ทีโบน (วงดนตรี)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ทีโบน | |
---|---|
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | เร็กเก้ สกา อัลเทอร์เนทีฟ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | มูเซอร์ เรคคอร์ดส วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ โซนี่ มิวสิก หัวลำโพง ริดดิม เรนโบว์ โปรดักชั่นส์ |
สมาชิก | เจษฎา ธีระภินันท์ นครินทร์ ธีระภินันท์ อริญญ์ ปานพุ่ม พิรศุษม์ พัฒนะจินดารักษ์ พิสุทธ์ ประทีปะเสน ธีรัช เลาห์วีระพานิช สฤษฎ ตันเป็นสุข ณัฐพล มานิกัมปิลไล ชญาณี มหาศรี |
อดีตสมาชิก | วิชญ วัฒนศัพท์ ภานุ กันตะบุตร สุภัค ใจเพ็ชร ธรรมนูญ ทัศโน - (เสียชีวิต) นรเทพ มาแสง ธนบูรณ์ เทพบุตร เคนจู นากาจิมะ โอฬาร มโนไพบูลย์ |
เว็บไซต์ | www |
ทีโบน (อังกฤษ: T- BONE) เป็นกลุ่มวงดนตรีสัญชาติไทยแนวเพลง เร็กเก้-สกา และเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่บุกเบิกแนวเพลงนี้ในไทย มีเพลงที่ได้รับความรู้จักอย่างมากได้แก่ เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม [1] สมาชิกของวง ทีโบน มีทั้งหมด 9 คน[2]
ประวัติ
[แก้]ทีโบน เริ่มต้นวงยุคแรกจากการเล่นประจำที่ร้านบลูมูน และร้านบลูยีนส์ โดยชื่อวง ‘ทีโบน’ นั้นนำมาจากป้ายชื่อยีห้อของกางเกงยีนส์ที่ แก๊ป-เจษฎา ธีระภินันท์ ออกแบบขาย ต่อมาทีโบนได้ไปแจมเล่นอะคูสติกกับ โอ๋ (ธีร์ ไชยเดช) ที่ร้านแซ็กโซโฟน ซึ่งเล่นมาจนถึงวันนี้นับเป็นเวลาร่วม 20 กว่าปีแล้ว และด้วยประโยค “สนใจมาเป็นซูปเปอร์สตาร์มั้ย?” คำชวนแบบทีเล่นทีจริงจาก จิก (ประภาส ชลศรานนท์) ที่มองเห็นความสามารถของวงนี้ และชักชวนให้ทีโบนเข้ามาอยู่ในวงการเป็นศิลปินออกเทปทำงานด้วยกัน จึงทำให้เกิด ‘ทีโบน’ ชุดแรกขึ้นมา
จากอัลบั้มชุดแรกของทีโบนนั้นได้มีเพลงฮิตอย่าง ‘เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม’ เกิดขึ้นมาประดับวงการทำให้วงทีโบนเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ต่อมาทีโบนออกอัลบั้มชุดที่ 2 ‘คุณนายสะอาด’ และเมื่อจบอัลบั้มชุดที่ 3 ‘เล็ก ชิ้น สด’ ที่มีเพลงเพราะอย่าง ‘แรงดึงดูด’ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อเปิ้ล (เจ้าของเสียงร้องในเพลง ‘เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม’) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และทีโบนก็หมดสัญญากับทางค่ายมูเซอร์ และวอร์นเนอร์ มิวสิค จึงได้ย้ายมาอยู่กับ โซนี่ มิวสิก แทน ต่อมาทีโบนทำอัลบั้มชุดที่ 4 ‘กอด’ โดยมีเพลงดังอย่าง ‘ดาวตก’ ‘กอด’ ‘กลิ่น’ และอัลบั้มชุดพิเศษเพลงอะคูสติก 5 เพลงชื่ออัลบั้ม “เบาหวาน” นั่นคือผลงานทั้งหมดของทีโบนที่เป็นสตูดิโออัลบั้มจริงๆ
หลังจากออกจากค่ายโซนี่ มิวสิก ทีโบนก็มาสร้างค่ายเพลงของตัวเองในชื่อ หัวลำโพง ริดดิม แล้วออกอัลบั้มชุด ‘Live!’ กับซีดีบันทึกการแสดงสดเพียงเท่านี้ แต่สมาชิกในวงยังมีผลงานเดี่ยวของตัวเอง อาทิ แก๊ป ทีโบน กับซิงเกิล GA-PI DUBKITCHEN และ หนุ่ม ทีโบน กับซิงเกิล NUM T-BONE XXX เป็นต้น โหน่งได้ทำวงดนตรีในแนว electronic lounge music ในนาม The Photo Sticker Machine ถึงแม้ว่าสมาชิกในวงจะมีผลงานออกมา แต่วงทีโบนยังรวมตัวเล่นดนตรีกันอย่างเหนียวแน่น และเมื่อเปิดการแสดงครั้งใดวงทีโบนก็ยังได้รับการสนับสนุนจากแฟนเพลงอย่างสม่ำเสมอ ไม่เคยขาด
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ทีโบนร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีกลางแจ้ง Glastonbury ที่อังกฤษ และในกลางปี พ.ศ. 2549 ทีโบนได้ไปร่วมแสดงคอนเสิร์ตในเทศกาลดนตรี Womad ที่ประเทศสิงคโปร์
อัลบั้ม Enjoy Yourself เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 ถัดจากอัลบั้มที่ 4 ถึง 8 ปี ซาวนด์มีความสดของการเป็นวงทีโบน เพลงในอัลบั้มนี้จะอัดสด และการโซโล่ทุกไลน์เป็นการอิมโพรไวส์ (improvise)
