ต้องบอกว่าประเทศของเรา ยืนหนึ่งอยู่แล้วในเรื่องของ อากาศร้อน ถึงขนาดติด 1 ใน 15 เมืองที่ร้อนที่สุดในโลก ยิ่งในช่วงที่เข้าสู่หน้าร้อนอย่างจริงจังแล้ว บางจังหวัดมีอุณหภูมิสูงทะลุกว่า 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว แถมร้อนเพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย และต่อให้จะมีหลายๆ คนบอกว่าไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร อย่างมากก็แค่เปิดแอร์ หรือพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่ดีว่า ประเทศของเรายังคงพบผู้เสียชีวิตจาก โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ให้ได้เห็นกันเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อเป็นการป้องกัน เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ และวิธีรับมือกันไว้ดีกว่า

คนไทยคุ้นหูกันดี แต่รู้หรือไม่ว่า โรคลมแดด คืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง

ภัยร้ายหน้าร้อนอย่าง โรคลมแดด นี้ ทางการแพทย์เรียกว่า ฮีทสโตรก (Heatstroke) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงมากเกินไป ช่วงระดับ 40 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านี้ก็ถือว่าเสี่ยงแล้ว ลักษณะอาการที่พบต่อมาคือ ผิวหนังแห้ง ร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นเร็วมากขึ้น ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ มึนงง หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย รู้สึกกระหายน้ำมาก บางรายหนักถึงขั้นเกร็ง ชักกระตุก และหมดสติไป หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้อวัยวะภายใน อย่างสมอง หัวใจ ปอด ไต กล้ามเนื้อ เกิดอันตรายได้ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ส่งผลให้ถึงขั้นพิการ และเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะฮีทสโตรก มักจะมาจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน หรือมีความชื้นในอากาศสูง

 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเจอโรคลมแดด

  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น นักกอล์ฟ เกษตรกร เป็นต้น
  • พนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานาน แล้วออกมาเผชิญกับอากาศร้อนจัด
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เพราะร่างกายจะไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าวัยหนุ่มสาว
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจ เบาหวาน เป็นต้น
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  • ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ในสภาพที่อากาศร้อน

แนวทางการป้องกันตัวเองไม่ให้เสี่ยงต้องเจอกับโรคลมแดด

วิธีการป้องกันตัวเอง ให้ห่างไกลจากโรคลมแดด ง่ายๆ เลยคือพยายามหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด หากมีความจำเป็นให้สวมแว่นกันแดด และหมวกปีกกว้าง สวมใส่เสื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบา ไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน แม้จะไม่กระหายก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หากต้องการออกกำลังกายให้เลือกช่วงเวลาเช้าหรือเย็น เพราะอากาศจะไม่ค่อยร้อน

 

 

 

 

 

Main-causes-for-climate-change

สภาพภูมิอากาศถือเป็นรูปแบบที่มีระยะยาวของสภาพอากาศในพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือหากพูดอีกเชิงก็มีทำนองเหมือนกับเป็นค่าเฉลี่ยของสภาพอากาศในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงเวลาที่ต้องมากกว่า 30 ปี ปกติแล้วการศึกษาในส่วนของสภาพภูมิอากาศจะพิจารณาไปถึงค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ รวมไปถึงการตรวจวัดสภาพอากาศแบบอื่นๆ ที่ต้องมีความต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานในพื้นที่นั้นๆ ที่ถูกเฉพาะเจาะจงเอาไว้ สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่แล้วมักเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของโลก หากสภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นนั่นเท่ากับว่ามีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าสาเหตุหลักๆ ในการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมักเกิดจากธรรมชาติกับมนุษย์เป็นสาเหตุหลักๆ ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกมาได้ดังนี้

