ข้ามไปเนื้อหา

ปูรณฆฏะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูรณฆฏะ

ปูรณฆฏะ (ปูรฺณฆฏ [ปูรณะฆะฏะ]; อักษรเทวนาครี: पूर्णघट) หรือ กลศะ (कलश) บางทีอาจเรียกว่า ปูรณกลศะ (पूर्णकलश) หรือ ปูรณกุมภะ (पूर्णकुम्भ) เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ในภูมิภาคเอเชียใต้ ปรากฏในงานศิลป์ของศาสนาฮินดู เชน และพุทธ[1] เชื่อว่าพระเป็นเจ้าจะดลบันดาลให้เจ้าของประสบความสำเร็จสมดังปรารถนา และบันดาลสมบัติทั้งปวงให้[2]

ในไทยเรียกว่า หม้อดอก เป็นหม้อที่น้ำเต็มเปี่ยม เป็นสัญลักษณ์แห่งความร่มเย็น ความสมบูรณ์พูนสุข และน้ำพระทัยที่เปี่ยมพระเมตตาของพระพุทธเจ้าที่มีต่อชาวโลก ส่วนภาพไม้เลื้อยแผ่ออกมาทั้งสองข้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งความงอกงาม ชีวิต และการสร้างสรรค์[3] ในคติล้านนาจะมีการจัดหม้อดอกเป็นสิ่งบูชาพระพุทธรูปตามหิ้งพระ เพื่อความรุ่งเรืองและสมบูรณ์[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Students' Britannica India by Dale Hoiberg,ani p. 183 Published 2000, Popular Prakashan, ISBN 0-85229-760-2
  2. 2.0 2.1 "พุทธสัญลักษณ์ล้านนา". สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2553). จดหมายเหตุงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. p. 451.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]