั่วโมง[6][7]
บททบทวนงานวิจัยโดยสถาบันคอเครนเมื่อ ค.ศ. 2016 ให้ข้อสรุปว่ามอร์ฟีนเป็นยาแก้ปวดที่ใช้ได้ผลดีในการบรรเทาความเจ็บปวดจากมะเร็ง ผลข้างเคียงต่างๆ เช่น ความคลื่นไส้ อาการท้องผูก มักเป็นไม่รุนแรงมากถึงขั้นที่จะบดบังประโยชน์จากการรักษานี้[9]
ความเหนื่อย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โรคใช้โอพิออยด์ไม่เหมาะสม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลข้างเคียง
[แก้]- ทำให้สภาพจิตใจอ่อนแอ
- รู้สึกเคลิบเคลิ้มและเป็นสุข (euphoria)
- เซื่องซึม (drowsiness)
- เฉื่อยชา (lethargy)
- สายตาพร่ามัว (blurred vision)
- ทำให้ท้องผูก (constipation)
- เบื่ออาหาร (decreases hunger)
- ยับยั้งอาการไอ (inhibits the cough reflex)
- คลื่นไส้ อาเจียน
- หายใจติดขัด
ใช้ทางการแพทย์
[แก้]วิธีการให้ยา
[แก้]- ยาฉีด (Parenteral)
- ยาฉีด เข้าผิวหนัง (subcutaneous)
- ยาฉีด เข้าเส้น (intravenous)
- แผ่นติดผิวหนัง (slow-release transdermal patch)
- ทางปาก (Orally)
- ยาน้ำ (elixir หรือ solution)
- ยาเม็ด
- ยาเม็ดตอก (tablet form)
- ยาแคปซูล ( capsule ) ที่พบในทางการค้าจะอยู่ในรูป มอร์ฟีน ซัลเฟต , ในกรณีที่เป็นยารูปแบบที่ออกฤทธิ์ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน อาจใช้การบรรจุ pellet ขนาดเล็กภายในแคปซูล ซึ่งในกรณีนี้อัตราการปลดปล่อยยาจะขึ้นอยู่กับความหนาของฟิมล์ที่เคลือบเพลเลทไว้ โดยมอร์ฟีนแคปซูลนี้อาจใช้กินเป็นแคปซูล หรือแกะเปลือกแคปซูลออกแล้วเทเอาเพลเลทใส่ gastotomy tube นอกจากนี้อาจแกะแคปซูลแล้วเทเพลเล็ทใส่เครื่องดื่มหรือาหารเหลวให้คนไข้ก็ได้
- ยาเหน็บ (suppository form)
ข้อบ่งใช้
[แก้]ตามกฎหมายอนุญาตให้มอร์ฟีนได้ดังนี้;
- บรรเทาอาการปวดที่รุนแรงและเฉียบพลัน
- ปวดหลังผ่าตัด
- ปวดจากบาดแผล
- อาการปวดเรื้อรังขนาดกลางและรุนแรง
- อาการปวดจากมะเร็ง
- ปวดจากถอนฟัน
- ใช้ร่วมกับยาชาทั่วไป
- ใช้เป็นยาแก้ไอ (antitussive) ในกรณีไออย่างรุนแรง
- แก้ท้องร่วงเรื้อรัง
ข้อห้ามใช้
[แก้]- ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis)
- ไตวาย (Renal failure)
ประวัติ
[แก้]- ค.ศ. 1803 ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์ (Friedrich Serturner) เภสัชกรชาวเยอรมัน สามารถแยกมอร์ฟีนจากฝิ่นได้ โดยตั้งชื่อตามชื่อเทพเจ้าแห่งการนอนหลับของกรีก มอร์ฟีอัส (Morpheus) ว่า 'มอร์เฟียม' (morphium)
- ค.ศ. 1874 สังเคราะห์เฮโรอีน (Heroin) จากมอร์ฟีนได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bonewit-West K, Hunt SA, Applegate E (2012). Today's Medical Assistant: Clinical and Administrative Procedures (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 571. ISBN 9781455701506.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdrugs.com-page
- ↑ Jonsson T, Christensen CB, Jordening H, Frølund C (April 1988). "The bioavailability of rectally administered morphine". Pharmacology & Toxicology. 62 (4): 203–5. doi:10.1111/j.1600-0773.1988.tb01872.x. PMID 3387374.
- ↑ Whimster F (1997). Cambridge textbook of accident and emergency medicine. Cambridge: Cambridge University Press. p. 191. ISBN 978-0-521-43379-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
- ↑ Liben S (2012). Oxford textbook of palliative care for children (2 ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 240. ISBN 978-0-19-959510-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
- ↑ 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAHFS2015
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRockwood2009
- ↑ "Morphine Sulfate". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2011.
- ↑ Wiffen PJ, Wee B, Moore RA (2016). "Oral morphine for cancer pain". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4: CD003868. doi:10.1002/14651858.CD003868.pub4. PMID 27105021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Morphine Apparently in Your Head เก็บถาวร 2005-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - นิตยสาร Wired article about endogenous production of morphine
- Morphine เก็บถาวร 2005-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Molecule of the Month.