 4 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  1. การหมุนรอบตัวเองของโลกกับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ – การเปลี่ยนแนวโคจรนี้นับว่ามีผลต่อสภาพภูมิอากาศโดยตรงสาเหตุมาจากการกระจายพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ที่สัมผัสมายังพื้นผิวของโลกตามละติจูดต่างๆ เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง ถือว่าเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. การเปลี่ยนแปลงของพลังงานดวงอาทิตย์ – ถือว่าเป็นสาเหตุที่เกิดจากนอกโลกแต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พลังงานดวงอาทิตย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งรูปแบบของปริมาณและคุณภาพนั่นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศของโลก
  3. เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ – จะมีการปล่อยก๊าซและวัสดุที่ละเอียดมากจำนวนมหาศาลออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ การระเบิดที่รุนแรงจะมีกำลังมากพอในการปล่อยเศษวัสดุเหล่านี้ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่ชื่อ สตราโตสเฟียร์ สามารถล่องลอยได้นานหลายเดือนหรือเป็นปี เป็นการขวางกั้นรังสีจากดวงอาทิตย์ให้ส่งมาถึงโลกส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สาเหตุที่เกิดขึ้นจากมนุษย์โดยตรง – ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่ามนุษย์เราเองก็มีส่วนสำคัญในการทำให้สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย เริ่มต้นง่ายๆ จากการเกิดขึ้นของประชากรที่รวดเร็วส่งผลให้พื้นที่ที่ใช้ชีวิตต้องถูกขยายออกไปมากขึ้น เกิดการขาดแคลนพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมถอยก็เกิดจากฝีมือของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายสมดุลต่างๆ ทางธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่ช่วยเรื่องของการดูดซับก๊าซเรือนกระจก เหตุผลก็มีเพียงแค่ความต้องการทางพลังงานของคนบนโลกมีมากขึ้น บวกกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงภาคอุตสาหกรรมก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป มีการสร้างภาวะเรือนกระจกมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โลกร้อนและสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

Climate-changephoto

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งต่างมากมายไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดก็ตาม เพราะฉะนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบมากมายหลากหลายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้โดยเฉพาะมนุษย์ แม้ว่าสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมาจาก 2 ปัจจัยหลักก็คือจากธรรมชาติและมนุษย์เองก็ตาม ถึงกระนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมต้องมีปัจจัยหลักที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวสามารถแบ่งแยกออกได้ดังนี้

ปัจจัยหลักที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศบนโลก

  1. ด้านระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ – สิ่งแรกที่เป็นปัจจัยหลักเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็คือเรื่องของระบบนิเวศทางธรรมชาติในทุกเรื่อง สังเกตง่ายๆ อย่างเมื่อโลกมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นน้ำแข็งจากขั้วโลกก็ละลายสัตว์ที่ต้องอาศัยในบริเวณดังกล่าวก็อยู่ได้ยากขึ้นส่งผลต่อการมีชีวิตอยู่ของสัตว์เหล่านี้ เป็นต้น นี่คือปัจจัยแรกที่จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อสภาพภูมิอากาศบนโลกเกิดความเปลี่ยนแปลงไป
  2. ด้านของเศรษฐกิจ – เมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าการใช้ชีวิตของพืช สัตว์ มนุษย์ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไป หากว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน การใช้ชีวิตก็ต้องเปลี่ยน พืชหรือสัตว์ที่เคยชินกับสภาพภูมิอากาศเดิมๆ ก็อยู่ได้ยาก เกิดการล้มตายหรือไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างชัดเจนมากๆ
  3. ด้านสังคม – เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานมากขึ้นหากว่าสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนเป็นไปในทางที่แย่ลง แน่นอนคนเราย่อมต้องการพื้นที่ที่อยู่แล้วปลอดภัย มีความสุข จึงกลายเป็นปัจจัยทางด้านสังคมที่จะทำให้เกิดการแออัดหรือกระจุกตัวตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีความปลอดภัยมากกว่าที่ที่ตนเองเคยอยู่ นั่นย่อมส่งผลต่อหลายๆ เรื่องให้ตามมาได้ในภายหลัง
  4. ด้านของสุขภาพ – การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของคนเราที่เคยอาศัยอยู่ ยกตัวอย่างง่ายๆ เมืองไทยเป็นเมืองร้อน ผู้คนคุ้นชินกับสภาพาอากาศร้อน การใช้ชีวิตก็เป็นแบบคนเมืองร้อน แต่ถ้าหากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงกลายเป็นอากาศหนาวยาวนานมากขึ้น การใช้ชีวิตย่อมเปลี่ยนไปแต่ที่มากไปกว่านั้นคือปัญหาทางด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับคนที่อาศัยอยู่อย่างแน่นอน

จากปัจจัยต่างๆ ทีเกิดขึ้นเหล่านี้ผลกระทบที่มีมากที่สุดคงหนีไม่พ้นตัวมนุษย์เองที่ต้องเจอกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อการใช้ชีวิตมากมาย เมื่อเป็นเช่นนี้หากไม่ต้องการให้เกิดสิ่งแย่ๆ ดังกล่าวขึ้นเราทุกคนสามารถช่วยกันได้ง่ายๆ กับการพยายามไม่ทำพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดปัญหาต่อสภาพภูมิอากาศเท่านี้เราก็จะสามารถอยู่อาศัยบนโลกใบนี้ไปได้อีกนานแสนนาน