คารูตะ
คารูตะ (ญี่ปุ่น: かるた; โรมาจิ: karuta; รากศัพท์จากคำในภาษาโปรตุเกส carta ["ไพ่"])[1] เป็นไพ่ของญี่ปุ่น นำเข้ามาในญี่ปุ่นครั้งแรกโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกสช่วงกลางศตวรรษที่ 16 สำรับไพ่คารูตะในยุคต้น ๆ ใช้สำหรับเล่นเกมรวบตองกิน (trick-taking) ไพ่คารูตะพื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดถูกประดิษฐ์ขึ้นในเมืองมิอิเกะในแคว้นชิกูโงะเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 16 อาคารอนุสรณ์สถานไพ่คารูตะแห่งมิอิเกะที่ตั้งอยู่ในนครโอมูตะ จังหวัดฟูกูโอกะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่อุทิศให้กับประวัติศาสตร์ของไพ่คารูตะโดยเฉพาะ[2][3]
สำหรับไพ่คารูโตะแบ่งได้เป็นสองประเภท คือประเภทที่มีต้นกำเนิดมาจากไพ่โปรตุเกส และประเภทที่มีที่มาจากเอะ-อาวาเซะ (การประชันภาพวาด)[4] เอะ-อาวาเซะ เดิมมาจากไค-อาวาเซะ ซึ่งเล่นด้วยเปลือกหอย แต่ถูกแปลงเป็นรูปแบบไพ่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17
แนวคิดพื้นฐานของเกมไพ่คารูตะแบบเอะ-อาวาเซะคือการสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าไพ่ใบใดจะต้องถูกนำออกจากแถวไพ่ที่วางอยู่แล้วจึงคว้าไพ่ใบนั้นให้ได้ก่อนที่ฝ่ายตรงข้ามจะคว้าไป เด็กในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมักใช้เล่นในห้องเรียนเพื่อเป็นแบบฝึกหัดในการศึกษา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sakomura, Tomoko (2004). Asian Games: The Art of Contest. New York: Asia Society. pp. 267–269.
- ↑ Omuta City Miike karuta, history museum. Retrieved 22 February 2018.
- ↑ Miike Playing Cards and History Material Museum. Retrieved 22 February 2018.
- ↑ Mann, Sylvia (1990). All Cards on the Table. Leinfelden: Deutsches Spielkarten-Museum. pp. 193–200.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Japanese playing cards of western origin: Portuguese-derived patterns.
- Andy's Playing Cards: Portuguese derived cards: An in-depth look at Portuguese-derived patterns.
- Andy's Playing Cards: E-awase playing cards (archived): E-awase type cards.
- Japanese Traditional Games: Card Games
- Edo Karuta Research Center (archived)