โดยในปี พ.ศ. 2555 วงทีโบนได้ปล่อยอัลบั้ม Bone in da House ซึ่งเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่หกซึ่งห่างหายไปถึงหกปี โดยปล่อยซิงเกิ้ล 3 อัลบั้ม หินกลิ้ง , มาลัยยอดรัก และหน้าบาน และได้ปล่อยอัลบั้มเต็มกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งได้รับความสนใจจากแฟนเพลงจำนวนมากโดยอัลบั้มนี้ได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์จากอังกฤษ Mike Pelanconi หรือ Prince Fatty และได้ตำนานเร้กเก้จากจาไมก้า Dennis Alcapone มาร่วมขับร้องในเพลง Skarit และได้ Horseman, Bubblers มาร่วมร้อง ในเพลง Big Jam อัลบั้มนี้บันทึกเสียงทั้งในประเทศไทยและอังกฤษ[3]
สมาชิกของวง
[แก้]- เจษฎา ธีระภินันท์ (แก๊ป) ร้องนำ / กีตาร์
- นครินทร์ ธีระภินันท์ (กอล์ฟ) กีตาร์
- อริญญ์ ปานพุ่ม (เล็ก) กลอง
- พิรศุษม์ พัฒนะจินดารักษ์ (หนุ่ม) เพอร์คัชชัน
- ภาคี นาวี (โย) กีตาร์เบส
- พิสุทธ์ ประทีปะเสน (อ้น) เทเนอร์แซกโซโฟน
- ธีรัช เลาห์วีระพานิช (กุ๊ก) บาริโทนแซกโซโฟน / อัลโต้แซกโซโฟน
- สฤษฎ ตันเป็นสุข (ฤษฎ) ทรัมเป็ต
- ชญาณี มหาศรี (จ๋า) คีย์บอร์ด
ผลงาน
[แก้]อัลบั้ม
[แก้]- จังหวะนี้ใจดีเข้ากระดูกดำ (พ.ศ. 2535)
- คนหน้าลิง
- สมาคมเชื้อโรคแห่งประเทศไทย
- เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม
- กระป๋องออเครสตร้า
- มือ
- วณิพกพเนจร
- สีเดียว
- บูชายัญ
- จากป่าแด่สีบ
- ไม่อ้วกก็บุญแล้ว
- คุณนายสะอาด (พ.ศ. 2536)
- เราทำทั้งหมด
- คุณนายขอเอี่ยว
- กุหลาบดำ
- ดุ่ย ดุ่ย
- ปลายดาว
- แล้วใครจะตอบ
- น้ำ-น้ำตา
- น้ำค้าง
- เช้าวันจันทร์
- ความชัดเจนในคืนดาวดับ
- ฝุ่นตลบ
- เล็ก ชิ้น สด (พ.ศ. 2537)
- เรื่องกลับหัว
- ไม่ต้อง
- ไม่งอง
- เสียดาย
- มัจจุราช(remix)
- พิภพมัจจุราช
- โต๋-ล่ง-ตง
- ใจลอย
- นางนวล
- แรงดึงดูด
- กอด (พ.ศ. 2540)
- กลิ่น
- ดาวตก
- ทะเลและเวลา
- กอด
- คำถาม
- รอ
- ภาพลวงตา
- คิดถึงลมหนาว
- Sun
- บ้าน
- T-BONE
- Enjoy Yourself (พ.ศ. 2548)
- One Love วันรัก
- King of Trombone
- มนต์รักเพลงสกา Ska Lover
- นวด
- Like'U
- Bongoman ออดบวช
- ปรารถนา
- สยามเมืองยิ้ม
- Ska Rider
- T-bone comes to Glastonbury
- Thai Massage
- Bone in da House (พ.ศ. 2555)[4][5][6][7]
- หินกลิ้ง (Like a Rolling Stone)
- มาลัย ยอดรัก (My Sweet Malai)
- Skarit feat. Dennis Alcapone
- หน้าบาน (Smiley Face)
- Caravan of luv
- พันหนึ่งราตรี (Arabian Nights)
- Big Jam feat. Horseman & Prince Fatty
- ไม่รู้
- Don Juan on da Beach
- Bone in da House
อีพีและซิงเกิล
[แก้]- เบาหวาน (พ.ศ. 2541)
- Beautiful World
- คำถาม
- กลิ่น
- กอด
- คิดถึงลมหนาว
- มนต์รักเพลงสกา (พ.ศ. 2546)
- ขอบฟ้าเดียวกัน (พ.ศ. 2549)
คอนเสิร์ต
[แก้]- T-BONE/Alive
- TBone เหนือเมฆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "โลกเร๊กเก้ของ 'แก๊ป ที-โบน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-11.
- ↑ ถนนคนเพลง : BONE IN DA HOUSE ลงมือทำ นำสู่ความสำเร็จ[ลิงก์เสีย]
- ↑ 7 ปีที่รอคอย T-BONE ได้ฤกษ์คลอด อัลบั้มกุมภาพันธ์นี้! - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ “ทีโบน” เนื้อๆเน้นๆ ข้นเข้ม...เต็มอิ่ม/บอน บอระเพ็ด[ลิงก์เสีย]
- ↑ อัลบั้ม bone in da house ในไอทูนส์
- ↑ เมื่อจุดอิ่มตัวมาถึง...ทีโบน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทีโบน พิถิพิถันทำเพลงเรกเก้ใส่อัลบั้ม bone in da house
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ฟังเพลงฮิตของทีโบน เก็บถาวร 2008-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน