ขิจรี
ดาลขิจรีและอาชาร์ | |
ชื่ออื่น | ขิจฑี, ขิจุฑี, คิชรี, คิชดี |
---|---|
ประเภท | ข้าว |
ภูมิภาค | อนุทวีปอินเดีย |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | อินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, เนปาล, ตรินิแดดและโตบาโก, กายอานา, ซูรีนาม, ฟีจี, มอรีเชียส |
ส่วนผสมหลัก | ข้าว, ถั่วเลนทิล, เครื่องเทศ |
ส่วนผสมที่มักใช้ | กะหล่ำขาว, มันฝรั่ง, ถั่วเขียว, ผัก |
ขิจรี หรือ ขิจฑี (อูรดู: کھچڑی, อักษรโรมัน: khicṛī, ฮินดี: खिचड़ी, อักษรโรมัน: khicṛī, pronounced [ˈkʰɪtʃɽiː], เบงกอล: খিচুড়ি, อักษรโรมัน: Khicuṛi; Khichdi) เป็นอาหารเอเชียใต้ทำจากข้าวและถั่วเลนทิล (ดาล) ในหลายวัฒนธรรมของอินเดียนิยมให้ขิจรีเป็นอาหารแข็งอย่างแรก ๆ ที่ทารกรับประทานได้[1][2][3]
ศัพทมูล
[แก้]คำว่า ขิจฑี มีที่มาจากภาษาสันสกฤต खिच्चा khiccā; ขิจจา[4][5] แปลว่าอาหารจานข้าวและถั่ว[6]
ประวัติศาสตร์
[แก้]กษัตริย์เซเลอูซิด เซเลอูซุส ขณะเดินทางมาทำการศึกในแถบอินเดีย (305-303 ปีก่อนคริสต์กาล) ได้กล่าวถึงอาหารจานข้าวที่ชาวอนุทวีปอินเดียนิยมทานกันอย่างมาก[3] สตราบอ เคยบันทึกว่าอาหารอินเดียมีองค์ประกอบหลักคือข้าวต้มและเครื่องดื่มจากข้าว (อารัก)[7] นักเดินทางมารีนิฮ์ อิบน์ บัตตูตา กล่าวถึง ขิจรี ว่าเป็นอาหารในอินเดีย ทำมาจากข้าวและถั่วเขียว ในบันทึกจากปี 1350[8] นักสำรวจชาวรัสเซีย อาฟานาซี นีกีติน เคยบันทึกถึงอาหารจานนี้ในศตวรรษที่ 15 เช่นกัน จักรพรรดิแห่งโมกุล จะฮันกีร์ ชื่นชอบอาหารจานนี้ และในเอกสารจากสมัยศตวรรษที่ 16 อัยนีอักบารี ที่เขียนโดยอะบุลฟัดล์ ขุนนางใหญ่ของจักรพรรดิอักบัรแห่งโมกุล กล่าวถึงสูตรทำขิจรีอยู่เจ็ดแบบด้วยกัน[9]
อาหารจานอังกฤษ-อินเดียที่ชื่อ เค็ดจารี เข้าใจว่ามีที่มาจากขิจรี[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ IANS (2016-02-15). "Gujarati khichdi rocks Masterchef, thanks to Indian American chef". The Hans India. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
- ↑ "Khichdi Indian Recipe", indianhealthyrecipes.com Swasthi Recipes, 23 June 2022
- ↑ 3.0 3.1 Gandhi, Malar (15 April 2012). "Khichdi–A Comfort Food – India Currents". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2013. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
- ↑ McGregor, R.S., บ.ก. (1997). The Oxford Hindi-English Dictionary. Oxford University Press. p. 237. ISBN 978-0-19-864339-5.
- ↑ "Tale of the humble 'Khichdi'". The Times of India. 2021-07-17. ISSN 0971-8257. สืบค้นเมื่อ 2023-08-15.
- ↑ Monier-Williams, Monier (1995). A Sanskrit-English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass. p. 339. ISBN 81-208-0065-6. สืบค้นเมื่อ 2010-06-29.
- ↑ Reddy, Anjana (2016). "Archaeology of Indo-Gulf Relations in the Early Historic Period: The Ceramic Evidence". ใน Himanshu Prabha Ray (บ.ก.). Bridging the Gulf: Maritime Cultural Heritage of the Western Indian Ocean. New Delhi: Manohar Publishers. p. 68. ISBN 978-93-5098-143-6.
- ↑ Husain, Mabdi (1976) [1953]. "Rehla of Ibn Battuta". Internet Archive. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
- ↑ Recipes for Dishes เก็บถาวร 2011-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ain-i-Akbari, by Abu'l-Fazl ibn Mubarak. English tr. by Heinrich Blochmann and Colonel Henry Sullivan Jarrett, 1873–1907. The Asiatic Society of Bengal, Calcutta, Volume I, Chapter 24, page 59. "3. K'hichri. Rice, split dal, and ghee 5 s. of each; ⅓ s. salt: this gives seven dishes."
- ↑ Anne Chotzinoff Grossman and Lisa Grossman Thomas (1997) Lobscouse and Spotted Dog; Which It's a Gastronomic Companion to the Aubrey/Maturin Novels, Norton, p. 12. ISBN 978-0-393-32094-7
- ↑ Smith, Delia. "Buttery Kedgeree". Delia Smith's Complete Cookery Course. สืบค้นเมื่อ 2008-03-10.