ข้ามไปเนื้อหา

พระกาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาลี
เทวีแห่งเวลา, การสร้าง, การทำลาย และพลังอำนาจ
ส่วนหนึ่งของ ทศมหาวิทยา
สังหารกาลี โดย ราชา รวิ วรรมา
ส่วนเกี่ยวข้องปารวตี, มหากาลี, มหาวิทยา, เทวี, มหาเทวี,ภัทรกาลี,พระแม่จามุณฑา, ปรัตยังคิรา, กาลราตรี
ที่ประทับเมรุ (อาจแตกต่างไปนามการตีความ), มณีทวีป
มนตร์โอม ชยันตี มังคลากาลี ภัทรกาลี กะปาลินี ดูรากา ศะมา ศิวาธาตรี สวาฮา สวาธา นะโม สตุเต
อาวุธซีมีตาร์, ดาบ, ตรีศูล
เพศสตรี
เทศกาลกาลีบูชา, นวราตรี
คู่ครองพระศิวะ

กาลี (/ˈkɑːl/; สันสกฤต: काली, IAST: Kālī, ISO: Kālī) หรือ กาลิกา (สันสกฤต: कालिका, Kālikā, ISO: Kālikā) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ผู้นำของมหาวิทยา กลุ่มตันตรเทวีสิบองค์ซึ่งเป็นปางต่าง ๆ ของพระแม่ปารวตี

ปางดั้งเดิมของพระแม่กาลีคือเป็นผู้ทำลายล้างพลังชั่วร้าย และถือกันว่าพระนางเป็นศักติองค์ที่มีพลังอำนาจมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสี่กาวลมรรค ตามธรรมเนียมตันตระของลัทธิไศวะ ความเชื่อพื้นฐานคือพระนางเป็นผู้ทำลายความชั่วร้ายและปกป้องผู้บริสุทธิ์ ในยุคถัด ๆ มา มีการเคารพบูชาพระแม่กาลีในสถานะต่าง ๆ ทั้งในฐานะเทวีสูงสุด, พระมารดาแห่งเอกภพ, อาทิศักติ หรือ อาทิปรศักติ[1][2][3] ธรรมเนียมศักตะและตันตระบางธรรมเนียมบูชาพระนางเป็นความจริงสูงสุด ("พรหม")[3] นอกจากนี้ยังถือว่าพระนางเป็นเทวดาผู้พิทักษ์บุคคลผู้ที่เข้าสู่โมกษะ (การหลุดพ้น)[1] รูปเคารพทั่วไปของพระแม่กาลีมักแสดงพระนางกำลังยืนหรือร่ายรำอยู่บนร่างกายของพระศิวะ คู่ครองของพระนาง ซึ่งนอนอย่างสงบเสงี่ยมอยู่เบื้องใต้ มีการบูชาพระนางในบรรดาศาสนิกชนของศาสนาฮินดูทั้งในอินเดีย, เนปาล[4] และหลายแห่งทั่วโลก

ศัพทมูล

[แก้]

กาลี (Kālī) เป็นรูปสตรีของคำว่า กาล (Kāla) ซึ่งแปลว่า "เวลา" หรือ "ความเติมเต็มของเวลา") และอาจตีความได้ว่าเวลาในบริบทนี้หมายถึง "การเปลี่ยนแปลงนิรันดร์ของธรรมชาติ ซึ่งท้ายที่สุดจะนำพาทุกสิ่งไปสู่ความตาย" นามรองอื่น ๆ ที่ปรากฏ เช่น กาลราตริ (Kālarātri; "ค่ำคืนมืดมิด") และ กาลิกา (Kālikā; "ผู้มีกายดำ")[5]

คำพ้องรูปพ้องเสียง กาละ (กาละ; เวลา) นั้นต่างกับ กาละ (สีดำ) โดยสิ้นเชิง แต่ต่อมาได้ถูกนำมาเกี่ยวกันผ่านศัพทมูลสมัยนิยม การนำมาเกี่ยวกันนี้พบปรากฏในความตอนหนึ่งในมหาภารตะ ซึ่งแทนภาพของตัวละครสตรีซึ่งทำหน้าที่ขนย้ายวิญญาณของนักรบที่ถูกสังหารและสัตว์ ด้วยชื่อ กาลีมาตา ("มารดาสีดำ") และ กาลี ซึ่งนักวิชาการ คอเบิร์น ระบุว่าสามารถอ่านคำนี้ได้ทั้งในรูปของวิสามานยนาม หรือในแง่ว่าเป็นคำอธิบายของ "ผู้ซึ่งมีสีน้ำเงินเข้ม"[5] นอกจากนี้ กาละ ยังเป็นนามรองหนึ่งของพระศิวะ คู่ครองของพระแม่กาลีเช่นกัน[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Hawley, John Stratton; Wulff, Donna Marie (1982). Sri Ramakrishna: The Spiritual Glow. Motilal Banarsidass. p. 152.
  2. Harding, Elizabeth U. (1993). Kali: The Black Goddess of Dakshineswar. Nicolas Hays. ISBN 978-8120814509.
  3. 3.0 3.1 McDaniel, June (2004). Offering Flowers, Feeding Skulls: Popular Goddess Worship in West Bengal. Oxford University Press.
  4. McDermott, Rachel Fell (2003). Encountering Kali: In the Margins, at the Center, in the West. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0520232402.
  5. 5.0 5.1 Coburn, Thomas (1984). Devī-Māhātmya – Crystallization of the Goddess Tradition. Motilal Banarsidass, Delhi. ISBN 978-81-208-0557-6.
  6. McDermott, Rachel Fell (2001). Singing to the Goddess: Poems to Kali and Uma from Bengal. Oxford University Press. ISBN 978-0198030706.